ความรู้เกี่ยวกับปาล์ม

ความรู้เกี่ยวกับน้ำมัน

คุณรู้หรือไม่ว่า น้ำมันปาล์ม มีประโยชน์อย่างไรในอุตสาหกรรมโอลิโอเคมิคอล

น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ประมาณ 20% นำไปใช้ประโยชน์ในการผลิต สินค้าอุปโภค โดยผ่านกระบวนการทางเคมี ดังนี้1. การผลิตกรดไขมันประเภทต่างๆ ทั้งกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว เพื่อนำใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น- กรดลอริก ใช้ทำเป็นเรซินในอุตสาหกรรมสี- กรดปาล์มมิติก ใช้ในการเลี้ยงเชื้อราเพื่อสกัดเป็นยาปฎิชีวนะ ผสมกับกรดสเตียติคเพื่อทำเทียนไข- กรดโอเลอิก ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ- กรดสเตียริก ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง สบู่เด็ก ผสมกับกรดปาล์มมิติกเพื่อทำเทียนไข- กรดลิโนเลอิก ใช้เป็นยาฉีดสำหรับลดไขมันในเส้นเลือด 2. การผลิตเมทธิลเอสเทอร์ เป็นสารที่ได้จากการทำปฎิกิริยาเคมีระหว่างน้ำมันปาล์มและเมทธิลเอสเทอร์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งในด้านพลังงาน (ไบโอดีเซล) หรือใช้เป็นสารสำหรับผลิตอนุพันธ์ของกรดไขมันประเภทต่างๆ - Fatty Alcohol ใช้ประโยชน์ในการผลิต Sodium Alkyl Sulphates และ Sulphate ที่ใช้ผลิตผงซักฟอก- Fatty Acid Amides มีคุณสมบัติช่วยกันน้ำ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตกระดาษ ไม้อัด โลหะ ยางฯ- Fatty Amines ที่มีความสำคัญและนิยมใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตพลาสติก น้ำมันหล่อสารควบคุมเชื้อราและเเบคทีเรีย

รายละเอียดทั้งหมด

ในน้ำมันปาล์ม มีคอเลสเตอรอลหรือไม่

น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล เนื่องจากน้ำมันพืชก็ไม่มีคอเลสเตอรอล เพราะพืชจะไม่สร้างคอเลสเตอรอล แต่ไม่ได้หมายความว่าหากทานน้ำมันพืชแล้ว คอเลสเตอรอลในเลือดจะไม่สูง เพราะในน้ำมันพืชบางชนิดร่างกายอาจนำเอาไขมันอิ่มตัวไปสร้างเป็นคอเลสเตอรอลขึ้นมาได้ อย่างเช่น กะทิหรือน้ำมันมะพร้าว น้ำมันพืชที่ไม่สร้างปัญหาคอเลสเตอรอล ได้แก่ น้ำมันปาล์มโอเลอิน, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันถั่วลิสง ฯลฯ ในร่างกายของเราสามารถสร้างคอเลสเตอรอลจากสารที่มาจากการสลายไขมันและแป้ง ดังนั้นแป้งจึงสร้างคอเลสเตอรอลได้ แต่พบว่าไขมันอิ่มตัวสามารถสร้างคอเลสเตอรอลได้ดีกว่าไขมันกลุ่มอื่น กรณีของไขมันอิ่มตัวกลุ่มโอเมก้า 6 หากปริมาณไม่มากเกินไปอาจลดการสร้างคอเลสเตอรอลได้ หากปริมาณมากเกินไป เช่น เกิน 10% ของพลังงาน ก็จะไปกดการสร้าง HDL ด้วย

รายละเอียดทั้งหมด

คุณรู้หรือไม่ว่า คุณค่าทางโภชนาการในน้ำมันปาล์มนั้นมีมากมายขนาดไหน

น้ำมันปาล์มนั้น นอกจากจะมีคุณสมบัติดีเด่นด้านอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นน้ำมันพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีเด่นอีกด้วย จากการวิจัยคุณสมบัติของน้ำมันปาล์มพบว่า น้ำมันปาล์มเป็นแหล่งรวมวิตามินอีในปริมาณสูงสุด เมื่อเทียบกับน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ วิตามินอีที่เรารู้จักประกอบไปด้วยโทโคฟิรอล (Tocopherol), โทโคไทรนอล (Tocotrienol) และอยู่ในรูปของแอลฟา เบต้า แกมมา และเดลตา ซึ่งโทโคฟิรอลนั้น เป็นสารต้นทางการออกซิไดซ์ตามธรรมชาติ คือ จะทำให้น้ำมันไม่เหม็นหืนง่าย ช่วยชะลอความแก่ ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ รักษาแผลไพไหม้ ผ่าตัด แผลงูสวัด และทำหน้าที่เป็นตัวกำจัดพิษในร่างกาย ความผิดปกติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และการแท้งลูก อีกทั้งยังปรากฏว่า น้ำมันปาล์มดิบมีสารเบต้าแคโรทีน เป็นสารที่ช่วยลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ป้องกันโรคมะเร็งในเยื่อบุผิว ผนังเยื่อจมูก เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ช่วยยืดอายุความเป็นหนุ่มสาว ป้องกันการแก่เร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อน กระดูกและฟัน นอกจากนี้น้ำมันปาล์มที่ได้จากเนื้อปาล์ม ยังประกอบไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวในปริมาณที่สมดุลมีกรดไขมันเป็นกรดเดี่ยว (Monounsaturated) คือ กรด Oleic 43% และกรดไขมันไม่อิ่มตัวหมู่ (Poly-Unsaturated) คือ Linoleic11% เป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ซึ่งผลจากการวิจัยรายงานว่า Monounsaturated Fatty Acid หรือกรด Oleic นั้นสามารถลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ด้วย

รายละเอียดทั้งหมด

มาทำความรู้จักน้ำมันปาล์มให้มากขึ้นกันสักหน่อย

              น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชชนิดหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกในการประกอบอาหารมีสารอาหาร วิตามินเอ บำรุงสมอง และหากใช้ในปริมาณเหมาะสมสามารถลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีได้ด้วย คนไทยและทั่วโลกใช้น้ำมันพืชในชีวิตประจำวันเพื่อเลี้ยงปากท้อง ไม่ว่าจะเป็นเมนูทอดหรือผัด นอกจากนี้ยังใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องสำอาง สบู่ ยาสีฟัน น้ำมันหล่อลื่น และน้ำหมึกได้ด้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักน้ำมันปาล์ม น้ำมันพืชยอดนิยมชนิดนี้กันค่ะ น้ำมันปาล์มทำมาจากอะไร               แน่นอนน้ำมันปาล์มก็ต้องสกัดมาจากผลของต้นปาล์มน้ำมัน ลักษณะของต้นปาล์มที่มาสกัดน้ำมันปาล์ม ในประเทศไทยมักจะปลูกในแถบภาคใต้ ผลของต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถให้พืชน้ำมัน ที่มีปริมาณน้ำมันร้อยละ 56 สีเหลืองส้มมาจากแคโรทีน น้ำมันปาล์มที่ถูกกฎหมายต้องมีคุณภาพ               น้ำมันปาล์มเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ จากประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 56 (พ.ศ.2524) ที่ต้องได้มาตรฐานดังนี้ เช่น มีค่าของกรดโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ไม่เกิน 10 มก. ต่อ น้ำมัน 1 กรัม สำหรับน้ำมันปาล์มที่ทำโดยการสกัดน้ำมันปาล์มตามธรรมชาติ และ กรดโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ไม่เกิน 0.6 มก. สำหรับน้ำมันปาล์มที่สกัดโดยสารละลายตามความเห็นชอบจาก คณะกรรมการอาหารและยา และอื่นๆ อีกหลายข้อ เพราะน้ำมันปาล์มที่สกัดไม่ดี อาจก่อเกิดผลเสียแก่ร่างกายได้ ประโยชน์ของน้ำมันปาล์ม -             น้ำมันปาล์มอุดมไปด้วยวิตามินอี ช่วยบำรุงผิวพรรณ ให้ดูอ่อนเยาว์และสุขภาพดี -             ใช้น้ำมันปาล์มในการทำสบู่ ทำความสะอาดล้ำลึก จะให้ฟองมาก มีสารต้านอนุมูลอิสระ -             มีวิตามิน D, E, K เสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง -             มีโอเมก้าสาม ช่วยบำรุงประสาท และสมอง เพิ่มภูมิคุ้มกัน -            มีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าเนย และไม่มีไขมันทรานส์ มีความสมดุลระหว่างกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวที่ดี เป็นทางเลือกที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำในการประกอบอาหาร

รายละเอียดทั้งหมด