ความรู้เกี่ยวกับปาล์ม

ความรู้เกี่ยวกับปาล์ม

พื้นที่จัดสรรของ CPI

บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ได้จัดสรรพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันกว่า 20,000 ไร่ ซึ่งอุดมไปด้วยปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีมากกว่า 500,000 ต้น นับเป็นแหล่งวัตถุดิบหลักของการผลิตน้ำมันปาล์มที่มีคุณภาพ เริ่มด้วยการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ การวิจัยและ เพาะพันธุ์ การปลูก การให้ปุ๋ย การให้น้ำในระบบน้ำหยด การบำรุงรักษาการตกแต่งและดูแลตามอายุของปาล์ม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลปาล์มสดที่ดีและมีคุณภาพนอกเหนือจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรท้องถิ่นในจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียงเพาะปลูกสวนปาล์มน้ำมัน ด้วยการจัดหาปุ๋ยและต้นกล้าพันธุ์ดีให้กับเกษตรกร รวมทั้งการรับซื้อผลปาล์มสด ทั้งจากผู้ปลูกปาล์มรายใหญ่และเกษตรกรรายย่อย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่า บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการเรื่องของคุณภาพ และปริมาณวัตถุดิบ สำหรับใช้ในการผลิตได้อย่างเพียงพอ

รายละเอียดทั้งหมด

วิธีปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกอย่างไร?

หากเราใส่ใจวิธีปลูกปาล์มน้ำมันให้ถูกต้องในทุกขั้นตอน จะส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันดีและให้ผลผลิตสูง ทะลายดก ได้ในอนาคต วันนี้เรามาดูกันว่า..แต่ละขั้นตอน วิธีปลูกปาล์มน้ำมัน มีอะไรบ้าง ต้องเตรียมการอย่างไร และมีข้อควรระวังใดเป็นพิเศษเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเกษตรกรต้องเตรียมพื้นที่ปลูก และการบุกเบิกพื้นที่ ปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการปลูก เช่น หากในพื้นที่ปลูกมีต้นไม้ ตอไม้ วัชพืช หรือสิ่งกีดขวาง หรือสิ่งคลุมดินอื่นๆ เราต้องโค่นหรือถอนออก จากนั้นเคลื่อนย้ายมากองรวมกัน ทิ้งระยะไว้ให้กองซากเหล่านั้นแห้งประมาณ 1 เดือน แล้วจึงทำการเผา จากนั้นปรับและไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบโล่ง(*ข้อแนะนำ : ระยะเวลาที่เหมาะสมในขั้นตอนนี้ คือ ฤดูแล้ง ระหว่างเดือน ธันวาคม – เมษายน)การสร้างถนนในแปลงปลูกและร่องระบายน้ำในแปลงปลูกสร้างถนนในแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้ขนส่งวัสดุการเกษตรและผลผลิต โดยรูปแบบขึ้นอยู่กับขนาดของสวนปาล์มน้ำมัน โดยทั่วไปรูปแบบของถนนมี 2 แบบ คือ– ถนนใหญ่ ถือเป็นเส้นทางการขนส่งผลผลิต ควรมีกว้างประมาณ 6-8 เมตร ห่างกัน ประมาณ 1 กิโลเมตร– ถนนซอย หรือ ถนนย่อย หรือ ถนนเข้าแปลง ขนาดกว้างประมาณ 4 เมตร ระยะห่างของถนนย่อยควรห่างกัน ประมาณ 500 เมตร(*ข้อแนะนำ : ควรทำช่องระบายน้ำขนาด ด้านบนกว้าง 100 x ด้านล่างกว้าง 30 x ลึก 110 ซม. ควบคู่ไปกับทำถนนในแปลงปลูกปาล์มน้ำมัน)การทำร่องระบายน้ำควรทำควบคู่ไปพร้อมกับการทำถนน โดยมีลักษณะเป็นรูปตัววีการปรับพื้นที่สำหรับปลูกปาล์มน้ำมันการปรับสภาพพื้นดิน ที่เป็นพื้นที่ราบ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน• การปรับพื้นที่ราบในกรณีของพื้นที่ราบ เมื่อมีการกำจัดวัชพืชแล้ว ควรไถปรับสภาพพื้นที่โดยใช้ไถแบบ 3 จานและไถแบบ 7 จาน• การปรับพื้นที่ลาดชันในกรณีของพื้นที่ลาดชันหรือพื้นที่เชิงเขาควรมีการทำขั้นบันได เพื่อลดการ พังทลาย ของหน้าดินและสะดวกกับการจัดการ• การปรับพื้นที่ลุ่มและมีน้ำท่วมถึงในกรณีของพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่ม มีน้ำขัง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจะต้องยกร่องและขุดคูระบายน้ำ โดยให้เนินดินบนสันร่องที่จะปลูกปาล์มน้ำมันอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่ท่วมขัง พร้อมทั้งขุดร่องหรือคูระบายน้ำออกไปจากแปลงปลูก เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันการวางแนวในการปลูกปาล์มน้ำมันระยะในการวางแนวปลูกคือ 9 x 9 x 9 เมตร ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ให้แถวปลูกหลักอยู่ในทิศเหนือ-ใต้ปลูกพืชคลุมดิน- ช่วยป้องกันการที่วัชพืชแก่งแย่งอาหารจากต้นปาล์มน้ำมันขณะยังมีขนาดเล็ก ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดินให้คงอยู่ได้นาน - ช่วยป้องกันการพังทะลายของหน้าดินในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ลาดชัน รวมไปถึงการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุและการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ การปลูกพืชคลุมดินควรมีระยะห่างจากแถวปาล์มอย่างน้อย 1.5 เมตร โดยแนะนำให้ปลูกพืชคุลมดินตระกูลถั่วการเตรียมต้นกล้าเตรียมต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีที่จะใช้ปลูก โดยให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมัน มีอายุประมาณ 10-12 เดือน  ซึ่งปกติแล้วควรจัดเตรียม จำนวน 22-25 ต้น/ไร่วางระยะปลูกปาล์มน้ำมันวัดระยะปลูกปาล์มน้ำมัน โดยใช้เชือกขึงตึง ดึงเป็นทรง 3 เหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูกที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมกันมาก คือระยะ 9 x 9 x 9 เมตร ซึ่งจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูกนี้จะทำให้ใบปาล์มน้ำมันได้รับแสงทุกทิศทางและไม่เกิดการบังแสงเมื่อต้นปาล์มน้ำมันมีขนาดใหญ่ขึ้น

รายละเอียดทั้งหมด

รวมเคล็ดลับ 10 วิธีดูแลสวนปาล์มน้ำมัน และต้นปาล์มน้ำมัน ให้ได้ผลผลิตสูงและลดต้นทุน

วิธีดูแลสวนปาล์มน้ำมัน ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการทำสวนปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูง และมีต้นทุนต่ำ ต้องอาศัยเทคนิคการดูแลหลากหลายปัจจัย… วันนี้ ซีพีไอ ได้รวมรวม 10 เทคนิค วิธีดูแลสวนปาล์มน้ำมัน แบบเข้าใจง่ายมาฝากเกษตรกรทุกท่าน..เรามาดูกันเลยดีกว่า 1. ให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอ ในสภาพพื้นที่ประเทศไทยที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 1,800 มิลลิเมตร/ปี และมีฤดูแล้งยาวนาน 3-5 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตทะลายให้สูงขึ้นโดยการติดตั้งระบบน้ำเพิ่มเติมสำหรับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจำกัด การให้น้ำแก่ปาล์มน้ำมัน ในวิธีคิดแบบเดิมๆ คือ ให้น้ำตามปริมาณความต้องการน้ำของพืชแต่ละชนิด ที่คำตอบจะออกมาในรูปของจำนวนลิตร/ต้น/วัน 
โดยขาดการคำนึงถึงสภาพอากาศซึ่งเป็นปัจจัยที่กำหนดอัตราการคายน้ำของพืช ดังนั้นการให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอและพอดีคือ การให้น้ำตามค่าพลังงานของน้ำในดิน โดยควรรักษาระดับให้อยู่ในช่วงที่รากพืชดูดไปใช้ได้ง่ายที่สุด โดยอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าพลังงานของน้ำในดินเรียกว่า เทนซิโอมิเตอร์ (Tensiometer) ฝังเครื่องที่ความลึก 1/4 ของชั้นรากพืช เพื่อบอกเวลาเริ่มให้น้ำ และฝังที่ความลึก 3/4 ของชั้นรากพืชเพื่อบอกเวลาหยุดให้น้ำ เท่านี้เราก็จะสามารถคำนวนปริมาณน้ำที่ปาล์มน้ำมันในสวนของเราควรได้รับอย่างเหมาะสม   2. แสงแดด ที่เพียงพอ ปาล์มน้ำมันนั้นต้องการแสงแดดมากกว่า 5 ชม./วัน หากปาล์มน้ำมันได้รับแสงน้อย จะทำให้มีผลผลิตปาล์มน้อยลง ปัญหาเรื่องของแสงนั้นจะมีปัญหาโดยเฉพาะกับปาล์มน้ำมันที่มีอายุปลูกไปแล้วมากกว่า 10 ปี เนื่องจากปาล์มที่ปลูกชิดกันนั้นจะมีการบังแสงของทางใบระหว่างต้น สำหรับในประเทศไทยนั้น จัดว่าเป็นประเทศที่มีแสงแดดเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน   3. รู้ค่ากรด-ด่าง ของดิน ความเป็นกรด-ด่าง เป็นตัวควบคุมการละลายธาตุอาหารในดินให้ออกมาอยู่ในรูปสารละลายรวมกับน้ำในดิน ถ้าดินมีความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจละลายออกมาได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช หรือในทางตรงกันข้ามธาตุอาหารบางชนิดอาจละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อปาล์มน้ำมันได้ หากดินกรดหรือดินเปรี้ยว คือ ดินที่มีระดับ pH ต่ำกว่า 7 ให้แก้ไขโดยการใช้ปูนขาว โดโลไมท์ เปลือกหอย ขี้เถ้า เพื่อลดความเป็นกรดในดิน ดังนั้นเกษตรกรจึงควรหมั่นตรวจค่ากรด-ด่างของดินในสวนปาล์มของท่านเพื่อดำเนินการแก้ไขถูกต้องและทันท่วงที   4. การใส่ปุ๋ย ปาล์มน้ำมัน ให้ผลผลิตในรูป "น้ำมัน" ซึ่งมีต้นทุนในการสังเคราะห์แสงสูงกว่าแป้งและโปรตีน ปาล์มน้ำมันจึงต้องการธาตุอาหารพืชในปริมาณมาก วิธีการใส่ปุ๋ยที่ได้ผลมาโดยตลอด คือการใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อการสร้างต้นและเพื่อการสร้างทะลาย ร่วมกับการใส่ปุ๋ยบนกองทางใบ โดยพอสรุปอัตราปุ๋ยตามผลผลิตได้ตามตารางในด้านล่าง 5. ตัดแต่งทางใบ การตัดแต่งทางใบ คือการตัดทางใบปาล์มที่ตาย ทางใบที่เกิน ทางใบที่เป็นโรคออกไป เพื่อให้ทางใบปาล์มอื่นๆ ได้รับแสง และสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่ 6. วางกองทางใบ โดยการนำทางใบปาล์มน้ำมันมากองให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร มีประโยชน์มากมาย อาทิ ช่วยรักษาความชื้นในดินให้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำในดินบริเวณนั้น ชะลอการชะล้างหน้าดิน ทำให้ความชื้นในดินอยู่ได้นานส่งผลให้รากปาล์มมีชีวิตได้นานขึ้น คืนธาตุอาหาร เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสในดินมากขึ้น รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน และประโยชน์อื่น ๆอีกมากมาย 7. หักช่อดอกปาล์มน้ำมัน ข้อดีของการตัด/หัก/แทงช่อดอกปาล์มน้ำมันทิ้ง คือ สารอาหารต่างๆ สามารถไปเลี้ยงและสร้างลำต้นปาล์มได้อย่างเต็มที่ (แทนที่จะสูญเสียไปกับการเลี้ยงดอกปาล์มน้ำมัน) จึงทำให้ต้นปาล์มโตเร็ว สมบูรณ์แข็งแรง โคนต้นและทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ ทะลายสมบูรณ์กว่าต้นที่ไม่ได้หักช่อดอกทิ้ง 8. กำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันอย่างถูกวิธี สัตว์และแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันนั้นมีมากมาย เช่น หนู หนอนหน้าแมว หนอนร่านสี่เขา หนอนปลอกเล็ก ด้วงแรด ฯลฯ ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นเฝ้าระวัง และศึกษาหาวิธีกำจัดอย่างถูกต้อง เหมาะกับชนิดของศัตรูปาล์มนั้นๆ 9. เฝ้าระวัง/สังเกต/กำจัด โรคปาล์มต่างๆ โรคปาล์มน้ำมัน สามารถเกิดขึ้นได้กับต้นปาล์มน้ำมันในทุกระยะ เช่น ระยะเมล็ด ระยะต้นกล้า ระยะปลูกลงแปลง ระยะที่ให้ผลผลิต ซึ่งโรคต่าง ๆนั้นมีระดับความรุนแรงในการสร้างความเสียหายให้กับปาล์มน้ำมันแตกต่างกันไป เช่น โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรครากเน่า โรคทะลายปาล์มเน่า ฯลฯ เกษตรกรจึงควรทำความเข้าใจลักษณะอาการของโรคเพื่อวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง 10. เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน อย่างถูกวิธี การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสด ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เกษตรกรจึงควรเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มสดที่สุกพอดีส่งเข้าโรงงาน เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มทั้งปริมาณและคุณภาพสูงสุด และจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปปฏิบัติ และใช้อุปกรณ์เก็บเกี่ยวที่เหมาะสมกับอายุต้นปาล์มน้ำมันนั้นๆอ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

ปาล์มขาดคอ – มีวิธีแก้ปัญหาและดูแลปาล์ม อย่างไรบ้าง?

ปัญหา ปาล์มขาดคอ คืออะไร1. สภาวะที่ต้นปาล์มไม่มีผลผลิต ไม่มีทะลาย ผลผลิตขาดช่วง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดเป็นพื้นที่บริเวณเดียวกันเป็นหลายแปลง หรือเกิดเป็นวงกว้าง อาจเกิดจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ สภาวะแล้งจัด หนาวจัด สภาพดินเสื่อมโทรม อาการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน น้ำท่วม ฯลฯ ทำให้ต้นปาล์มไม่แทงดอกจนทำให้ปาล์มลีบไปก่อน2. ปาล์มมีดอกตัวผู้มากเกินไปจนไม่ได้ผลผลิต ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเฉพาะเป็นแปลง ๆไป ลักษณะนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปาล์มขาดการดูแล หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการดูแล เช่น สภาวะแล้งจนใส่ปุ๋ยไม่ได้ ทำให้ช่วงที่ปาล์มสร้างตาดอกเป็นดอกผู้จำนวนมาก ส่งผลให้เมื่อดอกบานจึงเต็มไปด้วยดอกตัวผู้ ไม่ใช่ดอกตัวเมียที่จะกลายเป็นผลผลิตแนวทางการแก้ปัญหา ปาล์มขาดคอ1. การดูแลดิน โดยปลูกพืชคุลมดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ป้องกันการชะล้างของหน้าดิน ช่วยเก็บความชื้นให้กับดิน และช่วยกำจัดวัชพืช 2. การวางกองทางใบ เพื่อประโยชน์หลากหลายแก่ดิน เช่น รักษาความชื้นในดินให้นานขึ้น เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสในดินมากขึ้น  รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรใส่ปุ๋ยลงบนแนวกองทางใบ และควรวางกองทางโดยคำนึงถึงทิศทางการไหลของน้ำเป็นหลัก โดยให้วางขวางทางน้ำไหล เพื่อชะลอความแรงของน้ำในฤดูฝน 3. การตัดแต่งทางใบ ควรแต่งทางใบออกทุกครั้งที่มีการตัดทลายปาล์ม เพื่อช่วยลดการที่ต้นปาล์มนำสารอาหารไปเลี้ยงทางใบโดยเปล่าประโยชน์4. การปรับสภาพดิน ด้วย "ซีพีไอ พลัส โดโลไมท์ 300" ช่วยปรับค่ากรด-ด่างของดิน และอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นหลัก ซึ่งเป็นธาตุอาหารรองที่ต้นปาล์มต้องการและยังช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรด ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมที่รากพืชสามารถดูดปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดิน นำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด5. การใส่ปุ๋ย โดยเลือกปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบตามที่ปาล์มน้ำมันต้องการ คือ N, P, K, Ca, Mg, S, B, Cu และ Zn เพราะเนื่องจาก ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ผลิตน้ำมัน (lipid) ได้ในปริมาณสูงกว่าพืชชนิดอื่น ไขมันเป็นสารที่พืชต้องใช้พลังงานในการสร้างสูงกว่าน้ำตาล และโปรตีน ต้นปาล์มจึงต้องการปุ๋ยปริมาณมาก ธาตุอาหารที่อยู่ในดินจึงไม่เพียงพอสำหรับการผลิตปาล์มให้ได้ผลผลิตสูง เช่น ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน "ซีพีไอ พลัส"6. การให้น้ำ การให้น้ำภายในสวนปาล์มน้ำมันอย่างทั่วถึงและเหมาะสม  คือ การให้น้ำตามค่าพลังงานของน้ำในดิน โดยควรรักษาระดับให้อยู่ในช่วงที่รากพืชดูดไปใช้ได้ง่ายที่สุด อุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าพลังงานของน้ำในดินเรียกว่า เทนซิโอมิเตอร์ (Tensiometer) โดยฝังเครื่องที่ความลึก 1/4 ของชั้นรากพืช เพื่อบอกเวลาเริ่มให้น้ำ และฝังที่ความลึก 3/4 ของชั้นรากพืชเพื่อบอกเวลาหยุดให้น้ำ 7. ความเครียดของต้นปาล์ม หลายท่ายคงไม่ทราบว่าต้นปาล์มก้อเครียดเป็น เมื่อปาล์มมีความเครียดก็จะหยุดผลิตฮอร์โมน ซึ่งส่งผลระยะยาว กระทบต่อ RNA ทำให้การแบ่งเซลน้อยลงมากซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก โดยความเครียดของต้นปาล์มนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น สภาวะแล้งจัด หนาวจัด อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน น้ำท่วม ฯลฯ  เกษตรกรจึงควรพยายามแก้ปัญหาหรือป้องกันความเครียดของต้นปาล์ม  โดยใช้การจัดการสวนปาล์มอย่างถูกวิธีตรงกับปัญหา8. หมั่นสังเกตดูแลต้นปาล์มว่ามีความสมบูรณ์ดีหรือไม่ เช่น การเก็บใบปาล์มส่งทดสอบ การทดสอบค่ากรด-ด่างของดิน เป็นต้น รวมทั้งคอยเฝ้าระวังโรคและศัตรูปาล์ม รวมทั้งอาการขาดสารอาหารต่าง ๆของปาล์มอ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

สูตรใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน และการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูง และลดต้นทุน

การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ถือเป็นไม้ยืนต้นที่มีอัตราเติบโตและให้ผลผลิตที่สูง อีกทั้งเป็นผลผลิตในรูป "น้ำมัน" ซึ่งมีต้นทุนในการสังเคราะห์แสงสูงกว่าการสร้างแป้งและโปรตีน ปาล์มน้ำมันจึงต้องการธาตุอาหารพืชในปริมาณที่มาก วิธีการใส่ปุ๋ยที่สวนของ ซีพีไอ ที่ใช้ได้ผลมาโดยตลอด คือ การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อการสร้างต้นและเพื่อการสร้างทะลาย กล่าวคือปุ๋ยส่วนหนึ่งให้ธาตุอาหารที่จะถูกตรึงอยู่ในมวลของต้น ได้แก่ ใบ ลำต้น รากที่เพิ่มขึ้นต่อปี และปุ๋ยอีกส่วนหนึ่งให้ธาตุอาหารเพื่อชดเชยกับที่ติดไปกับทะลายที่นำออกจากสวน การชดเชยธาตุอาหารตามผลผลิตทะลายที่นำออกไปจึงเป็นการคืนธาตุอาหารให้กับดิน ซึ่งจะทำให้สามารถรักษากำลังผลิตของดินให้ยั่งยืน กล่าวคือแปลงที่ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตสูงจะได้รับปุ๋ยคืนสู่ดินในปริมาณสูงไปด้วยขณะที่แปลงที่มีผลผลิตต่ำ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เพราะขาดธาตุอาหารเพียงอย่างเดียวจะไม่มีการให้ปุ๋ยฟุ่มเฟือย อีกทั้งวิธีนี้เหมือนบังคับให้ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันต้องมีการเก็บข้อมูลผลผลิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อจะได้สามารถประเมินประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและค่าใช้จ่ายในการจัดการที่คุ้มการลงทุน ปริมาณธาตุอาหารในรูปของปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อสร้างต้นก่อนให้ทะลาย กับที่ต้องใช้ทั้งในการสร้างต้นและสร้างทะลายไ การศึกษามวลชีวภาพและปริมาณอาหารพืช เพื่อคำนวนการใส่ปุ๋ย การศึกษามวลชีวภาพและปริมาณอาหารพืช ของแต่ละชิ้นส่วนของต้นปาล์ม เช่น ใบ ทางใบลำต้น รากและทะลาย เพื่อใช้คำนวณเป็นระดับอ้างอิงในการใส่ปุ๋ยให้กับต้นปาล์ม ของ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ทำงานร่วมกับ นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ แนวทาง การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน มีดังนี้ เนื่องจากดินปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ สามารถดูดซับธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีได้ในปริมาณน้อย มีโอกาสสูญเสียไปกับการชะล้างของฝนได้ จึงควรเติมอินทรียวัตถุลงดินก่อน เช่นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในขณะที่ต้นปาล์มยังเล็ก หรือใช้ทะลายปาล์มเปล่าคลุมโคนและพยายามเติมให้ได้ทุกปีเมื่อต้นโตให้สร้างแถวกองทาง คือนำใบที่ตัดออกจากต้นมากองเป็นแนวขนานกับแถวปาล์มน้ำมัน แถวเว้นแถวหรือทุกแถว วางทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ เวลาใส่ปุ๋ยเคมีให้สาดใส่บนอินทรีย์วัตถุหรือบนกองทางใบ อินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายของทางใบเป็นตัวช่วยตรึงปุ๋ยไม่ให้ถูกน้ำชะล้างไป และยังช่วยรักษากิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินให้ช่วยย่อยทางใบและสลายเป็นอินทรียวัตถุบำรุงดินได้เร็วขึ้นต่อไป การใส่ปุ๋ยเคมีหลัก กับ ปูนโดโลไมท์ จะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันได้ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และกำมะถัน ซึ่งเป็นธาตุที่ต้นพืชต้องการในปริมาณที่มาก  ส่วนจุลธาตุอื่นๆ  เช่น "โบรอน" เป็นธาตุอาหารที่ต้นปาล์มน้ำมันต้องการชัดเจน จึงควรใส่โบรอนทุกปีโดยเฉพาะเมื่อใบแสดงอาการขาด ใส่ในรูปของปุ๋ยที่ให้ทางดิน ชื่อทางการค้า Fertibor หรือ Quibor มี 15%B แนะนำให้ใส่ในปริมาณ 50-100 กรัม/ต้น/ปี ส่วนจุลธาตุที่มีโอกาสขาดได้คือ ธาตุทองแดงกับสังกะสี ซึ่งควรใส่โดยพิจารณาจากค่าวิเคราะห์เคมีของใบ (ปริมาณแนะนำคือ  30-50 กรัม/ต้น/ปี) โดยวิธีการใส่จุลธาตุก็หว่านไปบนกองทางเช่นเดียวกับปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยควรใส่หลังจากที่มีการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นปาล์ม เพื่อลดการแข่งขันในการดูดธาตุอาหารระหว่างปาล์มน้ำมันกับวัชพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ต้นปาล์มมีขนาดเล็ก ลำดับการใส่ปุ๋ยในรอบปี การใส่แม่ปุ๋ยชนิดต่างๆ ให้พิจารณาจากความยากง่ายในการละลายน้ำของปุ๋ย ดังนี้ ปุ๋ยหินฟอสเฟตและโดโลไมท์ มีความสามารถในการละลายน้ำได้น้อย จึงใส่ในช่วงไหนของปีก็ได้ เพียงแต่ต้องระวังที่ลาดชันมากๆที่มีน้ำไหลบ่าพาปุ๋ยออกจากพื้นที่ ส่วนปุ๋ยที่ละลายในน้ำได้มากคือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต(21-0-0) หรือยูเรีย และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ควรแบ่งใส่อย่างน้อยเป็น 2 ครั้ง -ครั้งแรกในช่วงต้นฝนและอีกครั้งในช่วงปลายฝน คือ ประมาณ 60% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่ทั้งปี เพราะเมื่อฝนตกต้นปาล์มจะได้นำปุ๋ยไปใช้ได้ทันที -ปุ๋ยส่วนที่เหลือค่อยใส่ตอนปลายฝน เพราะช่วงฝนจะมีความลำบากในการเข้าไปปฏิบัติงานในสวน ให้หลีกเลี่ยงช่วงฝนตกชุกที่มีโอกาสของการชะปุ๋ยไปตามน้ำฝน หรือจะแบ่งใส่เป็น 3 ครั้งต่อปี คือ ต้นฝน 40% กลางฝน 30% และปลายฝน 30% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่ทั้งปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงงานที่มี ปูนโดโลไมท์มีระดับความเป็นด่างสูง หากให้ปุ๋ยไนโตรเจนสัมผัสกับปูนโดยตรง จะมีโอกาสที่สารประกอบไนโตรเจนถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สแอมโมเนีย ซึ่งจะระเหยสูญเสียจากดินได้ จึงเป็นข้อแนะนำว่าการใส่ปูน ให้โรยเป็นทางด้านหนึ่ง  ส่วนการใส่ปุ๋ยตัวอื่นให้ใส่บนกองทางที่จะไม่ทับลงไป บนปูนโดยตรง การใส่ปุ๋ยตัวอื่นๆให้หว่านกระจายไปทั่วกองทางให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้จะช่วยให้ชิ้นส่วนทางใบถูกย่อยสลายได้ง่ายขึ้นด้วย ช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ย เรื่องของเวลาในการเลือกใส่ปุ๋ย นั้นเป็นสิ่งที่เกษตรควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก การใส่ปุ๋ยในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ประสิทธิภาพลดลง (การตอบสนองของปาล์มน้ำมันต่อการใส่ปุ๋ยลดลง ธาตุอาหารในปุ๋ยสูญเสียไป) แนะนำช่วงเวลาที่เหมาะในการใส่ปุ๋ย หลังช่วงเดือนที่มีฝนตกเล็กน้อย ช่วงที่ดินมีความชื้นในระดับที่เหมาะสม ช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงในการใส่ปุ๋ย เลี่ยงเดือนที่มีฝนตกหนัก หรือหลังช่วงที่ฝนตกติดต่อเนื่องยาวนาน เพราะจะทำให้ธาตุอาหารถูกชะล้างไปกับฝนได้ง่าย (ช่วงเดือนที่มีปริมาณฝนตกมากกว่า 250 มม./เดือน) เลี่ยงช่วงหน้าแล้ง เพราะเป็นฤดูที่การเคลื่อนย้ายของธาตุอาหารจากดินไปสู่รากพืชลดลง (ช่วงในเดือนที่ฝนตกน้อยกว่า 25 มม./เดือน) เลี่ยงเดือนที่มีฝนตก จำนวนมากกว่า 15 วัน/เดือน  ข้อควรเข้าใจคือ ท่อน้ำและท่ออาหารภายในลำต้นพืชมีการเชื่อมติดต่อถึงกัน การให้พื้นที่บางบริเวณของดินในเขตรากพืชมีความชื้นและมีธาตุอาหารเพียงพอ จะทำให้เกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินได้มาก ซึ่งจะส่งเสริมการดูดใช้ธาตุอาหารของต้นพืชได้ผลดีกว่าการหว่านลงดินทั่วบริเวณต้น (แบบหว่านรอบโคนต้น) ที่มีสภาพแห้งและมีกิจกรรมจุลินทรีย์น้อย การสร้างกองทางใบ จึงเป็นแนวทางที่เราแนะนำให้ปฏิบัติเพราะช่วยลดการระเหยของน้ำ โดยข้างใต้กองทางเป็นจุดที่รักษาความชื้นได้ดี และเป็นบริเวณที่รากของต้นปาล์มน้ำมันจะขยายแผ่มาอยู่อย่างหนาแน่น และรากปาล์มสามารถยังชีวิตอยู่ได้ในช่วงแล้ง อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

ภัยจาก 2 เชื้อโรคพืช คู่แฝดตัวร้ายทำลายต้นปาล์ม

ต้นปาล์มน้ำมันที่ทางใบเหลืองแห้งหักพับ แสดงอาการเหมือนการขาดธาตุอาหารหรือใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอ ในข้อเท็จจริงแล้วอาจเกิดจากเชื้อโรคพืช 2 ชนิด ที่เข้าทำลาย เรียกว่าเป็นเชื้อโรคคู่แฝด คือ ตัวแรกจะเข้าทำลายที่ยอดของต้นปาล์ม คือ เชื้อ Phellinus noxius (เฟลลินัส นอเซียส) และตัวที่ 2 จะเข้าทำลายที่บริเวณรากและโคนต้นของต้นปาล์ม คือ เชื้อ Ganoderma spp. (กาโนเดอร์มา) วิธีการป้องกันต้องทำแบบองค์รวม คือ การบำรุงรักษาต้นปาล์มให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ได้แก่ การใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่ปาล์มต้องการ คือธาตุอาหารพืชชนิดต่างๆ ที่จำเป็น 13 ชนิด การตัดแต่งทางใบเพื่อให้แสงแดดเข้าสู่สวนปาล์มได้มากขึ้น ลดการสะสมความชื้นมากเกินไปที่จะเอื้อให้โรคพืชเติบโตได้ดี     โรคลำต้นส่วนบนเน่าของปาล์มน้ำมัน (Upper Stem Rot) สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius (เฟลลินัส นอเซียส) ลักษณะของเชื้อโรคพืช เป็นเชื้อที่เกิดกับพืชในเขตร้อนชื้น มีรายงานครั้งแรกว่าทำให้เกิดโรครากน้ำตาลกับต้นไม้ที่ประเทศสิงคโปร์ เชื้อชนิดนี้สามารถทนอุณหภูมิได้ในช่วง 10 ถึง 35 องศาเซลเซียส และทนต่อค่ากรด-ด่าง ได้ในช่วง 3.1 ถึง 7.5 จึงทำให้เชื้อมีชีวิตอยู่ในพืชที่เป็นแหล่งอาศัยได้นานหลายปี พืชอาศัยที่เป็นแหล่งให้เชื้อเติบโตได้ เช่น มะฮอกกะนี สัก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ชา และโกโก้ เป็นต้น ลักษณะอาการ ลำต้นของปาล์มน้ำมันหักพับลงตรงจุดใดจุดหนึ่งของลำต้น และพบดอกเห็ดสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร บางครั้งต้นปาล์มน้ำมันอาจจะหักพับโดยไม่สร้างดอกเห็ดที่โคนต้น แต่จะมีดอกเห็ดบนต้นที่ตายแล้วในภายหลัง ในกรณีที่พบดอกเห็ดที่โคนต้นเชื้อสาเหตุอาจเข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันทางซอกทางใบ และขยายตัวเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของลำต้นทำให้เกิดการขัดขวางการขนส่งน้ำและอาหารที่จะส่งไปที่ใบ ทำให้ใบมีสีเหลืองซีด ทางใบที่สร้างใหม่มีขนาดเล็กลงและมีจำนวนน้อยลงกว่าปกติ เมื่อแผลภายในลำต้นขยายตัวมากขึ้น ทางใบแก่จะทิ้งตัวหักพับและห้อยขนานกับลำต้น ซึ่งเป็นลักษณะอาการที่คล้ายกับอาการของโรคลำต้นเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Ganoderma spp." เมื่อผ่าดูภายในลำต้นจะพบเนื้อเยื่อถูกทำลายไปได้ถึง 60 – 80 % แผลในลำต้นจะเน่าเริ่มจากบริเวณกาบทางใบ แผลมีสีน้ำตาล ส่วนใหญ่พบเส้นใยสีขาวของเชื้อราบริเวณขอบแผล เชื้อราโรคพืชจะทำลายส่วนของลำต้นของปาล์มน้ำมันแต่ไม่ลุกลามไปถึงส่วนของราก เชื้อราสาเหตุสามารถเข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันได้หลายจุดโดยรอบลำต้นเมื่อแผลภายในลำต้นขยายตัวมาชนกันจึงทำให้ลำต้นหักพับ การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุแพร่กระจายไปตามลม การป้องกันกำจัด 1. บำรุงรักษาต้นปาล์มให้แข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ยให้ครบชนิดและปริมาณที่เพียงพอ 2. ตัดแต่งทางใบแก่ด้านล่าง โดยตัดทางใบให้เหลือตอทางสั้นเท่าที่จะทำได้ จะช่วยลดการเกิดโรคเนื่องจากซากของตอทางที่เหลือ มีความชื้นสูงเหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อสาเหตุ 3. ตัดส่วนที่เป็นโรคออกในระยะแรกก่อนการสร้างดอกเห็ด หลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคออกแล้ว ให้พ่นด้วยสาร tridemorph (1 % Calixin) เพื่อป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นเข้าทำลายซ้ำเติม และติดตามผลหลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคออกทุกๆ 6 เดือน 4. ตรวจสอบต้นที่เป็นโรค โดยใช้ไม้เคาะลำต้นปาล์มน้ำมันเพื่อฟังเสียงในบริเวณที่ถูกเชื้อโรคทำลาย และสังเกตพืชที่อาศัยอยู่บนต้นปาล์มน้ำมัน เช่น เฟิร์นถ้ามีลักษณะสมบูรณ์ใบมีสีเขียวเข้ม จะเป็นลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าได้รับอาหารอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากลำต้นส่วนที่เน่าจะเป็นแหล่งอาหารอย่างดีของเฟิร์น เพราะเชื้อสาเหตุได้ทำลายย่อยสลายเนื้อเยื่อของลำต้นปาล์มน้ำมันไปบ้างแล้ว ทำให้เป็นแปลงที่อุดมสมบูรณ์ของพืชที่อาศัยบนต้นปาล์มน้ำมัน 5. ขุดต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค และเผาทำลายชิ้นส่วนให้หมด ถ้าหากทิ้งต้นที่เป็นโรคไว้ในแปลงจะเป็นแหล่งของเชื้อราโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อ Ganoderma spp. สาเหตุของโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน จะตามเข้ามาทำลายต้นปาล์มต่อ 6. การป้องกันแบบชีวภาพ โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในการฉีดพ่นหรือรดต้นพืช เพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

เจาะต้นปาล์มใส่ปุ๋ย..ดีจริงหรือไม่?

ชาวสวนหลายๆ ท่านมีคำถามเข้ามาว่า…การให้ปุ๋ยกับปาล์มน้ำมันแบบเร่งด่วน ด้วยการเจาะลำต้นแล้วหยอดปุ๋ยใส่ลงไปได้ผลดีจริงไม่ วันนี้เรามีคำตอบให้พืชทุกชนิดดูดน้ำและปุ๋ยผ่านทางรากที่อยู่ในดิน ด้วยการผ่านระบบคัดกรองธาตุต่างๆ แล้วผ่านท่อลำเลียงภายในลำต้น และไปยังแต่ละส่วนของพืช เช่น ใบ ดอก และผล ระบบท่อลำเลียงของพืชเรียกว่าท่อน้ำและท่ออาหาร ซึ่งจะแตกต่างกัน คือ พืชใบเลี้ยงคู่ เช่น ยางพารา ทุเรียน มังคุด จะมีการสร้างท่อน้ำ-ท่ออาหารใหม่ทุกปี ทำให้ลำต้นขยายขนาดออกด้านข้าง และเกิดเป็นวงปีหรือมีเนื้อไม้ พืชใบเลี่ยงเดี่ยว เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไผ่ ตาล จะไม่สร้างระบบท่อลำเลียงใหม่หรือสร้างชดเชยส่วนที่เสียหายชำรุดไปแล้ว  ระบบท่อลำเลียงนี้จะถูกสร้างมาตั้งแต่ระยะแรกเกิด คือตั้งแต่ระยะต้นกล้า ฉะนั้นการอนุบาลต้นกล้าพืชที่ดีจะทำให้ระบบท่อน้ำ-ท่ออาหารแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ตั้งแต่แรก ทำให้สามารถลำเลียงน้ำและอาหารได้มาก ดังนั้นการเจาะลำต้นพืช จึงเหมือนการทำลายระบบท่อลำเลียง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่พืชใช้ลำเลียงน้ำและอาหาร จะส่งผลกระทบให้พืชดูดน้ำและอาหารได้ลดลง และแผลจากการเจาะที่เกิดขึ้นอาจทำให้มีเชื้อโรคต่างๆ เข้าทำลายพืชได้ง่าย สุดท้ายอาจทำให้พืชตายได้ ฉะนั้นการเจาะลำต้นพืชเพื่อให้ปุ๋ยจึงเป็นวิธีการที่ผิดหลักการทางสรีรวิทยาของพืช ซึ่งเกษตรกรไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งการให้ปุ๋ยกับพืชที่ดีที่สุดคือให้ปุ๋ยทางดิน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และเคมี แต่ต้องใส่ให้ตรงตามชนิดและปริมาณที่พืชต้องการจึงจะได้ผลผลิตสูง ร่วมกับการปรับสภาพของดินให้มีค่ากรด-ด่างที่เหมาะสม และสร้างแหล่งอินทรียวัตถุขึ้นมาในสวน เช่น การวางกองทางใบปาล์ม การคลุมโคนต้นด้วยทะลายปาล์มเปล่าหรือวัตถุอินทรีย์ต่างๆ จะช่วยทำให้ดินมีชีวิตและรากพืชเติบโตได้ดีขึ้น จึงทำให้พืชดูดน้ำและปุ๋ยจากดินไปใช้ได้อย่างเต็มที่

รายละเอียดทั้งหมด

ศัตรูปาล์มน้ำมันมีอะไรบ้าง และมีวิธีป้องกัน กำจัด อย่างไร?

ศัตรูปาล์มน้ำมัน ศูนย์วิจัยพัฒนาปาล์มน้ำมันซีพีไอ ได้รวบรวมและวิเคราะห์ ปัญหาโรคและศัตรูพืชในสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อให้สามารถวิเคราห์และทราบถึงการป้องกัน ลดจำนวนศัตรูพืชลง เป็นการช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยศัตรูปาล์มน้ำมัน เบื้องต้นมีดังนี้หนู1หนูป่ามาเลย์หนูป่ามาเลย์ เป็นหนึ่งใน ศัตรูปาล์มน้ำมัน ที่สำคัญ พบมากในสวนป่าละเมาะ ดงหญ้าที่เกิดภายหลังการเปิดป่าใหม่ ป่าโกงกาง พบเฉพาะในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปโดยเฉพาะในสวนปาล์มน้ำมันทางภาคใต้ของประเทศไทยแม้ว่าหนูชนิดนี้มีอุปนิสัยปีนป่ายต้นไม้คล่องแคล่วแต่เมื่อใช้กรงดักวางบนพื้นดิน หนูชนิดนี้ก็ติดกรงดักได้ง่ายกว่าหนูนาใหญ่ลักษณะหนูป่ามาเลย์เป็นหนูขนาดกลาง ขนด้านหลังสีน้ำตาลเขียวมะกอก และจะเข้มขึ้นในบริเวณกลางหลัง ขนเรียบนุ่มไม่มีขนแข็งปนขนด้านท้องขาวล้วนหรือขาวปนเทาจาง ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 100 – 180 มม. ความยาวหาง 125 – 198 มม. ความยาวตีนหลัง 28 – 32 มม. ความยาวหู 16 – 22 มม. น้ำหนักตัว 55 – 152 กรัม นมที่บริเวณคอถึงขาหน้า 2 คู่ บางตัวมีเต้านมคู่ที่ 3 อยู่ชิดคู่ที่ 2 หรือห่างกันไม่เกิน 10 มม. จากคู่ที่ 2 และบางครั้งมีเต้านมคู่ที่ 3 ข้างเดียว และที่บริเวณขาหลัง 3 คู่ หนูป่ามาเลย์เพศเมียสามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 84 วัน เพศผู้เมื่ออายุ 163 วัน ระยะตั้งท้องนาน 21 – 22 วัน จำนวนลูกต่อครอก 5 ตัว วงรอบเป็นสัดทุก ๆ 5 – 8 วัน ในสวนปาล์มน้ำมันประเทศมาเลเซีย เพศเมียสามารถให้ลูกต่อครอก 4 – 10 ตัว อายุขัยในสภาพ สวนปาล์มน้ำมัน 7 – 8 เดือน ระยะหากินของเพศผู้โดยเฉลี่ย 30 เมตรเพศเมีย ประมาณ 25 เมตรลักษณะการทำลายหนูป่ามาเลย์ชอบกินดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ ตลอดจนลูกปาล์มน้ำมันทั้งดิบและสุก เมื่อหนูป่ามาเลย์กินลูกปาล์มน้ำมันที่ร่วงบนพื้นดิน มันจะขนลูกปาล์มน้ำมันไปกินใต้กองทางใบ หนูป่ามาเลย์จะเริ่มเข้าทำลายปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่ปาล์มปลูกใหม่จนถึงต้นปาล์มสิ้นอายุการให้ผลผลิต และจะขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จึงเป็นศัตรูปาล์มน้ำมันที่สำคัญที่สุด2หนูพุกใหญ่หรือหนูแผงพบทั่วประเทศในพื้นที่เกษตรกรรมที่มีดงหญ้าคา หญ้าขน เป็นศัตรูสำคัญในนาข้าว พืชไร่ และในสวนปาล์มน้ำมันที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี โดยเฉพาะบริเวณที่มีวัชพืชขึ้นในพื้นที่ลักษณะหนูพุกใหญ่เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ คือ ตัวเต็มวัยความยาวหัวและลำตัว 246 มม. ความยาวหาง 244 มม. ความยาวตีนหลัง 56 มม. ความยาวหู 30 มม. น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 480 กรัม วัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไป เพศเมียมีวงรอบเป็นสัด 5 – 8 วัน ระยะตั้งท้อง 23 – 30 วัน ให้ลูกปีละ 2 ครอก ๆ ละ 5 – 8 ตัวลักษณะการทำลายกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบ และลูกปาล์มน้ำมันที่อยู่ใกล้กับพื้นดินเท่านั้น เนื่องจากเป็นหนูขนาดใหญ่ จึงไม่ชอบปีนป่ายต้นไม้3 หนูบ้านท้องขาวพบทั่วประเทศทั้งในนาข้าว พืชไร่ ไม้ผล บ้านเรือน สวนผลไม้ต่าง ๆ และสวนปาล์มน้ำมันตั้งแต่เริ่มปลูกใหม่ จนถึงต้นปาล์มสิ้นอายุการให้ผลผลิตลักษณะหนูบ้านท้องขาวเป็นหนูขนาดกลาง น้ำหนักตัวประมาณ 140 – 250 กรัม ความยาวหัวถึงลำตัว 182 มม. ความยาวหาง 188 มม. ความยาวตีนหลัง 33 มม. ความยาวหู 23 มม. นมที่ท้องบริเวณคอถึงขาหน้า 2 คู่ ที่บริเวณขาหลัง 3 คู่ ขนด้านหลังสีน้ำตาล ขนที่ท้องสีขาวนวล ตีนหลังสีขาว หน้าค่อนข้างแหลม หูใหญ่กว่าหนูชนิดอื่น เมื่อเทียบกับหน้า ผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 130 วัน ระยะตั้งท้องนาน 21 – 23 วัน จำนวนลูกต่อครอก 7.2 ตัว วงรอบเป็นสัดทุก ๆ 4 วัน ในสภาพมีอาหารสมบูรณ์ มีลูกได้ตลอดปีลักษณะการทำลายที่เกิดจากหนูการทำลายที่เกิดจากหนูในปาล์มระยะปลูกใหม่ -โคนต้นปาล์มถูกกัดแทะการทำลายที่เกิดจากหนู ปาล์มระยะให้ผลผลิต-ทะลายหนูถูกกัดกินข้อพิจารณาในการป้องกันกำจัดหนูเมื่อต้นปาล์มยังมีขนาดเล็ก (1 – 3 ปี) ถ้าพบความเสียหายแม้เพียงต้นเดียว ก็ควรดำเนินการป้องกันกำจัดทันที เมื่อต้นปาล์มให้ผลผลิตแล้วหมั่นสำรวจทะลายปาล์มถ้าพบรอยทำลายใหม่ในผลดิบบนต้น ซึ่งสังเกตจากรอยกัดผลปาล์มยังเขียวสดไม่แห้ง ตั้งแต่ 5% คือ ใน 100 ต้น พบรอยทำลายใหม่ 5 ต้นขึ้นไป ให้ทำการป้องกันกำจัดทันทีหนอน1 หนอนหน้าแมวชื่ออื่น : หนอนดาน่าชื่อสามัญ : The Oil Palm Slug Caterpillarชื่อวิทยาศาสตร์ : Darna furva Wilemanชื่อวงศ์ : Limacodidaeชื่ออันดับ Lepidopteraความสำคัญและลักษณะการทำลายศัตรูปาล์มน้ำมัน ที่สำคัญมากอีกหนึ่งชนิด คือ “หนอนหน้าแมว” เป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ จนต้นปาล์มโกร๋น ทำให้ผลผลิตลดลงต้นชะงักการเจริญเติบโต และกว่าต้นจะฟื้นคืนดังเดิมใช้เวลานานเป็นปี เมื่อเกิดมีการระบาดแต่ละครั้งมักต้องใช้เวลาในการกำจัดนานเป็นเพราะหนอนมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น มีทั้งระยะหนอน ระยะดักแด้ เราจึงไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ในคราวเดียวกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการกำจัดและต้องเฝ้าติดตามการระบาดอย่างต่อเนื่องไข่รูปไข่สีใส แบนราบติดใบผิวเป็นมัน คล้ายหยดน้ำค้าง ถ้าส่องกับแสงแดดจะทำให้เห็นไข่ชัดเจนขึ้น ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆกระจัดกระจายใต้ใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมัน มักจะพบไข่มากที่สุดบริเวณทางใบตอนล่างนับขึ้นมาจนถึงทางใบที่ 17 และพบบริเวณค่อนไปทางปลายใบเป็นส่วนใหญ่ขนาดประมาณ 1.1 x 1.3 มิลลิเมตรระยะหนอนหนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีขนาดลำตัว 0.2 x 0.8 มิลลิเมตร สีขาวใส มีสีน้ำตาลอยู่กลางลำตัว มีกลุ่มขนบนลำตัว 4 แถวเห็นไม่ชัดเจน ส่วนหัวหลบซ่อนอยู่ใต้ลำตัว เคลื่อนไหวช้า กินแบบแทะผิวใบ หนอนที่เจริญเต็มที่มีขนาดลำตัวกว้าง 5-6 มิลลิเมตร ยาว 15-17 มิลลิเมตร มีกลุ่มขนข้างลำตัวข้างละ 11 กลุ่ม สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำแต้มสีเป็นรอยเว้ารูปสามเหลี่ยมจากด้านข้างเข้าหากึ่งกลางลำตัว ปลายยอดสามเหลี่ยมห่างกันเล็กน้อย ภายในสามเหลี่ยมสีตองอ่อนมีขอบเป็นสีเหลือง ส่วนท้ายลำตัวมีสีเหลือง กลางหลังของลำตัวมีเส้นประสีเหลืองและจุดสีดำขนานไปกับกลุ่มขนสีดำอีก2แถวระยะดักแด้รังดักแด้สีน้ำตาล รูปทรงกลม ขนาดกว้าง 5 – 6 มิลลิเมตร ยาว 7 – 8 เมตร อยู่ตามซอกโคนทางใบซอกมุมของใบย่อยหรือตามใบพับของใบย่อยระยะตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนนาดเล็ก เวลากลางวันผีเสื้อเกาะนิ่งหุบปีกไม่เคลื่อนไหว จะเคลื่อนไหวบินในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า2 หนอนร่านสี่เขาหนอนร่านสี่เขา (หนอนซีโทร่า) เป็นหนอนที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ หนอนหน้าแมว , หนอนร่านสีน้ำตาลหนอนร่านสี่เขา-พบได้ทั่วไปใน สวนปาล์มน้ำมัน สวนมะพร้าว หากสัมผัสโดนผิวหนังจะมีอาการแสบ คัน บางรายอาจแพ้เป็นผดผื่น  หนอนร่านสี่เขามีชื่อที่เรียกแตกต่างไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น หนอนลั้น, หนอนบุ้ง, หนอนร่าน, แมงบ้งเป่ม, หนอนร่านไฟ เป็นต้นชื่ออื่น : หนอนซีโทร่าชื่อสามัญ : The Oil Palm Slug Caterpillarชื่อวิทยาศาสตร์ : Setora Fletcheri Hallowayชื่อวงศ์ : Limacodidaeชื่ออันดับ : Lepidopteraลักษณะการทำลายหนอนร่านสี่เขา-เป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน โดยในช่วงวัยแรกๆ จะแทะผิวใบ และเมื่อหนอนเจริญเติบโตขึ้นจะกัดกินทั้งใบ หากอาการรุนแรงมากใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงต้นชะงักการเจริญเติบโต เมื่อเกิดมีการระบาดแต่ละครั้งมักต้องใช้เวลาในการกำจัดนานเป็นเพราะหนอนมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น มีทั้งระยะหนอน มีทั้งระยะดักแด้ เราจึงไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ในคราวเดียวกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการกำจัดและติดตามการระบาดที่ต่อเนื่องการระบาดมักพบบนต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 1-3 ปี มักพบบ่อยตามปลายใบปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะทางใบที่อยู่ตำแหนงล่างๆ และเนื่องจากหนอนร่านสี่เขาสามารถถูกควบคุมจำนวนโดยแมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนหนอน แตนเบียนดักแด้ เป็นต้น จึงยังไม่พบว่ามีการระบาดอย่างรุนแรง3 หนอนร่านสีน้ำตาลหนอนร่านสีน้ำตาล เป็นหนอนที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับ หนอนหน้าแมว , หนอนร่านสี่เขาพบได้ในสวนปาล์มน้ำมัน สวนมะพร้าว มีความสามารถในการทำลายต้นปาล์มน้ำมันเหมือนหนอนหน้าแมว มีรายงานว่าเคยระบาดในประเทศไทยชื่อสามัญ : The Oil Palm Slug Caterpillarชื่อวิทยาศาสตร์ : Darna Diducta Snellenชื่อเดิม : Ploneta Diducta Snellenชื่อวงศ์ : Limacodidaeชื่ออันดับ : Lepidopteraลักษณะการทำลายหนอนร่านสีน้ำตาล-เป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ อาจถึงขั้นใบโกร๋นทั้งต้น  เมื่อเกิดมีการระบาดแต่ละครั้งมักต้องใช้เวลาในการกำจัดนานเป็นเพราะหนอนมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น มีทั้งระยะที่เป็นหนอน มีทั้งระยะดักแด้ เราจึงไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ในคราวเดียวได้การระบาดมักพบการระบาดบนต้นปาล์มน้ำมัน และมักพบการระบาดในช่วงฤดูแล้งวงจรชีวิต (รวม45-55วัน)-ระยะไข่ 4 วัน รูปไข่สีใส แบนราบติดใบผิวเป็นมัน คล้ายหยดน้ำค้าง ถ้าส่องกับแสงแดดจะทำให้เห็นไข่ชัดเจนขึ้น ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองได้ถึง 60-255 ฟอง กระจัดกระจายใต้ใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมัน ขนาดไข่ประมาณ 1.1×1.4 มิลลิเมตร-ระยะหนอน 30-37 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน มีกลุ่มขนบนลำตัวเห็นไม่ชัดเจน ส่วนหัวหลบซ่อนอยู่ใต้ลำตัว เคลื่อนไหวช้า หนอนวัยนี้จะกินแทะผิวใบและก้านใบด้วย หนอนที่เจริญเต็มที่มีขนาดลำตัวกว้าง 5-6 มิลลิเมตร ยาว 17-22 มิลลิเมตร สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเทา หรือมีแต้มสีเหลืองอยู่ประปราย-ระยะดักแด้ 11-14 วัน รังดักแด้สีน้ำตาล รูปทรงกลม ขนาดของรังดักแด้โดยประมาณ 9 x 11 มม. รังดักแด้จะอยู่ตามซอกโคนทางใบซอกมุมของใบย่อยหรือตามใบพับของใบย่อย-ระยะตัวเต็มวัย 2-9 วัน เป็นผีเสื้อกลางคืนนาดเล็ก เวลากลางวันผีเสื้อเกาะนิ่งหุบปีกไม่เคลื่อนไหว จะเคลื่อนไหวบินในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า ไม่เคลื่อนไหวในเวลากลางวันการป้องกันการระบาด (หนอนหน้าแมว / หนอนร่านสี่เขา / หนอนร่านสีน้ำตาล)1. หมั่นสำรวจการระบาดของหนอนหน้าแมวเป็นประจำ เมื่อพบกลุ่มหนอนให้ติดตามด้วยว่าหนอน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพื่อตัดสินใจพ่นสารฆ่าแมลงกำจัดก่อนที่หนอนจะเพิ่มขยายจนเป็นวงกว้าง2. ควรเลือกใช้สารฆ่าแมลงที่มีผลกระทบต่อศัตรูธรรมชาติน้อยที่สุด เพราะแมลงศัตรูธรรมชาติในสวนปาล์มน้ำมันเหล่านี้มีความสามารถในการควบคุมหนอนได้อย่างดี3. ไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชมากเกินไป และควรมีพืชคลุมดิน หรือปล่อยให้มีวัชพืชต้นเล็กที่ออกดอกสม่ำเสมอขึ้นอยู่ในสวน เพื่อเป็นแหล่งอาหารของแมลงศัตรูธรรมชาติการกำจัด (หนอนหน้าแมว / หนอนร่านสี่เขา / หนอนร่านสีน้ำตาล)1. โดยวิธีจับแมลงโดยตรง เช่น ตัดใบย่อยที่มีหนอนทำลายหรือจับผีเสื้อ ซึ่งเกาะนิ่งในเวลากลางวันตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเก็บดักแก้ตามซอกโคนทางใบรอบลำต้น2. ใช้กับดักแสงไฟ โดยใช้แสงไฟ Black light หรือหลอดนีออนธรรมดา วางบนกะละมังพลาสติก ซึ่งบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก ให้หลอดไฟอยู่เหนือน้ำประมาณ 5 – 10 ซม. วางล่อผีเสื้อช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น. สามารถช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป3. ใช้สารฆ่าแมลงพ่น เริ่มพ่นสารตั้งแต่หนอนยังเล็กอยู่ ควรพ่นซ้ำที่เดิมอีก 1 ครั้ง โดยห่างจากครั้งแรกประมาณ 10 วัน ได้แก่-carbaryl (Sevin 85 % MP) ต่ออัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร lambda cyhalothrin (Karate 2.5 % EC) ในอัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร-trichlorfon (Dipterex 95 % WP) ในอัตรา 15 – 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร deltamethrin (Decis 3 % EC) ในอัตรา 5 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร-permethrin (Ambush 25 % EC) ในอัตรา 5 – 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร-cyfluthrin (Baythriod 10 % EC ) ในอัตรา 5 – 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร-chlorpyrifos (Lorsban 40 % EC) ในอัตรา 20 – 30 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร-pirimiphos methyl (Actellic 50 % EC) ในอัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร4. ใช้สารฆ่าแมลงประเภทพ่นฝุ่น เช่น carbaryl (Sevin 5% D)หรือ fenvalerate (Sumicidin 0.3% D) พ่นในช่วงที่มีน้ำค้างเกาะที่ใบ (เวลากลางคืน) ซึ่งต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงาน และใช้ในกรณีจำเป็นจริง ๆ5. ใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis (เชื้อ 16,000 i.u) จำนวน 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สารฆ่าแมลงประเภทเชื้อแบคทีเรียทำลายเฉพาะหนอนแมลงศัตรูปาล์มน้ำมันเท่านั้น ไม่ทำอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์6. การเจาะลำต้นใส่สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม จำนวน 10 – 15 มล. ต่อต้น7. ใช้สารสกัดสะเดา กลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้ทดลองโดยใช้สะเดาอัตราความเข้มข้น 5 % สามารถกำจัดหนอนได้ผลดี8. การใช้วิธีผสมผสาน เป็นการนำวิธีการกำจัดหลายๆ วิธีมาใช้ร่วมกัน เช่น-การใช้กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อในช่วงดักแด้กำลังออกเป็นผีเสื้อสลับกับการใช้สารฆ่าแมลงหรือเชื้อแบคทีเรียในช่วงเป็นหนอนวัยที่ 2 – 3-การใช้เชื้อแบคทีเรียสลับกับการใช้สารฆ่าแมลง-การใช้ตัวห้ำสลับกับการใช้เชื้อแบคทีเรีย-การใช้ระดับเศรษฐกิจเป็นเครื่องกำหนดการฉีดพ่นสารฆ่าแมลง หรือเชื้อแบคทีเรีย9. ในกรณีที่มีการระบาดเป็นพื้นที่กว้าง สามารถพ่นสารฆ่าแมลงทางเครื่องบิน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดแรงงาน4 หนอนปลอกเล็กชื่อสามัญ The Case Caterpillarชื่อวิทยาศาสตร์ Cremastopsyche pendula Joannisชื่อวงศ์ Psychidgeชื่ออันดับ Lepidopteraลักษณะการทำลายหนอนปลอกเล็กจะแทะผิว ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบเป็นรูและขาดแหว่ง ถ้ารุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงรูปร่างลักษณะและชีวประวัติไข่ สีครีม รูปทรงกลมอยู่เป็นกลุ่ม วางไข่ในซากดักแด้ของตัวเมียเอง และอยู่ภายในปลอกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ขนาดของไข่ 0.45 x 0.65 มม. อายุไข่นับตั้งแต่ ตัวเต็มวัยถูกผสมและวางไข่อยู่ภายในรังดักแด้หนอนปลอกเล็ก คือ ศัตรูปาล์มน้ำมันชนิดนึง หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีลำตัวสีน้ำตาลไหม้ หัวสีดำ ขนาดความยาวประมาณ 0.8-1 มม. เวลาหนอนเคลื่อนไหวจะยกส่วนท้องขึ้นและแทะผิวใบผสมกับใยที่ออกมาจากปาก สร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงปลอกมีสีน้ำตาล ผิวเรียบ ขนาดปลอกมีความยาวตั้งแต่ 1.1-1.2 มม. ลักษณะปลอกมีรูเปิด 2 ทางเช่นเดียวกับหนอนปลอกใหญ่ส่วนหัวของตัวหนอนจะโผล่ออกมาทางช่องเปิดส่วนฐานปลอก ปลายปลอกเรียวแหลมมีรูเปิดไว้เพื่อให้หนอนขับถ่ายมูลออกมา หนอนวัยที่ 3 ส่วนหัวและลำตัวมีสีน้ำตาล หนอนจะสร้างปลอกหุ้มใหญ่ขึ้น และเริ่มนำเศษชิ้นส่วนของใบพืชแห้งชิ้นเล็ก ๆ ปะติดกับปลอกหุ้มด้วย ทำให้ผิวปลอกเริ่มขรุขระ หนอนวัย 1 – 4 กินอาหารแบบแทะผิวใบ หนอนวัยที่ 5 – 6 จะกัดกินทั้งใบ เมื่อหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะสร้างปลอกหุ้มตัวเองมีขนาดยาวตั้งแต่ 6.8 – 10.0 มม. ช่องเปิดฐานปลอกมักพบคราบกะโหลกขนาดต่าง ๆ ติดอยู่5 หนอนทรายหนอนทราย คืออะไร : หนอนทรายเป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง ตระกูล เมโลลอนติดี้ ลำตัวอ้วนป้อม มีกรามใหญ่ แข็งแรง เคลื่อนที่ได้ด้วยการยืดและหดของลำตัว ส่วนท้องมีขนและหนาม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่ใช้แยกชนิดของหนอนทราย  ปัจจุบันหนอนทรายกำลังสร้างปัญหาปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับเกษตรการชาวสวนปาล์มน้ำมัน เนื่องจากเจ้าหนอนทรายหรือหนอนกราก ได้เข้ามากัดกินรากปาล์มน้ำมันที่มีอายุ 1 -4 จนยืนต้นตายนับพันไร่หนอนทราย กับ การระบาดในประเทศไทย : ในช่วงประมาณปี 2552 พบหนอนทรายระบาดกัดกินรากต้นปาล์ม ทำให้ยืนต้นตาย จังหวัดพังงา เสียหายกว่าพันไร่ ซึ่งเมื่อขุดใต้โคนต้นปาล์มน้ำมันขึ้นมาก็พบหนอนทราย จำนวนมากกัดกินรากต้นปาล์มน้ำมัน เมื่อขุดต้นอื่นดูก็พบมีหนอนทรายแทบทุกต้น ซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรอย่างมาก โดยมักพบในปาล์มน้ำมันที่มีอายุตั้งแต่ 1-4 ปี หนอนทรายหรือหนอนกรากได้กัดกินตั้งแต่โคนต้นจนถึงราก ทำให้ปาล์มนับพันไร่ จำนวนกว่า 400-500 ต้น ทยอยยืนต้นตาย ซึ่งทางเจ้าของสวนได้ทดลองใช้วิธีขุดโคนต้นเพื่อใส่ยากำจัดหนอน แต่ก็ไม่ได้ผล ซึ่งพบว่าปาล์มน้ำมันแต่ละต้นจะมีหนอนทรายหรือหนอนกราก 5-12 ตัวชอนไชกัดกินรากต้นปาล์มจนยืนต้นตายการป้องกันกำจัดหนอนทราย : 1. ดักจับตัวเต็มวัยช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ด้วยกับดักแสงไฟหรือตาข่ายในช่วงพลบค่ำ จะช่วยลดปริมาณแมลงได้เป็นอย่างดี2. ปลูกตะไคร้ ซึ่งเป็นพืชที่หนอนชอบ เพื่อล่อให้หนอนออกมา แล้วจับทำลาย3. ใช้สารเคมี ราดรอบโคนต้นปาล์ม แล้วกลบดิน  ดังนี้– คาร์โบซัลแฟน(Carbosulfan) 20%EC อัตรา 140-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบๆ โคนต้นที่ถูกหนอนทรายทำลาย และต้นข้างเคียงต้นละ 1-2 ลิตร– ฟิโปรนิล(Pipronil) 5%SC อัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบๆ โคนต้นที่ถูกหนอนทรายทำลาย และต้นข้างเคียงต้นละ 1-2 ลิตร4. ใช้สารเคมี ราดรอบโคนต้นปาล์ม– พอสซ์ 80 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ 2 ลิตรต่อต้น หรือฟูราดานอัตรา 30-100 กรัม ต่อต้นขึ้นอยู่กับขนาดของต้นปาล์มด้วง1 ด้วงแรดชื่ออื่น –ชื่อสามัญ : Coconut Rhinoceros Beetleชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryctes rhinoceros L.,Oryctes gnu Mohnerชื่อวงศ์ : Scarabaeodae ชื่ออันดับ : Coleoptera ความสำคัญ ด้วงแรด ศัตรูปาล์มน้ำมัน ประเภทแมลง ที่สำคัญของ มะพร้าวและปาล์มน้ำมัน มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก ชื่อ Oryctes rhionoceros L.พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด อีกชนิดหนึ่ง คือ ด้วงแรดชนิดใหญ่ ชื่อ Oryctes gnu Mohner มักพบไม่บ่อยนัก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ ในปาล์มน้ำมันเริ่มมีความสำคัญมากเพราะเริ่มมีการโค่นล้มต้นปาล์มอายุมากและปลูกทดแทนใหม่ ทำให้มีแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดมากขึ้น ประชากรของด้วงแรดจึงเพิ่มมากขึ้น และเข้าทำลายต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ ตั้งแต่ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กจนถึงต้นปาล์มน้ำมันให้ผลผลิต สำหรับต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็ก โอกาสทำให้ต้นผิดปกติและตายมีมากที่สุด ปกติด้วงแรดไม่สามารถเกิดการระบาดได้เลย เหตุที่เกิดการระบาด อาจกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่เกิดจากความละเลยของมนุษย์ที่ปล่อยให้มีแหล่งขยายพันธุ์จำนวนมาก ทำให้ด้วงแรดเพิ่มปริมาณมากจนเข้าทำลายพืชให้ได้รับความเสียหาย สาเหตุที่เกิดเองตามธรรมชาติน้อยมาก การเกิดวาตภัย เช่น พายุไต้ฝุ่นเกย์ ทำให้ต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมันล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงเป็นแหล่งขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ของด้วงแรดในเวลาต่อมา ลักษณะการทำลายตัวเต็มวัยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมาก ๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุดแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดแหล่งขยายพันธุ์ได้แก่ ซากเน่าเปื่อยของลำต้นหรือตอของต้นปาล์มน้ำมัน และมะพร้าว ซากพืชที่เน่าเปื่อยเช่น ซากทะลายปาล์ม กองมูลสัตว์เก่า กองปุ๋ยคอก กองขุยมะพร้าว กองกากเมล็ดกาแฟ กองขยะ เป็นต้น แหล่งขยายพันธุ์เหล่านี้เป็นสถานที่ผสมพันธุ์ วางไข่ และแหล่งอาหารของหนอนวัยต่าง ๆ จนเข้าดักแด้และเป็นตัวเต็มวัยรูปร่างลักษณะและชีวประวัติรูปร่างลักษณะด้วงแรดชนิดเล็กและด้วงแรดชนิดใหญ่มีรูปร่างลักษณะและชีวประวัติคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียงขนาดของลำตัว และขอบของแผ่น ปกคลุมด้านหลังของส่วนอกซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันเล็ก ๆ ด้วงแรดชนิดใหญ่มี 3 ซี่ ด้วงแรดชนิดเล็กมี 2 ซี่ไข่มีลักษณะกลมรี สีขาวนวล มองเห็นได้ชัดขนาดกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. เมื่อใกล้ฟักไข่จะมีสีน้ำตาลอ่อน ไข่ถูกวางลงลึกไปประมาณ 5-15 ซม. ในแหล่งขยายพันธุ์ที่ผุพังหนอนระยะดักแด้ เมื่อฟักออกมาจากไข่ใหม่ ๆ มีลำตัวสีขาว ขนาด 2 x 7.5 มม. หัวกะโหลกสีน้ำตาลอ่อน กว้างประมาณ 2 – 2.5 มม. มีขาจริง 3 คู่ ด้านข้างลำตัวมีรูหายใจจำนวน 9 คู่ เมื่อหนอนกินอาหารแล้วผนังลำตัวจะมีลักษณะโปร่งใส มองเห็นภายในสีดำ เมื่อหนอนลอกคราบครั้งที่ 1 หัวกะโหลกจะมีสีขาวนวล กว้างประมาณ 4.5 มม. ต่อมาหัวกะโหลกมีสีน้ำตาลแดง ขนาดลำตัวประมาณ 4.5 x 2.5 มม. ลักษณะลำตัวหนอนเหมือนเดิม เมื่อหนอนเจริญเติบโตขึ้นจะลอกคราบครั้งที่ 2 ทำให้เห็นหัวกะโหลกกว้างประมาณ 10 มม. ขนาดลำตัวประมาณ 11 x 50 มม. ลำตัวสีขาวเข้ม เห็นรูหายใจข้างลำตัวสีน้ำตาลเด่นชัด มีขนสีน้ำตาลขึ้นอยู่ทั่วลำตัวเด่นชัดเช่นกัน หนอนเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 60 – 90 มม. ดักแด้เมื่อหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะหยุดกินอาหารและสร้างรังเป็นโพรง หนอนจะ หดตัวอยู่ภายในเป็นเวลา 5 – 8 วัน จึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นดักแด้ แบบ exarate มีน้ำตาลแดง ขนาดประมาณ 22 x 50 มม. สามารถแยกเพศได้ โดยดักแด้เพศผู้เห็นส่วนที่เป็นระยางค์คล้ายเขายื่นยาวชัดเจนกว่าของเพศเมีย"ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งสีดำ เป็นมันวาว ใต้ท้องสีน้ำตาลแดง มีขนาดกว้าง 20 – 23 มม. ยาว 30 – 52 มม. สามารถแยกเพศได้โดยตัวเต็มวัยเพศผู้มีเขาลักษณะคล้ายเขาแรด อยู่บนส่วน หัวยาวโค้งไปทางด้านหลังขณะที่เขาของตัวเต็มวัยเพศเมียสั้นกว่า และบริเวณท้องปล้องสุดท้ายของเพศเมียสีขนสีน้ำตาลแดงขึ้นหนาแน่นกว่าของเพศผู้ชีวประวัติระยะไข่ 10 – 12 วันระยะหนอน 80 – 150 วันระยะดักแด้ 23 – 28 วันระยะตัวเต็มวัย 90 – 180 วันหนอนมีการลอกคราบ 2 ครั้ง 3 วัยวงจรชีวิตตั้งแต่ไข่จนถึงดักแด้ออกเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 4 – 9 เดือนโดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน ดังนั้น ใน 1 ปี ด้วงแรดจึงมี 2 รุ่น (generation)การผสมพันธุ์และปริมาณการวางไข่ด้วงแรดมีอายุยืนยาวหลายเดือน จึงมีการผสมพันธุ์หลายครั้งตลอดอายุขัย จากรายงานพบว่าด้วงแรดเพศเมียรับการผสมพันธุ์สูงสุดถึง 8 ครั้ง แต่ยังพบว่าด้วงแรดเพศเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์ครั้งเดียว สามารถวางไข่ที่สมบูรณ์ได้นานถึง 130 วันด้วงแรดชอบวางไข่ในแหล่งขยายพันธุ์ที่มีความชื้นพอเหมาะที่อุณหภูมิระหว่าง 20 – 30 0C ด้วงแรดเพศเมียจะรับการผสมพันธุ์และวางไข่ เมื่อออกจากดักแด้แล้วประมาณ 40 – 50 วัน วางไข่ครั้งละประมาณ 10 – 30 ฟอง วางไข่ได้สูงสุดประมาณ 152 ฟองพฤติกรรมต่าง ๆ ของด้วงแรดหนอนวัยต่าง ๆ ดักแด้ และไข่ ชอบซุกซ่อนตัวเอง จึงพบอยู่ในแหล่งที่ไม่มีแสงสว่าง แต่ตัวเต็มวัยของด้วงแรดเท่านั้นที่ทำลายพืชสด มักพบในแหล่งที่เป็นอาหาร เช่น ภายในรูที่เจาะกินยอดปาล์มน้ำมัน อาจพบมากกว่า 1 ตัว นอกจากนี้ยังพบในแหล่งขยายพันธุ์อีกด้วย ด้วงบินออกหากินในเวลาพลบค่ำและเวลาก่อนตะวันขึ้น มักพบด้วงแรดมาเล่นไฟนีออนหลังฝนตก ในเวลากลางคืนด้วงแรดมักบินไปมาในระยะทางสั้นๆ ระหว่างแหล่งที่เป็นอาหาร และที่เป็นแหล่งขยายพันธุ์เท่านั้น ด้วงแรดสามารถบินได้นาน 2 – 3 ชั่วโมง และเป็นระยะทางไกล 2 – 4 กิโลเมตรดักแด้มักพบในแหล่งขยายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าพบในซากท่อนมะพร้าว ปาล์มน้ำมันที่ผุพัง หนอนวัยสุดท้ายจะสร้างเป็นโพรงรูปไข่เพื่อเข้าดักแด้ แต่ถ้าอยู่ในกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กากกาแฟ กองขี้เลื่อย กองขยะ กองเศษพืชที่เน่าเปื่อย หนอนวัยสุดท้ายจะสร้างรัง (cocoon) ด้วย วัสดุเหล่านั้นเป็นก้อนรูปไข่ขนาดใหญ่ และหนอนเข้าดักแด้อยู่ภายใน ยังพบหนอนเข้าดักแด้ในดินอีกด้วย มีรายงานว่าพบดักแด้ลงใต้ดินลึกถึง 150 ซม และมักพบตัวเต็มวัยที่ออกจากดักแด้ จะอาศัยอยู่ในรังดักแด้อีกประมาณ 11 – 20 วัน จึงจะออกมาหากินต่อไปหนอนลักษณะหนอนของด้วงแรดสามารถสังเกตได้อย่างหนึ่ง คือหนอนจะงอตัวเสมอเป็นอักษรซี บางครั้งเห็นส่วนหัวกับส่วนท้ายลำตัวเกือบชนกัน หนอนถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมอาจมีอายุยืนยาวถึง 420 วันพืชอาหารสกุลปาล์มน้ำมันทุกชนิด เช่นมะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ปาล์มประดับการแพร่กระจายและฤดูกาลระบาดด้วงแรดเกิดแพร่กระจายทั่วประเทศและตลอดปี สำหรับปริมาณจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งขยายพันธุ์ศัตรูธรรมชาติพบโรคที่สามารถทำลายด้วงแรด ดังนี้1. เชื้อราเขียว ชื่อ Metarrhizium anisopliae (Metsch) Sorokin สามารถทำลายหนอน ด้วงแรด โดยมีสีขาวจับเป็นก้อนอยู่ภายนอกตัวหนอน ต่อไปจะเกิดโคนีเดียสีเขียวทำให้เห็นหนอนมีสีเขียวและตายในที่สุดเชื้อรานี้อาจทำลายดักแด้และตัวเต็มวัยได้ด้วย"2. เชื้อไวรัส ชื่อ Rhabdionvirus oryctes Huger หรือเรียกว่า Baculovirus ทำลายตัว เต็มวัย หนอน ดักแด้ หนอนที่เป็นโรคไวรัสตาย สังเกตเห็นส่วนของก้น (rectum) จะพองโตยื่นออกมา"การป้องกันกำจัดด้วงแรดพบโรคที่สามารถทำลายด้วงแรด ดังนี้1. โดยวิธีเขตกรรม คือการกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ลงทุนน้อย สะดวกในการทำเพราะอยู่บนพื้นดิน สามารถกำจัดไข่หนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ไม่ให้เพิ่มปริมาณได้ โดยยึดหลักว่าไม่ควรปล่อยให้แหล่งขยายพันธุ์เหล่านี้ทิ้งไว้นานเกิน 3 เดือน โดยปฏิบัติดังนี้  ■ เผาหรือฝังซากลำต้นหรือตอของปาล์มน้ำมันหรือมะพร้าว  ■ เกลี่ยกองซากพืช กองมูลสัตว์ให้กระจายออกโดยมีความสูงไม่เกิน 15 ซม.  ■ ถ้ามีความจำเป็นต้องกองนานเกินกว่า 2 – 3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกองเพื่อตรวจหาไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัยเพื่อกำจัดเสีย2. โดยวิธีกล หมั่นทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวหรือปาล์ม ตามโคนทางใบ หากพบรอยแผลเป็นรูใช้เหล็กแหลมแทงหาด้วงแรดเพื่อกำจัดเสีย พร้อมใส่สารฆ่าแมลงป้องกันด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่3. ใช้ฮอร์โมนเพศ เป็นกับดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย ขณะนี้สามารถสังเคราะห์และผลิตเป็นรูปการค้า มีชื่อว่า chrislure มาจากสารเคมีชื่อ ethyl dihydrochrysanthemumate และชื่อ rhinolure มาจากสารเคมีชื่อ ethyl chrysanthemumate4. โดยใช้สารฆ่าแมลง carbofuran (Furadan 3 % G) อัตรา 200 กรัมต่อต้น ใส่รอบยอดอ่อน และซอกโคนทางใบถัดออกมา หรือสาร chlorpyrifos (Lorsban 40 % EC) อัตรา 80 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบยอดอ่อน และโคนทางใบถัดมา ต้นละประมาณ 1 ลิตรเดือนละ 1 ครั้ง หรือใช้สาร carbaryl (Sevin 85 % WP) ผสมขี้เลื่อยในอัตรา สารฆ่าแมลง 1 ส่วนต่อขี้เลื่อย 33 ส่วน ใส่รอบยอดอ่อน ซอกโคนทางใบเดือนละ 1 ครั้ง หรือใช้สารไล่ naphthalene ball (ลูกเหม็น) อัตรา 6 – 8 ลูก ต่อต้นโดยใส่ไว้ที่ซอกโคนทางใบ5. โดยชีววิธี ในธรรมชาติจะมีเชื้อราเขียวและเชื้อไวรัสช่วยทำลายหนอนด้วงแรด จึงมีการพัฒนานำมาใช้ในการป้องกันกำจัด เช่น ใช้เชื้อราเขียว อัตรา 200 – 400 กรัมต่อกับดักขนาด 2 x 2 x 0.5 เมตร กับดักประกอบด้วย ซากเน่าเปื่อยของพืช ขี้วัว ขุยมะพร้าว กากกาแฟ และขี้เลื่อย เป็นต้น ผสมคลุกกันเพื่อให้ด้วงแรดมาวางไข่และขยายพันธุ์ จนถูกเชื้อราเขียวเข้าทำลายหนอน ดักแด้โดยจะมีลำตัวสีเขียวคล้ำและตายในที่สุดแนวทางการบริหารด้วงแรดทำลายปาล์มน้ำมัน การกำจัดที่ดีที่สุด คือ การกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เช่น ซากทะลายปาล์มน้ำมัน ที่เหลือจากการสกัดน้ำมันแล้วจะต้องกองทิ้งไว้ไม่เกิน 3 เดือน ควรเกลี่ยให้กระจายให้หนาประมาณ 15 ซม. ควรกำจัดซากต้นปาล์มที่ล้มตายในสวนให้หมด ถ้าพบ ไข่ หนอน ดักแด้ ของด้วงแรดควรจับมาทำลายการใช้ราเขียวในการกำจัดหนอนด้วงแรดในแหล่งขยายพันธุ์ ทำได้โดยทำกับดักกองปุ๋ยขนาด 2 x 2 x 0.5 เมตร เมื่อกองปุ๋ยเริ่มเปื่อยใส่เชื้อราเขียว 200 – 400 กรัม ต่อกับดักคลุกให้ทั่ว สามารถลดจำนวนด้วงแรดในสวนลงได้บ้าง แหล่งขยายพันธุ์-กองซากทะลายปาล์มน้ำมัน-ลำต้นปาล์มล้มตาย-กองขุยมะพร้าว-กองกากกาแฟ-กองมูลสัตว์-ต้นมะพร้าวยืนตาย2 ด้วงกุหลาบชื่ออื่นๆ –ชื่อสามัญ : Rose Beetleชื่อวิทยาศาสตร์ : Adoretus compressus Weberชื่อวงศ์ : Rutelidaeชื่อลำดับ : Coleopteraศัตรูปาล์มน้ำมัน “ด้วงกุหลาบ” ความสำคัญและลักษณะการทำลายด้วงกุหลาบ จะกัดกินทำลายใบปาล์มน้ำมันเล็กในแปลงปลูก โดยเฉพาะในที่ดินบุกเบิกใหม่ จะกัดใบในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันขนาดเล็กใบโกร๋นหมด และชะงักการเจริญเติบโตรูปร่างลักษณะและชีวประวัติด้วงวางไข่ในดินเป็นฟองเดี่ยวๆ ไข่ที่ออกใหม่ๆ มีลักษณะกลมรี เปลือกเรียบสีขาวขุ่นมีขนาดกว้าง 0.8 มม. ยาว 1.3 มม. ต่อมาประมาณ 3-5 วัน ไข่จะกลมขึ้นและเป็นสีเหลือง ระยะไข่ขึ้นกับอุณหภูมิของอากาศ ที่อุณหภูมิ 25 0C ระยะไข่เฉลี่ย 6.5 วันส่วนที่อุณหภูมิ 22 0C ระยะไข่เฉลี่ย 8.9 วัน และจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มภายใน 1-2 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอน-ตัวหนอนอาศัยอยู่ในดิน ไม่ปรากฏว่าทำความเสียหายให้แก่ต้นพืช ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาวและตัวโค้งงอหัวสีน้ำตาลอ่อนมีเขี้ยวเห็นได้เด่นชัด หนอนที่โตเต็มที่หัวกะโหลกกว้าง 3 มม. และลำตัวยาว 13 – 20 มม. ลำตัวสีขาวมีขนสั้นๆ กระจายทั่วไป ตามลำตัวมีรอยพับย่น ซึ่งจะเป็นปล้อง มีขา 3 คู่ ที่ส่วนอกมีรูหายใจตามข้างลำตัว ข้างละ 8 รูปลายท้องใหญ่ทำให้เคลื่อนไหวไปมาไม่สะดวก หนอนจะมุดดินอยู่ลึกลงไป 3 – 6 นิ้ว และทำเป็นโพรงรอบๆ ตัวเพื่อเป็นที่อาศัย หนอนมีการลอกคราบ 3 ครั้ง-ดักแด้ตัวหนอนจะหยุดกินอาหารไม่เคลื่อนที่ และหดตัวเล็กลงก่อนเข้าดักแด้ ลักษณะของดักแด้เป็นแบบ exarate pupaสีเหลืองอ่อน มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ที่ปลายท้องที่ขนสีน้ำตาลแดง 2 กระจุก ขนาดของดักแด้ 5.6 x 11.3 มม.-ตัวเต็มวัยเป็นด้วงปีกแข็งลำตัวป้อมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลอ่อน ตาสีดำ มีขนสั้นละเอียดปกคลุมทั่วตัว เพศผู้มีขนาด 4.8×10.3 มม. เพศเมียมีขนาด 5.6×11.2 มม. เพศเมียจะวางไข่เดี่ยว ๆ ในเวลากลางวัน วางไข่ประมาณ 3 – 12 ครั้ง เฉลี่ย 6 ครั้ง ๆ ละ 2 – 5 ฟอง ช่วงการวางไข่ 6 – 20 วัน จำนวนไข่ 10 – 70 ฟอง หรือโดยเฉลี่ย 30 ฟองชีวประวัติระยะไข่ 5 – 11 วันระยะหนอน 52 – 95 วันระยะดักแด้ 11 – 14 วันระยะตัวเต็มวัยเพศผู้ 7 – 26 วันเพศเมีย 12 – 57 วันหนอนมีการลอกคราบ 3 ครั้งการแพร่กระจายและฤดูกาลระบาดพบด้วงกุหลาบมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พบในที่ดินมีการบุกเบิกใหม่ เพื่อทำการปลูกปาล์มน้ำมันและเกิดกับปาล์มน้ำมันในระยะแรกปลูกเท่านั้นการป้องกันกำจัดใช้สารฆ่าแมลงประเภท carbaryI (Sevin 85% WP) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 – 10 วัน ในตอนเย็นทั้งใบและบริเวณโคนต้นด้วงงวงมะพร้าวด้วงงวงมะพร้าว จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหารโดย ด้วงงวงมะพร้าว มีลักษณะทางชีววิทยาที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงวัยหลักๆดังนี้1. ไข่ ไข่ดวงงวงมะพร้าว จะมีลักษณะสีขาว รูปร่างยาวรี วางไข่เดี่ยวๆ โดยด้วงงวงเพศเมียจะใช้งวงเจาะเข้าไปในรอยแผลที่ด้วงแรดเข้าทำลายให้เป็นรูก่อนแล้วจึงใช้อวัยวะสำหรับวางไข่สอดเข้าไปวางไข่ในรูดังกล่าว ไข่มีความกว้างประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ยาว 2 มิลลิเมตรไข่บางฟองจะมีช่องอากาศ สามารถ มองเห็นเป็นลักษณะใสๆ อยู่ที่ปลายอีกข้างหนึ่ง2. หนอน ระยะที่ด้วงงวงมะพร้าวเป็นหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะมีลักษณะสีขาวหัวสีน้ำตาลแดง ไม่มีขา ลำตัวย่นเป็นปล้องๆ ความกว้างประมาณ 0.9 เซนติเมตร หนอนจะเจริญเติบโต และลอกคราบ >10-11 ครั้ง หนอนที่โตเต็มที่มีความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร3. ดักแด้ ระยะดักแด้ เป็นช่วงที่หนอนเตรียมตัวจะเข้าดักแด้จะสร้างรังโดยใช้เส้นใยจากอาหารที่มันกิน เช่น ถ้าเป็นหนอนที่เลี้ยงด้วยเปลือกมะพร้าวอ่อน หนอนจะใช้ใยของเปลือกมะพร้าวสร้างรัง ถ้าหนอนเกิดอยู่ภายในต้นมะพร้าวก็จะใช้เส้นใยจากต้นมะพร้าวสร้างรังดักแด้ ลักษณะรังดักแด้เป็นรูปยาวรี เส้นใยที่ใช้สร้างรังหนาแน่นมากจนมองไม่เห็นตัวหนอน หนอนในรังที่เตรียมเข้าดักแด้จะไม่กินอาหารประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจึงเปลี่ยนรูปเป็นดักแด้สีขาวนวล ลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย4. ตัวเต็มวัย  เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยใหม่ๆ จะยังไม่เจาะออกมาจากรังที่หุ้มตัวอยู่ และจะอยู่ในรังดักแด้ประมาณ 2-5 วัน จึงกัดรังออกมาภายนอก ลักษณะของด้วงงวงเล็ก สีของลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ ส่วนหัวมีงวงยาวเรียวยื่นออกมาปลายงวง ซึ่งเป็นส่วนปากที่มีขนาดเล็กมาก บนส่วนหลังของอกสีน้ำตาลแดงอาจมีจุดหรือลายลักษณะต่างๆ ด้วงงวงเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะของปลายงวงแตกต่างกันคือ งวงของเพศผู้มีขนสั้นๆ ขึ้นหนาแน่นตามแนวยาวของงวง ขนาดของงวงสั้นกว่าของตัวเมีย งวงของเพศเมียจะมีขนาดยาวกว่า และไม่มีขนบริเวณปลายงวง ด้วงงวงเพศเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้สูงสุด 527 ฟอง ในเวลา 112 วัน ใน 1 วันสามารถวางไข่ได้สูงสุด 30 ฟอง การฟักของไข่ประมาณ 80 %วิธีป้องกัน1. ป้องกันการระบาดของด้วงแรดมะพร้าว โดยใช้สารฆ่าแมลงคาโบซัลแฟน (carbofuran) (Furadan 3% G) อัตรา 200 กรัมต่อต้น ใส่รอบยอดอ่อน และซอกโคนทางใบถัดออกมา หรือฉีดพ่นสารคลอไพริฟอส (chlorpyrifos) (Lorsban 40% EC) อัตรา 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรอบยอดอ่อน และโคนทางใบถัดมา ต้นละประมาณ 1 ลิตร เดือนละ 1 ครั้ง2. ใช้นำมันเครื่องยนต์ที่ใช้แล้วหรือชัน ผสมกับน้ำมันยาง ทาบริเวณโคนต้นหรือลำต้นเพื่อป้องกันไม่ให้ด้วงมาวางไข่อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

อยากปลูกปาล์ม..โดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ทำได้หรือไม่?

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ผลิตน้ำมันหรือไขมัน ซึ่งเป็นสารที่ใช้พลังงานสูงในการสร้าง ฉะนั้นจึงพบว่าปาล์มน้ำมันต้องการปัจจัยการผลิต เช่น น้ำและปุ๋ยในปริมาณที่มาก เพื่อนำไปสร้างทั้งในส่วนของการเติบโตทางต้นและส่วนของผลผลิตทะลายปาล์มการปลูกปาล์มโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สามารถทำได้ แต่ต้องหาปุ๋ยอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูงมากมาใส่ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามความต้องการของต้นปาล์ม และต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่สูงกว่าปุ๋ยเคมี การปลูกปาล์มโดยใช้เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว และใส่ในปริมาณที่น้อย จึงไม่สามารถเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมันให้สูง ได้ตามศักยภาพของปาล์มน้ำมัน ยกตัวอย่างเช่น ปาล์มน้ำมันที่ระดับผลผลิตทะลายสด เท่ากับ 3.5 ตัน/ไร่/ปี จะต้องการธาตุโพแทสเซียม (K) ที่ได้จากปุ๋ยสูตร 0-0-60 (มีความเข้มข้นของโพแทสเซียมอยู่ 60%) เท่ากับ 3.3 กก./ต้น/ปี หากไม่ต้องการใส่ปุ๋ยเคมี แต่ต้องการใส่ปุ๋ยอินทรีย์แทน เช่น ขี้ไก่ พบว่าจะต้องใส่ปุ๋ยขี้ไก่ (มีความเข้มข้นของโพแทสเซียมอยู่ 1.4%) ให้กับต้นปาล์มน้ำมัน ประมาณ 141 กก./ต้น/ปี ซึ่งจะเพิ่มความยุ่งยากในการจัดการของเกษตรเข้าไปอีก และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้องควรหว่านรอบโคนต้นหรือบริเวณกองทางใบ การนำกระสอบใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ขี้ไก่ ขี้วัวฯ ไปวางตั้งไว้ในสวน จะไม่สามารถช่วยปรับสภาพดินได้ ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน คือการใส่ปุ๋ยเคมี ให้ครบชนิดและปริมาณที่เพียงพอสำหรับต้นปาล์มน้ำมัน  และร่วมกับการใส่อินทรียวัตถุ เช่น การวางกองทางใบ การใช้ทะลายเปล่าคลุมโคนต้น ก็จะช่วยปรับสภาพของดินในสวนปาล์มได้ และหากไม่เป็นภาระในการเพิ่มต้นทุนก็สามารถใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปได้อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

เมล็ดปาล์มงอกใต้ต้นเก็บไปปลูกต่อได้หรือไม่?

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชผสมข้าม คือ มีดอกเพศผู้และเพศเมียแยกช่อกัน ในหนึ่งต้นจะดอกได้ทั้ง 2 แบบ บางครั้งอาจมีดอกแบบผสมรวมอยู่ด้วย (มีทั้งเพศผู้และเมียในช่อดอกเดียวกัน) การผสมพันธุ์ของปาล์มน้ำมันตามธรรมชาติจึงเป็นการผสมแบบคละกันไปหมด โดยลมหรือแมลงจะนำละอองเกสรจากดอกเพศผู้ไปผสมกับดอกเพศเมียของอีกต้นหนึ่ง ทำให้ลูกที่ได้ เมล็ดที่หล่นใต้ต้น หรือ เมล็ดปาล์มงอกใต้ต้น ไม่มีคุณภาพ เพราะละอองเกสรคละปะปนกัน หมายความว่าในหนึ่งทะลายเกิดจากแม่ต้นเดียวกัน แต่ไม่ทราบว่าละอองเกสรของพ่อพันธุ์มาจากต้นไหนบ้าง ทำเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไม่มีคุณภาพ การเก็บเมล็ดปาล์มงอกใต้ต้น หรือ ต้นปาล์มที่งอกใต้ต้น หรือ ปาล์มใต้โคน ที่ดกๆ ไปปลูก จึงอาจได้ลูกที่เป็นได้ทั้งต้นที่ดีและไม่ดีคละปะปนผสมกันไป เช่น เก็บเมล็ดปาล์มที่งอกใต้ต้นปาล์มที่ดกไป 100 เมล็ด พอนำไปปลูกในสวนจะได้ต้นปาล์ม 3 แบบ ดังนี้1. ต้นที่เหมือนพ่อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหมัน ทำให้ทะลายฝ่อ ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เกิดขึ้นประมาณ 25 ต้น2. ต้นที่เหมือนแม่ มีลักษณะกะลาหนา น้ำมันน้อย เกิดขึ้นประมาณ 25 ต้น3. ต้นลูกผสม จะมีลักษณะเหมือนพ่อและแม่อย่างละครึ่ง ซึ่งอาจจะให้ผลผลิตดีหรือไม่ก็ได้เพราะไม่ได้ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ เกิดขึ้นประมาณ 50 ต้นหมายความว่าผลผลิตที่ได้จากกการเก็บ เมล็ดปาล์มงอกใต้ต้น ไปปลูก จะลดลง ในช่วง 25-50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงเป็นข้อสรุปได้ว่า การเก็บเมล็ดปาล์มงอกใต้ต้นไปปลูก เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง เนื่องจากได้พันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพไปปลูก ทำให้เสียเวลา เสียโอกาส และเสียเงินที่ลงทุนไปอ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

ดินเป็นกรด แก้ไขอย่างไร

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจ “ดิน” ก่อน  ดิน คือ วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพและทางเคมีของดินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่ห่องหุ้มโลก ดินทำให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำตันของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคงแข็งแรง เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นแหล่งที่กักเก็บน้ำ ความชื้น และเป็นแหล่งที่ให้อากาศในดินที่รากพืชใช้ในการหายใจ  เบื้องต้น "ดิน" ถูกแบ่งตามอนุภาคของดินเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ  ดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย ความเป็นกรด-ด่างของดิน คืออะไร กรด หมายถึง สารประกอบที่มีไฮโดรเจนประกอบอยู่เมื่อละลายน้ำก็จะแตกตัวให้ไฮโดรเจนไออน (H+) (กรดในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำอัดลม) ด่าง หมายถึง สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไลด์ ซึ่งละลายน้ำจะแตกตัว ให้ไฮดรอกไซด์ไออน (OH-) เสมอ มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่ (ด่างในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำขี้เถ้า น้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพู ผงฟู ผงซักฟอก) ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว หรือดินเปรี้ยวจัด หรือ acid soil หมายถึง ดินที่มีระดับ pH ต่ำกว่า 7 มีวิธีการแก้ไขดินกรดโดยเติมปูนขาว หินปูนบด หรือ ใส่น้ำท่วมขังบริเวณที่เป็นกรด ดินด่าง หมายถึง ดินที่มีระดับ pH สูงกว่า 7 มีวิธีการแก้ไขดินด่างโดยเติมอินทรีย์วัตถุหรือปลูกพืชบำรุงดิน ระดับความรุนแรงกรด-ด่างของดิน   การวัดความเป็นกรด-ด่างของดิน วิธีที่นิยมมี 2 วิธีคือ วัดด้วยเครื่องวัดทีเรียกว่า pH Meter หลักการ คือ เปรียบเทียบค่าความต่างศักย์ระหว่าง glass electrode กับ reference electrode ค่าความต่างศักย์ที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นหน่วย pH การวัดด้วยน้ำยาเปลี่ยนสี (Indicator) น้ำยาเปลี่ยนสีจะเปลี่ยนสีไปตาม pH ของดินที่เปลี่ยนไป เช่น ชุดตรวจวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่างของดิน ของภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หน่วยงานที่ให้บริการวัดค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน แบบมีค่าใช้จ่าย : ฝ่ายเทคโนโลยีการเกษตร (ฝทก.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โทร. 02-577-9280 ถึง 1) ดินที่เป็นกรดจัด มีผลเสียอย่างไร ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว จัดอยู่ในประเภทดินที่มีปัญหาทางด้านการเกษตร คือ เป็นดินที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก คือดินที่มีกรดกำมะถันมากพอที่จะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติในดิน และส่งผลต่อพืชในบริเวณนั้น พืชจึงไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้ ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว จึงมีผลเสียต่อพืชดังนี้ ธาตุบางอย่างจะละลายน้ำในดิน (ที่มีสภาพเป็นกรด) ได้ดีขึ้น ทำให้พืชดูดธาตุนี้เข้าไปในราก-ต้น จนทำให้เกิดเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะอลูมิเนียม จะทำให้รากพืชถูกทำลาย/ไม่เจริญเติบโต และแมงกานีส ใบมีจุดสีเหลือง-น้ำตาล ในขณะเดียวกัน ทำให้ธาตุอาหารบางอย่างละลายน้ำในดินได้น้อยลงหรือถูกชะล้างไป เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แมกนีเซียม  จุลินทรีย์ดินที่ชอบ/ทนสภาพความเป็นกรดจะเพิ่มจำนวน จุลินทรีย์ที่ไม่ทนกรดจะลดจำนวน-ตาย (ไรโซเบียมที่ตรึงไนโตรเจน โดยเกิดเป็นปมที่รากของพืชตระกูลถั่ว)  ดินเป็นกรด แก้ไขอย่างไร ควรใช้หลายมาตรการประกอบกัน คือ ใช้โดโลไมท์ เพื่อลดความเป็นกรดในดิน เป็นวิธีการที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรง และถูกปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ระบายน้ำที่มีความเป็นกรดสูงออกจากแปลง แล้วขังน้ำใหม่ ที่มีสภาพความเป็นกรดน้อยกว่าแทน ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด เมื่อล้างดินกรดให้คลายลงแล้วดินจะมีค่า pH เพิ่มขึ้นอีกทั้งสารละลายเหล็กและอลูมินั่ม ที่เป็นพิษเจือจางลงจนทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะถ้าหากใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสเฟตก็สามารถให้ผลผลิตได้ อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

โดโลไมท์ คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? และการใส่โดโลไมท์ในสวนปาล์ม มีวิธีการอย่างไร?

โดโลไมท์คืออะไร โดโลไมท์ (dolomite) เป็นปูนชนิดหนึ่งที่มีส่วนประกอบของธาตุแคลเซียม (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) โดโลไมท์ มีลักษณะทางเคมีเป็นด่าง จึงใช้ในการปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้มีความเป็นด่างเพิ่มขึ้น สูตรทางเคมีคือ CaMg(CO3)2 (แคลเซียมแมกนีเซียมคาร์บอเนต) โดยปกติโดโลไมท์จะมีสัดส่วนของ CaCO3 ต่อ MgCO3 ประมาณ 1:1โดโลไมท์ มีประโยชน์อย่างไร1. โดโลไมท์ช่วยปรับค่ากรด-ด่างของดิน ในดินที่มีสภาพเป็นกรด คือ ค่ากรด-ด่าง (pH) น้อยกว่า 5.0 จะส่งผลให้ธาตุอาหารที่อยู่ในดินหรือจากการใส่ปุ๋ย ละลายออกมาได้ไม่ดี ทำให้รากพืชดูดไปใช้ได้น้อย หรือมีความเป็นประโยชน์ต่ำ พบว่าถ้าค่าพีเอชของดินเท่ากับ 5.0 ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของต้นพืชจะเหลือเพียง 46 เปอร์เซ็นต์2. โดโลไมท์ให้ธาตุอาหารรองแก่พืช โดโลไมท์มีส่วนผสมแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารรองที่ต้นปาล์มน้ำมันต้องการอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการใส่ปุ๋ยคีเซอร์ไรด์ (kieserite) ซึ่งจะมีธาตุแมกนีเซียมและกัมมะถัน (sulfur) เป็นส่วนประกอบการใส่ปูนโดโลไมท์จึงได้ประโยชน์มากกว่า เพราะถึงแม้ว่ากัมมะถันจะเป็นธาตุอาหารรองที่ต้นปาล์มน้ำมันต้องการ แต่ต้นปาล์มไม่ได้แสดงอาการขาดธาตุกัมมะถันที่ชัดเจน และการใส่แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ก็จะได้ธาตุกัมมะถันมาด้วยอยู่แล้ว3. โดโลไมท์ปลดปล่อยช้า และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหาร โดโลไมท์ผลิตมาจากหินภูเขาที่นำมาบดให้ละเอียด การปลดปล่อยจึงขึ้นอยู่กับระดับความละเอียดของผงปูนที่บดได้ สำหรับสวนปาล์มน้ำมันนั้นแนะนำให้ใช้ที่ระดับความละอียด 80-120 เม็ช (mesh) การนำโดโลไมท์มาใส่ต้นปาล์มซึ่งเป็นไม้ยืนต้น จึงมีข้อดีคือ แมกนีเซียมและแคลเซียมจะค่อยๆ ละลายออกมา ทำให้ช่วยลดการสูญเสีย และการใส่ปุ๋ยบนกองทางใบปาล์มที่มีความชื้นและปริมาณของรากฝอยที่มากกว่าบริเวณอื่นในสวน ก็จะยิ่งช่วยทำให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยเพิ่มมากขึ้นโดโลไมท์กับความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจราคาต่อหน่วยของปูนโดไลไมท์ถูกกว่าปุ๋ยคีเซอร์ไรด์ อย่างไรก็ตามการใช้ปูนโดโลไมท์ ควรมีการตรวจวัดค่าพีเอชของดินก่อนว่าดินมีความเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งจะช่วยให้การใช้ปูนโดโลไมท์มีเหมาะสมมากขึ้นแถบภาคใต้ส่วนใหญ่มีฝนตกชุกมากกว่าจังหวัดอื่นของไทย ซึ่งฝนที่ตกมากทำให้ดินเป็นกรดและมีการชะล้างผิวดินสูง จึงแนะนำให้ใส่ปูนโดโลไมท์อย่างต่อเนื่องทุกปี หากบริเวณที่ดินมีความเป็นด่างอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปูนโดโลไมท์เพื่อปรับค่ากรด-ด่างของดิน ให้ใส่อินทรียวัตถุ และใช้ปูนหินฟอสเฟตเพื่อเป็นแหล่งของแคลเซียม และใส่กีเซอร์ไรท์เพื่อเป็นแหล่งของแมกนีเซียมแทนอ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

ไตรโคเดอร์มา เชื้อรามหัศจรรย์

ไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum)  เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืชซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญเติบโตได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด จะสร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่า "โคนิเดีย" หรือ "สปอร์" จำนวนมาก รวมเป็นกลุ่มกันหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลากหลายชนิด โดยวิธีการเบียดเบียนหรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการประโยชน์ของไตรโคเดอร์มาไตรโคเดอร์มา ถือเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราชั้นสูงคือสามารถสร้างสปอร์ขยายพันธุ์แบบใช้เพศได้    ในประเทศไทยมีการคัดเลือกเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ดี เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตปฏิชีวนสารทางการเกษตรอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมาอย่างยาวนาน เชื้อราไตรโคเดอร์มาจึงเป็นสารมหัศจรรย์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืช จึงพอรวบรวมประโยชน์ได้ดังนี้ ลดปริมาณเชื้อโรคพืช แข่งขันและกำจัดเชื้อโรคพืช ช่วยให้พืชแข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยเพิ่มการเติบโตของพืชและเพิ่มผลผลิต รักษาโรคพืช เช่น รากและโคนเน่า ผลเน่า ใบจุด ใบไหม้ ใบเหี่ยว ราดำ ใช้ได้หลากหลายพืชพันธุ์ เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ลองกอง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พริก มะละกอ พืชผัก ข้าว ไม้ดอก-ไม้ใบ เป็นต้น ช่วยป้องกันและควบคุมเชื้อโรคพืชได้หลายชนิด เช่น โรครากและโคนเน่า ผลเน่า ใบจุด ใบไหม้ ใบเหี่ยว ราดำฯ ไตรโคเดอร์มากับพืชต่างๆไตรโคเดอร์มา ใช้ได้ผลกับพืชหลากหลายชนิดและมีประสิทธิภาพกับพืชต่างๆ ได้แก่  ไม้ผล : ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ลองกอง เป็นต้น ไม้ยืนต้น : ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ฯลฯ พืชสวน-พืชไร่ : พริก มะละกอ มะเขือเทศ มะนาว พืชผักต่างๆ รวมทั้งใช้ได้ดีในนาข้าว ไม้ดอก-ไม้ประดับ รวมทั้งไม้ใบต่างๆ อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

“โรคลำต้นเน่า” ในปาล์มน้ำมัน…ป้องกัน และกำจัดอย่างไร?

โรคลำต้นเน่าในปาล์มน้ำมัน…เกิดจาก การเข้าทำลายของเชื้อรา กาโนเดอร์มา (Ganoderma boninense) เชื้อราชนิดนี้กระจายอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเริ่มแพร่กระจายมายังประเทศไทย โดยการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา ถือว่ามีความรุนแรง เพราะต้นพืชที่ติดเชื้อแล้วจะตาย และไม่มีทางรักษา โดยพืชที่เป็นแหล่งอาศัย ได้แก่ พืชสกุลถ่อน หมากสง สนทะเล พืชสกุลค้อ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และพืชสกุลปาล์ม เป็นต้นอาการของโรคในปาล์มน้ำมันที่มีอาการมากแล้ว อาการของต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค ใบด้านล่างจะเหลือง ใบยอดมีจุดสีเหลือง ใบไม่คลี่ ยอดอ่อนพับตัวลงและเริ่มเน่า ต่อมาต้นจะโตช้า รากบริเวณโคนต้น จะเริ่มแห้งและเน่า และสุดท้ายมีดอกเห็ดกาโนเดอร์มา (ลักษณะคล้ายเห็ดหลินจือ) งอกออกมาจากโคนต้น โดยหลังจากแสดงอาการแล้ว ปาล์มเล็กจะตายภายใน 6-12 เดือน และ ปาล์มใหญ่จะยืนต้นตายภายใน 2 – 3 ปี โดยหากมีการติดเชื้อกระจายไปมากกว่า 20% ของพื้นที่ ถือว่าไม่มีความคุ้มค่าต่อการทำสวนปาล์มน้ำมัน ข้อสันนิษฐานการเกิดโรคดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว หมายถึง ดินที่มีระดับ pH ต่ำกว่า 7• การปลูกทดแทนพืช ในพื้นที่เดิม โดยไม่กำจัดตอเก่าออกให้หมด เช่น ล้มยางปลูกปาล์มน้ำมัน ล้มมะพร้าวปลูกปาล์มน้ำมัน ล้มปาล์มน้ำมันปลูกไม้ผล เป็นต้น• ต้นพืชอ่อนแอ ได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ• สภาพของดินไม่เหมาะสม เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป• อินทรียวัตถุในดินมีน้อย ทำให้ดูดซับธาตุอาหารไว้ได้น้อย ระบบรากจึงเติบโตได้ไม่ดีเมื่อพบการระบาดการเผาทำลายต้นปาล์มที่เป็นโรคให้หมด1. เผาทำลายต้นปาล์มที่เป็นโรคให้หมด และอย่าเคลื่อนย้ายต้นปาล์มที่เป็นโรค2. ฆ่าเชื้อบนผิวดินบริเวณต้นที่เป็นโรค ด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์3. เพิ่มอินทรียวัตถุในสวน เช่น การใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การวางกองทาง หรือการปลูกพืชคลุมดิน4. ฉีดหรือรด เชื้อราไตรโคเดอร์มารอบโคนต้นปาล์มน้ำมัน5. ปรับสภาพดิน ให้มีค่าพีเอช (กรด-ด่าง) ที่เหมาะสม ซึ่งควรอยู่ในช่วง 5.0 ถึง 5.5วิธีป้องกัน "โรคลำต้นเน่า" ในปาล์มน้ำมันก่อนปลูกปาล์มน้ำมันการเตรียมพื้นที่ก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน1. กำจัดตอเก่าของต้นปาล์มเดิมทิ้ง โดยการขุดหลุมขนาด 1.5 x 1.5 เมตร ความลึก 60 เซนติเมตร ไถพรวน แล้วคราดเอาเศษรากปาล์มเก่าออกให้หมด2. สับต้นปาล์มเก่าให้เป็นชิ้นย่อยๆ วางไว้เป็นแถว ห่างจากต้นที่จะปลูกใหม่อย่างน้อย 2 เมตร3. ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อเร่งการย่อยสลายของเศษซากต้นปาล์มเก่า และช่วยในการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในการควบคุมโรคลำต้นเน่าเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) ถือเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ประสิทธิภาพสูง สามารถเข้าไปทำลายเชื้อราด้วยกันได้ดีกว่าการใช้สารเคมี การขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาเกษตรกรสามารถทำได้เอง โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดผง2. อุปกรณ์เตรียมอาหารเลี้ยงเชื้อ ได้แก่ ข้าวสารหรือข้าวหัก, หม้อหุงข้าว, ถุงพลาสติก ขนาด 8 x 12 นิ้ว, หนังยาง, เข็มหมุดและถ้วยตวงวิธีการขยายเชื้อไตรโคเดอร์มาชนิดสด1. ตักข้าวสุก 250 กรัม (โดยประมาณ 2 ทัพพี ) ใส่ในถุงพลาสติกขณะกำลังร้อน2. รีดอากาศออกจากถุงและพับปากถุง วางไว้ ประมาณ 30 นาที ให้ข้าวอุ่น3. เหยาะหัวเชื้อราแบบผงใส่ลงบนข้าวเล็กน้อย รัดปากถุงด้วยหนังยาง เขย่าให้เข้ากัน4. ใช้เข็มแทงรอบๆ บริเวณปากถุง 20-25 ครั้ง5. กระจายข้าวให้ทั่วถุงแล้วนำไปวางในห้องที่มีแสงสว่าง หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง6. เมื่อครบ 2 วัน ให้ขยำข้าวเบาๆ และกระจายข้าวให้ทั่วถุงเช่นเดิม7. บ่มต่ออีก 4-5 วัน จะเห็นเชื้อรามีสปอร์สีเขียว สามารถใช้ได้ทันที หรือเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 1 เดือนวิธีการนำเชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดสดไปใช้1. ใช้ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก) อัตราส่วน 1 : 4 : 100 (เชื้อสด : รำละเอียด : ปุ๋ยหมัก)2. ใช้คลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก3. ผสมเชื้อกับน้ำอัตราส่วน 1 : 20 แล้วนำไปฉีดพ่นหรือรดต้นพืช4. สามารถใช้ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพได้อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

ปลูกพืชคลุมดิน ในสวนปาล์ม..มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

ปลูกพืชคลุมดิน เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่ามีประโยชน์ต่อการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ พืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีประโยชน์มากมาย เช่น ช่วยป้องกันการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน ช่วยรักษาความชื้นในดิน และเมื่อพืชตระกูลถั่วมีการสลายตัวเศษซากต่าง ๆจะกลายเป็นอินทรียวัตถุชั้นดี ที่ช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้กับดินทำให้ดินร่วยซุย ระบายน้ำได้ดี และยังสามารถควบคุมวัชพืชในแปลงได้อีกด้วย ประโยชน์จากการปลูกพืชคลุมดิน 1. เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เมื่อเศษกิ่งใบของพืชคลุมดินนั้นร่วงหล่นทับถมบนผิวดิน ในที่สุดจะผุพังรวมตัวกับดินซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารของต้นไม้ต่อไป นอกจากนี้จะช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์ต่อพืช และเพิ่มจำนวนไส้เดือน และจุลินทรีย์ในดิน 2. ป้องกันการชะล้างของหน้าดิน พืชคลุมดินนั้นจะส่งรากลงไปในดินและยึดเม็ดดินไว้ ทำให้ผิวดินไม่ถูกเซาะได้ง่าย เมื่อมีน้ำไหลแรงหรือฝนตกหนัก การทำสวนบนเนินลาดจึงจำเป็นต้องปลูกพืชคลุมดิน โดยปลูกพืชคลุมดินไว้ตามขั้นบันไดที่ทำไว้จะช่วยยับยั้งความแรงของกระแสน้ำที่ไหลลงได้ จึงเป็นการป้องกันการพังทลายของดิน นอกจากนี้ใบหรือเถาพืชคลุมดินที่เจริญอย่างหนาแน่น จะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดฝนที่มีขนาดโตๆ กระทบผิวดินโดยตรง อันจะเป็นการลดการชะล้างหน้าดินอีกทางหนึ่งด้วย 3. ทำให้โครงสร้างและสภาพของดินดีขึ้น ดินที่มีพืชคลุมดินขึ้นอยู่จะไม่เกาะกันแน่นเหมือนดินที่ไม่มีพืชขึ้นเลย ถ้าเราเลือกพืชคลุมดินที่มีรากชอนไชไปในดินและเป็นพืชที่ให้อินทรียวัตถุมาก จะทำให้ดินบริเวณนั้นร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้สะดวก และอุ้มน้ำได้ดี ก็จะทำให้ดินมีโครงสร้างเหมาะแก่การเจริญเติบโตของไม้ผล อินทรียวัตถุจากพืชคลุมดินจะช่วยทำให้เม็ดดินเหนียวติดกันเป็นก้อนๆ มีขนาดโตกว่าปกติ ทำให้ดินร่วนขึ้น ทั้งนี้เพราะสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้นในอินทรียวัตถุจะมาเคลือบเม็ดดินเหนียวซึ่งมีขนาดเล็กมากให้เป็นก้อนโตขึ้น นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยทำให้เม็ดทรายในดินทรายให้ติดกันแน่น ทำให้เหนียวขึ้นกว่าเดิม เมื่อรวมกับซากพืชเข้าแล้ว ดินทรายก็จะอุ้มน้ำได้ดีขึ้น 4. ช่วยเก็บความชื้นให้กับดิน การปล่อยให้พืชคลุมดินคลุมตามผิวดิน โดยเฉพาะพืชคลุมดินที่ปลูกในดินที่พรวนแล้วอย่างดี หลังจากฝนตกใหญ่ครั้งสุดท้ายจะช่วยให้ดินเก็บน้ำได้ดีขึ้นและช่วยลดการระเหยของน้ำ เพราะพืชคลุมดินจะช่วยบังแสงแดดไม่ให้โดนผิวดินโดยตรง นอกจากนี้อินทรียวัตถุที่หล่นปกคลุมผิวดินจะเป็นวัตถุคลุมดินที่ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำเป็นอย่างดี พืชคลุมดินจะช่วยดูดเอาน้ำที่จะไหลผ่านลงไปสู่ดินชั้นล่างไว้ แทนที่จะปล่อยให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงทำให้ผิวดินชื้นอยู่เสมอ 5. ช่วยกำจัดวัชพืช พืชคลุมดินส่วนมากจะมีใบเป็นจำนวนมากและหล่นทับถมบนผิวดินจนแสงสว่างส่องไม่ถึงผิวดิน เมื่อเป็นเช่นนี้วัชพืชก็ไม่มีโอกาสงอกได้ แม้แต่วัชพืชที่ตั้งตัวได้แล้ว เช่น หญ้าคา ถ้าเราปลูกพืชคลุม เช่น ถั่วลายขึ้นคลุมดินจะทำให้หญ้าคาตายได้ เพราะถูกบังแสงแดด จนมีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ วิธีการปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว สามารถปลูกได้โดยใช้เมล็ด ซึ่งมีวิธีปลูกอยู่ 2 วิธี คือ 1. ปลูกพืชคลุมดินพร้อมปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งหลังจากปลูกปาล์มแล้ว ให้ปลูกพืชคลุมตามทันที โดยหว่านหรือหยอดเมล็ดในระหว่างแถวปาล์ม 5 แถว แต่ละแถวห่างกัน 1 เมตร ขนานไปกับแถวปาล์ม และ ห่างจากโคนต้นปาล์มประมาณ 2 เมตร ทำร่องลึกประมาณ 1.2 นิ้ว โรยเมล็ดในร่องให้กระจายอย่างสม่ำเสมอแล้วกลบ 2. ปลูกพืชคลุมดินก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน โดยปลูกหลังวางแนวปลูกปาล์มและควรทำในต้นฤดูฝน ให้แนวปลูกพืชคลุมเหมือนวิธีแรก เมื่อพืชคลุมปกคลุมพื้นที่ได้ 50-60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2-3 เดือนหลังปลูกพืชคลุม จึงเอาต้นปาล์มลงปลูก และ ก่อนปลูกควรถางพืชคลุมบริเวณหลุมให้เป็นวงกว้างประมาณ 1-2 เมตร พืชตระกูลถั่ว ที่แนะนำให้ปลูกในสวนปาล์มน้ำมัน มี 4 ชนิด ได้แก่ 1. คาโลโปโกเนียม คาโลโปโกเนียม พืชตระกูลถั่วที่ใบมีขนาดปานกลางเจริญเติบโตได้เเร็ว คลุมดินได้ภายใน 3-4 เดือน จะออกดอกและเก็บเมล็ดได้เมื่อมีอายุ 6-7 เดือนขึ้นไป จนกระทั่งอายุ ประมาณ 18 เดือน ต้นก็จะโทรมตาย เป็นพืชที่ไม่ชอบร่มเงา เมื่อปลูกร่วมกับพืชคลุมดินชนิดอื่น จะมีปริมาณมากในปีแรกแต่หลัง จากน้ันจะถูกทดแทนด้วยพืชคลุมดินชนิดอื่น 2. เซนโตซีมา หรือ ถั่วลาย เซนโตซีมา หรือ ถั่วลาย  ใบมีลักษณะเรียวเล็ก ชอบเลื้อยพันขึ้นต้นไม้ จะออกดอกและเก็บเมล็ดได้เมื่อมี อายุ 7 เดือนขึ้นไป ทนต่อความแห้งแล้ง ดังนั้นจึงจะช่วยเสริมปริมาณพืชคลุมดินในช่วงหน้าแล้งได้ เถาเหนียว เปื่อยช้า จะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 3-4 ปี 3. เพอราเรีย เพอราเรีย พืชคลุมดินตระกูลถั่วซึ่งใบมีขนาดใหญ่หนา เถาใหญ่และเป็นขน จึงควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าถั่วสองชนิดแรก  มีการเจริญเติบโตช้า อายุเกือบปีจึงจะคลุมดินได้ และจะสามารถคลุมดินได้ประมาณ 3-4 ปี แต่ถ้ามีร่มเงามาก ต้นก็จะโทรมตายไป เถาและใบเปราะ  เน่าเปื่อยเร็ว 4. ซีรูเลียม หรือ นิวดาโลโป ซีรูเลียม หรือ นิวตาโลโป เป็นถั่วคลุมดินที่ให้ปริมาณไนโตรเจนกลับคืนสู่ดินได้มาก ทนต่อความแห้งแล้งและร่มเงาได้ดี มีอายุ อยู่ได้นานถึง 10 ปี ในพื้นที่ที่มีการปลูกซีรูเลียมร่วมกับพืชคลุมดินชนิดอื่น ซีรูเลียมจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในปีที่ 4 ในขณะที่พืชคลุมดินชนิดอื่นจะตายไป เพราะมีร่มเงามากขึ้น แต่เนื่องจากซีรูเลียมที่ปลูกทางภาคใต้ของไทยให้ผลผลิตเมล็ดน้อยหรือแทบไม่ให้เมล็ดเลย จึงมีปัญหาเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้ปลูกจะมีราคาแพงข้อควรระวังในการปลูกพืชคลุมดิน คือ ต้องไม่ให้เถาของพืชคลุมมาพันต้นปาล์ม และ ควรมีการป้องกันกำจัดหนูที่มากัดโคนต้นปาล์มอย่างสม่ำเสมอ อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

ใส่เกลือในสวนปาล์มน้ำมัน…ทำให้ปาล์มดก จริงหรือไม่?

เกษตรกรหลายๆ ท่านมีความเชื่อกันว่า ถ้าใส่เกลือให้กับต้นปาล์มจะทำให้ทะลายปาล์มดก วันนี้ซีพีไอจะพามาไขข้อข้องใจกันว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่?เกลือหรือโซเดียม (Na) ไม่ถือว่าเป็นธาตุอาหารพืช เพราะพืชไม่มีความต้องการธาตุนี้ซึ่ง ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืชมี 16 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน (C), ไฮโดรเจน(H), ออกซิเจน (O) 3 ธาตุนี้ได้มาจากน้ำและอากาศ ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุ ได้มาจากการใส่ปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K), แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg), กำมะถัน (S), โบรอน (B), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดินัม (Mo), แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe) และคลอรีน (Cl)แล้วเพราะอะไรการใส่เกลือ จึงทำให้พืชโตได้ดีในช่วงแรก? สามารถอธิบายได้ดังนี้ เมื่อใส่ปุ๋ยให้กับพืช ปุ๋ยส่วนหนึ่งจะถูกพืชนำไปใช้ อีกส่วนจะถูกยึดอยู่กับดิน แล้วค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาให้กับพืชนำไปใช้  ขึ้นอยู่กับค่ากรด-ด่างของดิน (pH) ค่ากรด-ด่างของดินที่เหมาะสมในการปลูกพืชควรอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 6.5 ดินเค็ม, ดินกรด ตัวอย่างสภาพพื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ซึ่งจะมีปัญหาในการปลูกพืช และเมื่อมีการใส่เกลือลงไปในดิน เกลือจะไล่ปุ๋ยที่เกาะอยู่กับดินให้หลุดออกมา และเกลือจะเกาะแน่นกับดินแทน ซึ่งปุ๋ยที่หลุดออกมาจะทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้เมื่อใส่เกลือในช่วงแรกจะเห็นว่าพืชเจริญเติบโตได้ดี เมื่อพืชใช้ปุ๋ยหมด และมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มลงไปในดิน ปุ๋ยจะไม่สามารถไปเกาะกับดินได้ เนื่องจากเกลือแทนที่หมดแล้ว ทำให้ปุ๋ยที่ใส่ถูกชะล้างไปได้ง่าย พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ สุดท้ายจึงทำให้พืชขาดธาตุอาหารและผลผลิตลดลง การใส่เกลือลงไปในดิน จะทำให้ดินเค็ม ซึ่งดินเค็มจะส่งผลทำให้พืชเติบโตได้ไม่ดี เช่น ใบไหม้ ลำต้นแคระแกรน เพราะดินที่เค็มจะทำให้พืชขาดน้ำ ดินเค็มจะวัดค่าการนำไฟฟ้า (EC) ได้มากกว่า 4 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ขึ้นไป อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

มาวางแผนใส่ปุ๋ยประจำปีกันเถอะ

ทำสวนปาล์ม ควรรู้จักการวางแผนงานดูแลสวนประจำปี ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักสำคัญในการจัดการสวน เพราะจะช่วยทำให้เรามองเห็นภาพกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นทั้งปี รวมทั้งมีส่วนช่วนลดต้นทุนต่างๆ ได้ด้วย เช่น การใส่ปุ๋ย เพราะการสั่งซื้อปุ๋ยในแต่ละช่วงราคาไม่เท่ากันและการสั่งซื้อเป็นจำนวนมากจะทำให้ได้รับส่วนลดมากกว่าการใส่แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยผสม ถ้ามีการใส่ให้ครบชนิดของธาตุอาหารและถูกต้องตามปริมาณที่ต้นปาล์มน้ำมันต้องการ จากข้อมูลการวิจัยพบว่าส่งผลให้ต้นปาล์มน้ำมันมีผลผลิตไม่แตกต่างกัน  การใส่แม่ปุ๋ยและปุ๋ยสูตรผสม จะตอบโจทย์ความต้องการของชาวสวนปาล์มต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีปัญหาเรื่องจำนวนแรงงานและค่าแรงในการใส่ปุ๋ย มักจะเลือกใช้แม่ปุ๋ยเพราะราคาถูก ในกรณีที่เจ้าของสวนต้องการประหยัดเวลา จำนวนแรงงาน และค่าแรงงาน มักเลือกใช้ปุ๋ยผสม เพราะจำนวนครั้งที่ใส่ต่อปีน้อยกว่าแม่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยผสมหนึ่งครั้งมีธาตุอาหารครบทุกชนิด จึงทำให้เกิดความแม่นยำสูงกว่า ทำให้โอกาสที่ต้นปาล์มจะได้รับธาตุอาหารครบทุกต้นมีสูงตามไปด้วยซึ่งจะส่งผลให้ได้ผลผลิตที่สม่ำเสมอขึ้น ซึ่งข้อดีตรงจุดนี้จะไปชดเชยในส่วนต่างของราคาปุ๋ยผสมที่สูงกว่า ในหนึ่งกระสอบของปุ๋ยสูตรผสมจะมีธาตุอาหาร 3-9 ชนิด ในขณะที่แม่ปุ๋ยหนึ่งกระสอบ มีธาตุอาหารเพียง 1-2 ชนิดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรชาวสวนปาล์ม สามารถเลือกใช้เป็นปุ๋ยหรือปุ๋ยสูตรผสมก็ได้ แต่ขอเพียงแค่ใส่ให้ถูกต้อง คือ ต้องครบชนิดของธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับต้นปาล์ม จำนวน 13 ชนิด ได้แก่ ธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กัมมะถัน (S) และธาตุอาหารเสริม (trace element, TE) ได้แก่ โบรอน (B) สังกะสี (Zn) และทองแดง (Cu) ส่วนธาตุโมลิบดินัม (Mn) แมงกานีส (Mn) เหล็ก (Fe) และคลอรีน (Cl) ถือว่ามีอยู่จำนวนหนึ่งในดินและได้เพิ่มจากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสด และต้องใส่ให้ครบตามปริมาณความต้องการธาตุอาหารดังกล่าวด้วย การวางแผนการใส่ปุ๋ยมีหลักการคือ ปุ๋ยที่ละลายช้า ซึ่งจะทำมาจากการนำหินไปบดให้ละเอียด เช่น ปูนโดโลไมท์ (dolomite) และปูนหินฟอสเฟต (0-3-0) ให้ใส่ในช่วงแล้งต้นปี คือ ช่วงเดือน มกราคม-เมษายน เมื่อฝนเริ่มตกลงมาบ้าง ดินเริ่มมีความชื้น ให้เริ่มใส่ปุ๋ยที่ละลายได้เร็ว เช่น แม่ปุ๋ย 21-0-0 แม่ปุ๋ย 0-0-60 หรือ ปุ๋ยสูตรผสม 15-5-25+TE เป็นต้น สำหรับการใส่แม่ปุ๋ยควรแบ่งใส่อย่างน้อย 2 ช่วงต่อปี คือ ครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.) และครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค.) ครั้งละประมาณ 2 กก./สูตร ส่วนการใส่ปุ๋ยสูตรผสม ให้แบ่งใส่ครั้งละ 2-3 กก./ต้น ปีละ 2-3 ครั้ง อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

เหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนู

หนู จัดเป็นศัตรูสวนปาล์มที่สำคัญสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มอย่างมาก นอกจากการเลี้ยงนกแสกเพื่อกำจัดหนูแล้ว แต่ปัจจุบันนี้มีวิธีกำจัดหนูอีกวิธีที่ได้ผล คือ การใช้เหยื่อโปรโตซัวสำเร็จรูปในการกำจัดหนู ซึ่งเหยื่อโปรโตซัวนี้สามารถกำจัดได้เฉพาะกลุ่ม หนูพุก และหนูท้องขาวเหยื่อโปรโตซัวกำจัดหนูแนวความคิดการใช้ปรสิตหรือเชื้อโรคในการกำจัดหนูเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีนั้น มีมานานพอสมควร โดยวิธีดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นการทำให้หนูป่วยและตาย เพื่อลดจำนวนหนู นอกจากนี้ยังมีการใช้ปรสิตหรือเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ที่มีผลต่อการขยายพันธุ์ของหนูด้วยเช่นกัน เชื้อโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ค้นพบโดยศาสตราจารย์ Zamen และ Colley เมื่อปี 2518 และเริ่มวิจัยพัฒนามาเป็นโปรโตซัวที่ใช้สำหรับการเป็นเหยื่อกำจัดหนูเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อปี 2536 เป็นต้นมา สำหรับงานวิจัยในประเทศไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง กรมวิชาการเกษตร และสำนักความร่วมมือทางวิชาการเกษตรของเยอรมัน หรือ GTZ ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาศักยภาพของโปรโตซัวชนิดดังกล่าว ในการกำจัดหนู โปรโตซัวชนิดนี้เป็นสัตว์เซลเดียวที่มีวงจรชีวิตระหว่างหนูกับงูเหลือมเท่านั้น ซึ่งคณะผู้วิจัยทำการขยายพันธุ์โปรโตซัวดังกล่าวแบบไม่มีเพศบริเวณเซลล์บุผิวภายในหลอดเลือดของหนู และให้เจริญเติบโตในหนู ซึ่งพัฒนาเป็นซีสต์อยู่ในกล้ามเนื้อลำตัวหนู เมื่องูเหลือมกินหนูติดเชื้อเข้าไป โปรโตซัวดังกล่าวจะเข้าไปขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศบริเวณผนังเซลล์ของลำไส้งูเหลือม และผลิตสปอร์โรซีสต์ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการเจริญเติบโต ดังนั้นเมื่องูถ่ายมูลออกมาก็จะมีซีสต์ดังกล่าวปะปนออกมาด้วย จากนั้นนำโปรโตซัวในระยะสุดท้ายของการเจริญเติบโตที่ได้จากมูลงูไปทำเป็นเหยื่อสำเร็จรูปเพื่อใช้กำจัดหนู หากหนูกินเหยื่อดังกล่าวเข้าไป ประมาณ 10-15 วัน จะแสดงอาการป่วยและตายเนื่องจากน้ำท่วมปอดทำให้ระบบการหายใจล้มเหลว หรือไตวายได้ ทั้งนี้ โดยปกติโปรโตซัวชนิดนี้พบการแพร่ระบาดทั่วไปในหนู และงูเหลือมแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปริมาณที่พบในธรรมชาติน้อยมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของมัน หนูเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณเอาตัวรอดสูง มีความขี้ระแวงระวังภัยตลอดเวลา การกำจัดจำเป็นต้องใช้ที่สิ่งหนูรู้สึกคุ้ยเคย การศึกษาเราพบว่า ในธรรมชาติของตัวหนูเองมีโปรโตซัวอยู่ชนิดหนึ่ง เป็นโปรโตซัวที่มีพิษ แต่เนื่องจากมีปริมาณไม่มาก จึงไม่อันตรายต่อตัวหนู ที่สำคัญความเป็นพิษของโปรโตซัวชนิดนี้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เราจึงสนใจที่จะนำจุลินทรีย์ชนิดนี้มาทำเป็นสารชีวภาพกำจัดหนู  และด้วยจุลินทรีย์ชนิดนี้ไม่ได้มีเฉพาะในหนูเท่านั้น ยังมีอยู่ในงูทุกสายพันธุ์…จุดเริ่มต้นการหาสารกำจัดหนู จึงต้องศึกษาว่า งูและหนูชนิดไหนมีเชื้อโปรโตซัวชนิดนี้มากที่สุด พบว่า มูลงูเหลือมมีมากที่สุด แต่จะให้มีฤทธิ์ มีปริมาณมากพอจะกำจัดหนูได้ ต้องนำไปเพาะขยายจำนวนเชื้อให้มีปริมาณความเข้มข้นมากขึ้น คุณดาราพร รินทะรักษ์ นักปศุสัตว์ชำนาญการ กรมวิชาการเกษตร จึงนำเอามูลงูเหลือมไปหยอดให้หนูขาวพันธุ์วีสตร้า (เป็นพันธุ์ที่ใช้เพาะเชื้อโปรโตซัวได้ดีที่สุด) กินติดต่อกันทุกวันนาน 4-6 เดือน แต่กระนั้นเชื้อที่ได้ก็ยังมีปริมาณไม่เข้มข้นมากพอที่จะทำให้หนูตายได้…เลยต้องนำหนูวีสตร้าไปเลี้ยงเป็นอาหาร ให้งูเหลือมกินอีกที เพื่อเพาะขยายเชื้อให้มากขึ้นอีก ด้วยธรรมชาติของงูเหลือม เมื่อได้กินอาหารอิ่มเต็มที่ จะนอนนิ่งๆ อยู่นาน 7-10 วัน รอให้อาหารย่อยและถ่ายมูลออกมา…นี่แหละคือ สาระสำคัญที่เฝ้ารอ แต่ต้องเป็นมูลที่ถ่ายออกมาครั้งที่ 2-4 ต่อรอบการกิน ถึงจะมีเชื้อโปรโตซัวมากที่สุด สามารถนำมาใช้เป็นสารชีวภาพกำจัดหนูได้ หากใช้มูลงูล้วนๆ หนูจะไม่สนใจกินอย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงต้องใช้ส่วนผสมอย่างอื่นมาเป็นตัวล่อ แป้งข้าวเจ้า ข้าวโพด วิตามินกันหืน แต่งกลิ่นด้วยน้ำมันมะพร้าว ปั้นเป็นก้อนขนาด 1.20 กรัม เสร็จแล้วนำโปรโตซัวในมูลงูเหลือมมาใส่เป็นไส้ใน เพียงแค่นี้ก็พร้อมสำหรับเป็นเหยื่อกำจัดหนู หลังจากหนูกินเข้าไปโปรโตซัวจะทำให้หนูตายภายใน 5-10 วัน และเมื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานในสวนปาล์มภาคใต้ นาข้าว จ.ลพบุรี และฟาร์มเลี้ยงไก่ จ.สิงห์บุรี ในอัตรา 20–25 ก้อน/ไร่ เพียงแค่ 7 วัน การระบาดของหนูลดลงและหายไป และไม่เพียงจะใช้กำจัดหนูในสวนเกษตรเท่านั้น ยังสามารถนำมาใช้กำจัดหนูในบ้านได้ด้วย ผลที่ได้จากการทดลองใช้เหยื่อโปรโตซัวการผลิตสปอร์โรซีสต์ชนิดนี้ให้ได้จำนวนมากนั้น ต้องมีการเลี้ยงงูเหลือมและหนูติดเชื้อภายในโรงเรือน จากการศึกษาของคณะวิจัยพบว่า งูเหลือมขนาดลำตัวยาวประมาณ 2.5 เมตร สามารถผลิตสปอร์โรซีสต์ได้ไม่ต่ำกว่า 1,400 ล้านซีสต์ ซึ่งจำนวนดังกล่าวสามารถกำจัดหนูได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ตัว หรือใช้ปราบหนูในนาข้าวได้ประมาณ 300 ไร่ นับว่าเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ข้อดีของเหยื่อโปรโตซัวที่สำคัญ คือ มีความเฉพาะเจาะจงต่อหนูพุกและหนูท้องขาว ปลอดภัยต่อสัตว์ที่กินหนูเป็นอาหาร และปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยง รวมทั้งปลอดภัยต่อมนุษย์ หนูไม่เข็ดขยาดต่อเหยื่อ เนื่องจากหนูจะตายเมื่อรับเชื้อไปแล้วประมาณ 10-15 วันดังกล่าวข้างต้น และไม่เกิดพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมอ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

โบรอน คืออะไร? มีความสำคัญต่อปาล์มน้ำมันอย่างไร?

โบรอน (boron) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ B โบรอนปรากฏมากในแร่บอแรกซ์โบรอนคืออะไร โบรอนในภาษาอารบิก เรียก Buraq หมายถึงสีขาว และภาษาเปอร์เซีย เรียกว่า Burah พบบันทึกว่ามีการนำโบรอนมาใช้ประโยชน์ ทั้งชาวบาบิโลนชาวอาหรับ และชาวจีน ในจีนนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 300 โดยใช้ประโยชน์เป็นน้ำยาเคลือบเงา จากนั้น ค.ศ. 700 มีการขนส่งโบรอนไปสู่เปอร์เซีย และ Jābir ibn Hayyān นักเคมีชาวเปอร์เซีย ก็ทำให้โบรอนได้เป็นที่รู้จักในแถบนั้น ต่อมา Marco Polo ได้ซื้อน้ำยาเคลือบเงาจากโบรอนนี้กลับไปที่อิตาลี ซึ่งต่อมา ในปี ค.ศ. 1808 Joseph Louis Gay-Lussac และ Louis Jacques Thénard นักเคมีวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้ทำการสกัดโบรอนออกมาจากกรดบอริก โดยทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมหรือโซเดียม เวลาต่อมา Sir Humphry Davy นักเคมีชาวอังกฤษ พยายามแยกธาตุโบรอน โดยวิธี electrolysis แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเขาก็สามารถแยกโบรอนได้โดยการนำกรดบอริกไปทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนในอากาศ และตั้งชื่อสารที่ได้ว่า boracium แต่มีความบริสุทธิ์เพียง 60% จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1909 Ezekiel Weintraub นักเคมีชาวอเมริกัน สามารถผลิตโบรอนที่บริสุทธิ์ได้ถึง 99% ธาตุโบรอน สามารถอยู่ในรูปของสารประกอบได้หลายชนิด เช่น ● Sodium borate pentahydrate (Na2B4O7·5H2O) ใช้ในการผลิตฉนวนกันความร้อนใยแก้ว● กรดบอริค (boric acid, H3BO3) ใช้ในการผลิตสิ่งทอไฟเบอร์กลาส และใช้เป็นฉนวนเซลลูโลสกันไฟ● Sodium borate decahydrate (Na2B4O7·10H2O) หรือบอแรกซ์ ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อที่ไม่รุนแรงโบรอนที่ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืช มีได้หลายรูปแบบ เช่น กรดบอริก, Sodium borate หรือ Sodium calcium borate โบรอนเคลื่อนที่ในพืชผ่านทางท่อน้ำ (xylem) การเคลื่อนย้ายธาตุโบรอนจึงเป็นไปตามอัตราการคายน้ำของใบความสำคัญของโบรอนโบรอนถือเป็นจุลธาตุ ที่มีความจำเป็นสำหรับปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก โบรอนนั้นเกี่ยวกับกับแทบทุกส่วนในต้นปาล์มน้ำมัน เช่น ช่วยในการสร้างท่อละอองเกสร การติดผลผลิต ช่วยให้รากดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างปกติ ช่วยในการแบ่งเซลล์และการพัฒนาของเซลล์ใหม่ การทำงานของราก เป็นต้นอาการขาดธาตุโบรอน1. มีอาการทางใบ ยอดใบของปาล์มน้ำมันไม่ค่อยเจริญเติบโต ใบอ่อนไม่พัฒนา คลี่ออกน้อย หรือคลี่ออก ปลายใบจะแสดงอาการหักเป็นรูปตะขอและย่นหรือหงิกในกรณีที่ขาดโบรอนมากๆ ใบมีรูปร่างจะผิดปกติ ย่นหยิก ใบมีขนาดเล็ก ส่งผลให้ปาล์มน้ำมันขาดประสิทธิภาพในกระบวนการสังเคราะห์แสง จึงมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันและให้ผลผลิตลดลง2. ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง ผลปาล์มผสมติดได้น้อย น้ำหนักทะลายสดและปริมาณน้ำมันต่อทะลายลดลง เนื่องจากโบรอนมีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาและสร้างเซลล์ใหม่ ดังนั้น จึงส่งผลต่อการผสมเกสรและการเจริญยืดตัวของท่อละอองเกสร โดยเฉพาะในช่วงที่ปาล์มน้ำมันกำลังมีการแบ่งเซลล์หรือกำลังเจริญเติบโต หากท่อละอองเกสรขาดโบรอน จะทำให้ท่อเจริญเติบโตผิดปกติ พองปริแตก ไม่ยืดตัว ส่งผลให้มีการสูญเสียน้ำตาลได้3. การดูดซึมธาตุอาหารของรากผิดปกติ รากไม่งอกหรือยืดออกได้น้อย เนื่องจากธาตุโบรอนนั้นเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของ "เซลล์เมมเบรน" บริเวณผิวของรากต้นปาล์มน้ำมัน โดยมีหน้าที่ช่วยการดูดซึมของไอออนธาตุอาหารต่างๆ เป็นไปได้อย่างปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าปาล์มที่ได้รับโบรอนอย่างเพียงพอจะช่วยทำให้การดูดซึมฟอสฟอรัสของรากเพิ่มขึ้นอีกด้วยอัตราการใส่โบรอนในปาล์มน้ำมันต้นปาล์มน้ำมันนั้นต้องการโบรอนชัดเจน จึงควรใส่โบรอนทุกปี โดยเฉพาะเมื่อใบแสดงอาการขาดธาตุดังกล่าว โดยค่ามาตรฐานในการใส่โบรอนแก่ต้นปาล์มน้ำมัน คือ ปริมาณ 50-100 กรัม/ต้น/ปี หรือเพิ่มเป็น 100-200 กรัม/ต้น/ปี ในกรณีที่ต้นปาล์มน้ำมันแสดงอาการขาดโบรอนอย่างรุนแรง (ควรมีการวิเคราะห์ใบเพื่อตรวจสอบปริมาณโบรอนในพืชว่าพอเพียงหรือไม่)วิธีการใส่โบรอนวิธีการใส่โบรอนนั้น ให้ใส่ในรูปของปุ๋ยทางดิน และสามารถใส่ร่วมกับปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันอื่นๆ (ชื่อทางการค้าของปุ๋ยโบรอน ที่มี 15%B เช่น Fertibor, Quibor, Actibor) แนะนำให้มีการสร้างกองทางใบและการสาดโบรอนร่วมกับปุ๋ยบนกองทางใบเพื่อให้อินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายของกองทางใบนั้น ได้ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยตรึงปุ๋ยไม่ให้ถูกน้ำหรือฝนชะล้าง และยังช่วยรักษากิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินเพื่อช่วยย่อยสลายธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่ต้นปาล์มน้ำมันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

การใช้ยาฆ่าหญ้าให้ถูกวิธี

ยาฆ่าหญ้าคืออะไร?ยาฆ่าหญ้า หรือ สารกำจัดวัชพืช (Herbicide หรือ Weedicide) จัดเป็นสารที่ใช้เพื่อควบคุมวัชพืชไม่ให้รบกวนการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกไว้ ประเภทของยาฆ่าหญ้ายาฆ่าหญ้า แบบจำแนกตามช่วงเวลาการใช้ ดังนี้1. สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูกจัดเป็นสารเคมีที่ใช้พ่นก่อนการตรียมดิน เพื่อฆ่าวัชพืชที่ขึ้นอยู่ก่อน แล้วจึงไถเตรียมดิน หรือใช้พ่นฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินแล้วปลูกพืชเลย สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ ได้แก่ ไกลโฟเซท (Glyphosate), พาราควอท หรือที่รู้จักกันดีในนาม กรัมม๊อกโซน (Gramoxone)สรรพคุณ : เป็นยาดูดซึมเพื่อใช้ป้องกันการขึ้นของหญ้าอาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ (Cellular Respiration) ในเซลล์พืชและสัตว์ที่มีชื่อว่าไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)2. สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่ายาคุมหญ้า เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืช และก่อนที่วัชพืชจะงอกในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน 10 วัน เป็นการฉีดพ่นลงไปในผิวดินโดยตรง สารเคมีพวกนี้จะเข้าไปทำลายวัชพืชทางส่วนของเมล็ด ราก และยอดอ่อนใต้ดิน โดยต้องฉีดพ่นในสภาพที่ดินมีความชื้นเหมาะสม สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ บิวทาคลอร์, เพรททิลาคลอร์, อ๊อกซาไดอะซอนสรรพคุณ : ใช้กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้างอาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ :  คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศรีษะ เป็นลม และลมหายใจอ่อน3. สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่า ยาฆ่าหญ้า เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังจากวัชพืชงอกขึ้นมาแล้วในช่วงเวลาเกินกว่า 10 วันขึ้นไป โดยพยายามฉีดพ่นให้สัมผัสส่วนของวัชพืชให้มากที่สุด สารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ กลุ่มยา 2,4-ดีโซเดียมซอลท์ หรือที่รู้กันในชื่อ ยาช้างแดง, ยาโปรปานิล ฟิโนซาพรอบ-พี-เอทิลสรรพคุณ : ใช้ฆ่าหญ้าเพื่อไม่ให้หญ้างอกเร็วเกินไปอาการข้างเคียงหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์ : เมื่อสารเคมีเหล่านี้ สัมผัสถูกบาดแผลจะทำลายชั้นเนื้อเยื่อแบบต่อเนื่องไม่หยุด และมีอาการปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ลมหายใจมีกลิ่น ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ตาพร่ามัว พูดไม่ชัดกล้ามเนื้อกระตุก กั้นปัสสาวะไม่อยู่ ชักหมดสติ และเสียชีวิตในที่สุดเนื่องจากหัวใจและระบบโลหิตล้มเหลว ดังนั้นเกษตรกรจึงควรตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้ยาฆ่ายาทุกชนิดและใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างถูกวิธียาฆ่าหญ้าแบบจำแนกตามลักษณะการทำลาย 1. สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดดูดซึม • กลุ่มไกลโฟเซต  เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชทำลายได้ทั้งชนิดใบกว้างและใบแคบ แต่กำจัดได้ดีที่สุดกับชนิดใบแคบ ใช้กำจัดวัชพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่น หญ้าคา แห้วหมู ไมยราบยักษ์ ใช้ฉีดพ่นทางใบแล้ววัชพืชจะดูดซึมเข้าไปทำลายส่วนต่างๆ อย่างช้าๆ และเห็นผลในสัปดาห์ที่ 3  หากต้องการให้ได้ผลดีต้องฉีดพ่นวัชพืชที่มีใบ 4-8 ใบ หรือต้นที่แก่เต็มที่ หากฉีดพ่นวัชพืชที่มีอายุน้อยมักจะไม่ได้ผล ไกลโฟเสทมีผลตกค้างในดินน้อยมาก เนื่องจากถูกจุลินทรีย์ในดินเป็นตัวย่อยสลาย (ปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ หรือ EPA ออกคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้ยากำจัดวัชพืชชนิดนี้เป็นเวลา 12 ชั่วโมงภายหลังการฉีดพ่น  และในบางประเทศ เช่น โปรตุเกส อิตาลี และนครแวนคูเวอร์ของแคนาดา ได้ออกกฎห้ามใช้สารไกลโฟเซตในพื้นที่สวนสาธารณะต่าง ๆ ขณะที่ทางการศรีลังกาห้ามใช้ไกลโฟเซตเมื่อปี 2015) • กลุ่ม 2,4-ดีโซเดียมซอลท์ เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเลือกทำลาย ใช้ฉีดพ่นทางใบจะเลือกทำลายเฉพาะวัชพืช ใบกว้าง และกก ผักตบชวา ขาเขียด เทียนนา กกขนาก กกทราย หนวดปลาดุก การฉีดพ่นที่ได้ผลดีไม่ควรมีฝนตกนาน 4-6 ชั่วโมง กลุ่ม 2, 4-ดีโซเดียมซอลท์ สลายตัวในดินภายใน 1-4 สัปดาห์ 2. สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเผาไหม้ หรือชนิดสัมผัสตาย • กลุ่มพาราควอต จัดอยู่ในชนิดเผาไหม้หรือสัมผัสตาย เกษตรกรไทยนิยมใช้ในพืชไร่ เป็นยาเผาไหม้ออกฤทธิ์เร็วมาก ทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวและตายได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง โดยไม่มีฤทธิ์ทำลายระบบรากของพืชประธาน ใช้ในไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา  ไม่ว่าจะเป็นพืชใบกว้างหรือใบแคบก็ตาม เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทำลายได้เร็วมาก ดังนั้น ขณะที่ฉีดพ่นควรระวังอย่าให้ละอองสารเคมีไปสัมผัสกับต้นพืชที่ปลูก สารเคมีกำจัดวัชพืชกลุ่มนี้จะสลายตัวได้ 25-50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถูกแสงแดดจ้าภายในเวลา 3 สัปดาห์ นอกจากนี้ เมื่อฉีดพ่นลงดินจะถูกอนุภาคของดินจับสารเคมีพาราควอตได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงไม่สามารถทำลายวัชพืชได้เลย (ปัจจุบันมีการห้ามใช้พาราควอต อย่างน้อย 53 ประเทศทั่วโลกที่ ซึ่งรวมถึงประเทศในสหภาพยุโรป ที่ยกเลิกเมื่อปี 2007) ยาฆ่าหญ้าเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร? การเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง มีการศึกษาพบว่าร้อยละ 90 ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้า จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง การเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ เกษตรกรที่ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้า และผู้คนที่อยู่ใกล้ชิดในขณะฉีดพ่นจะได้รับสารพิษของยา ผ่านเข้าร่างกายโดยการหายใจ การเข้าสู่ร่างกายโดยการกินหรือกลืน เช่น เมื่อรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าไป ยาฆ่าหญ้ากับผลกระทบต่อสุขภาพ 1. พิษที่เกิดแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้าในแบบทันทีทันใด เช่น ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ท้องร่วง เป็นตะคริว หายใจติดขัดมอง ไม่ชัด และอาการรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต 2. ผลกระทบที่รุนแรงเฉพาะส่วน คือ ผลกระทบที่มีผลเพียงบางส่วนต่อร่างกายซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับยาฆ่าหญ้าโดยตรง เช่น ระคายเคืองต่อผิวหนัง เกิดอาการแพ้ ผิวหนังแห้งไหม้ เกิดรอยแดง ระคายเคืองต่อระบบหายใจ มีอาการจามหรือไอ น้ำตาไหล เล็บมือเล็บเท้าเปลี่ยนสีกลายเป็นสีฟ้าและกลายเป็นสีดำ ในรายที่เป็นมากเล็บจะหลุดร่อน 3. พิษที่เกิดแบบเรื้อรัง เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษของยาฆ่าหญ้าเข้าไปแล้ว แต่แสดงผลช้า โดยแสดงอาการในภายหลังได้รับพิษ อาจกินเวลาเป็นเดือนหรือปี จึงแสดงอาการออกมา เช่น เป็นหมัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง พาร์กินสัน เป็นต้น การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับพิษยา นำผู้ที่ได้รับพิษ นอนในร่มให้อยู่ห่างจากแปลงพ่นยา ถอดเสื้อผ้าชุดพ่นยาออก และทำความสะอาดร่างกาย ส่วนที่ถูกยาด้วยสบู่หรือน้ำสะอาด นำผู้ที่ได้รับพิษ ส่งแพทย์โดยด่วน หากหัวใจเต้นอ่อน หรือหยุดเต้น จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจให้ทำงาน ให้ทำการผายปอด หรือเป่าลมเข้าปาก หากได้รับพิษยาทางปาก ทำให้อาเจียนด้วยน้ำเกลือ (เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 1 แก้ว) หรือล้วงคอด้วยนิ้วมือที่สะอาด หากยาเข้าตา ล้างตาด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที บอกชื่อของสารออกฤทธิ์ และให้ความรู้เกี่ยวกับยาปราบศัตรูพืช แก่แพทย์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หรือนำสลากยาติดตัวไปด้วยเมื่อพบแพทย์ อาโทรปินซัลเฟต เป็นยาช่วยแก้พิษของยาประเภทสารประกอบฟอสเฟตและคาบาเมต ส่วนฟิโนบาร์มิตอล แคลเซียมกลูโคเนต และอีฟีเนฟฟรีน เป็นยาแก้พิษจากสารพวกคลอริเนตเตด ไฮโดรคาร์บอน ในกรณีของยาประเภทสารประกอบคลอรีน ห้ามใช้มอร์ฟีน หรือธีโอฟิลลีนหลักการใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างถูกวิธีเมื่อได้ทราบถึงพิษภัยที่อาจเกิดขึ้นหลังจากใช้ยาฆ่าหญ้าแล้ว เกษตรกรจึงควรทำความเข้าใจ และระวังในการใช้ ดังนี้1. เลือกใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างถูกวิธี– เลือกสารกำจัดวัชพืช ให้เหมาะสมกับชนิดของศัตรูพืชนั้นๆ– เลือกสารกำจัดวัชพืช ชนิดที่มีฤทธิ์ตกค้างสั้น และสลายตัวเร็ว– ไม่เลือกซื้อสารกำจัดวัชพืช ที่มีพิษรุนแรง2. ใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้า เท่าทีจำเป็น และใช้เพียงชนิดเดียวในการฉีดพ่นแต่ละครั้ง3. อ่านรายละเอียดบนฉลากอย่างละเอียด และปฎิบัติตามข้อแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด รวมทั้งทำความเข้าใจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นๆ และมั่นหาข้อมูลเพิ่มเติม4. ผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าหญ้า ตามขนาดที่กำหนดไว้บนฉลาก ไม่ผสมเจือจางหรือเข้มข้นเกินไป5. ใช้อุปกรณ์ คนหรือผสม ยาฆ่าหญ้า (ห้ามใช้มือ หรืออวัยวะสัมผัสโดยตรง)6. ผู้ที่ฉีดพ่น หรือผู้เกี่ยวข้องในขณะฉีดพ่น ต้อง สวมหน้ากาก ถุงมือ ชุดป้องกัน หรือเสื้อผ้าหนาๆที่มิดชิด7. ยืนอยู่ในตำแหน่งเหนือลม ขณะที่ฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า8. ฉีดพ่นยากำจัดวัชพืชให้ห่างจาก ต้นปาล์ม ห้ามให้ละอองของยาโดนใบปาล์ม หรือต้นปาล์มโดยตรง9. ห้ามเป่าหรือดูดหัวฉีด ท่อลมที่อุดตันด้วยปาก10. ไม่สูบบุหรี ดื่มน้ำ หรือทานอาหาร ในขณะที่ฉีดพ่นยาฆ่าหญ้า11. ควรใช้ในปริมาณที่พอดี และฉีดพ่นให้หมดในแต่ละครั้ง12. ระมัดระวังการปลิวของน้ำยา อย่าพ่นยา ในขณะที่ลมมีความเร็วมาก (เกินกว่า 5 เมตร/วินาที หรือ 18 กิโลเมตร/ชั่วโมง)13. ห้ามไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปในแหล่งพ่นยา หลังการฉีดยาใหม่ๆ14. เทยาส่วนที่เหลือใช้เก็บเข้าที่ ถ้าทิ้งไว้กลางแดดนานๆ ยาจะสลายตัว ทำให้หมดประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืช15. ชำระร่างกายให้สะอาด ทันทีหลังฉีดพ่นเสร็จ16. หลังการพ่นยาเสร็จแต่ละครั้ง ถอดเสื้อผ้าที่ใช้ออก แล้วซักให้สะอาด17. ไม่ทิ้งยาที่ผสมใช้แล้วไว้ในถังพ่นยา ตัวยาอาจจะกัดโลหะ หรือพลาสติกของถังพ่นยาได้ ตัวทำลายของยาอาจระเหย ส่วนที่เหลือจับตัวกัน ทำให้เหนียว ล้างออกยาก และอาจจะไปอุดตันที่กรองและหัวฉีด18. เมื่อแมลง หรือศัตรูพืช ดื้อยา ควรเปลี่ยนไปใช้สารเคมีชนิดอื่น19. เว้นระยะในการเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังการฉีดพ่น ตามที่ระบุไว้บนฉลากอย่างเคร่งครัด20. เก็บยาฆ่าหญ้า ในที่มิดชิด เก็บให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง เก็บให้ห่างจากที่เก็บอาหารหรือที่ประกอบอาหารการกำจัดภาชนะบรรจุยาฆ่าหญ้า เลือกสถานที่ที่จะขุดหลุมฝังภาชนะบรรจุสารที่ใช้หมดแล้วให้ห่างจาก แหล่งน้ำ และที่พัก อย่างน้อย 50 เมตร ให้เลือกสถานที่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ โดยขุดหลุมให้ลึกลงไปอย่างน้อย 1 เมตร โดยโรยปูนขาวรองก้นหลุม" ทำลายภาชนะบรรจุ โดยการตัดหรือทุบทำลาย ให้อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก ภาชนะบรรจุยาที่ทำด้วยโลหะหรือแก้ว ควรจะล้างให้สะอาดหรือทุบให้แตก แล้วฝังกลบให้มิดชิด ส่วนภาชนะที่เป็นพลาสติกควรเผา และอย่าให้ควันไฟรมตัวเรา ห้ามนำภาชนะที่ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ใหม่ ห้ามเผา บรรจุภัณฑ์ชนิดที่มีความดันภายใน เพราะจะทำให้เกิดการระเบิดได้ เมื่อมีการเปรอะเปื้อน ให้ใช้ ดิน ขี้เลื่อย หรือปูนขาว นำมาดูดซับ แล้วจึงนำไปฝัง ติดป้ายและล้อมรั้ว บริเวณที่ได้มีการฝังกลบบรรจุภัณฑ์ยาฆ่าหญ้าที่ใช้แล้ว  ขอบคุณภาพจาก : thejournal.ie  และ nebraskafarmer.comอ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

เฟิร์นที่เติบโตบนต้นปาล์ม ส่งผลเสียต่อปาล์มน้ำมันหรือไม่?

เฟิร์น ที่เติบโตบนต้นปาล์ม ส่งผลเสียต่อปาล์มน้ำมันหรือไม่? แท้จริงแล้วมีประโยชน์อะไร? เฟิร์น หรือ เฟิน (อังกฤษ: fern) เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ด และมีใบที่แท้จริง ส่วนระบบสืบพันธุ์ไม่มีดอกและเมล็ด มีวงจรชีวิตแบบสลับที่มีระยะสปอร์ (spore) และระยะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเมีย มีถิ่นอาศัยอยู่หลากหลายพื้นที่ เช่น บนภูเขาสูง พื้นที่โล่ง ในน้ำ บนหินในทะเลทรายที่แห้งแล้ง โดยทั่วไปต้นเฟิร์นสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเฟิร์นดิน-ทนแดด (terrestrial-sun-ferns) 2. กลุ่มเฟิร์นดิน-ชอบร่มเงา (terrestrial-shade-ferns) 3. กลุ่มเฟิร์นเถาเลื้อย (climbing ferns) 4. กลุ่มเฟิร์นเกาะอาศัย หรือไม้อากาศ (epiphytes) 5. กลุ่มเฟิร์นผา (lithophytic ferns หรือ rock ferns) 6. กลุ่มเฟิร์นน้ำ (aquatic ferns) 7. กลุ่มเฟิร์นภูเขา (mountain fern) ได้มีการศึกษาความหลากหลายของเฟิร์นในสวนปาล์มน้ำมันบริเวณจังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง สงขลา สตูล และสุราษฎรธานี จำนวน 10 แปลง ในช่วงเดือน พ.ย. 2550-2551 สำรวจพบเฟิร์นในสวนปาล์ม 11 ชนิด 10 สกุล ใน 8 วงศ์ พบ เฟิร์นใบมะขาม (Nephrolepis biserrata (Sw.) Schott) เท่ากับ 69.18% มากกว่าเฟิร์นชนิดอื่น รองลงมาคือ เฟิร์นนาคราช (Davallia denticulata (Brum.f.) Mett. exKuhn) เท่ากับ  26.63% เพราะเฟิร์นทั้งสองชนิดนี้เป็นเฟิร์นที่ชอบร่มเงาไม่ชอบแดดจัด การพรางแสงแดดที่ระดับ 80% และ 40% จะเติบโตได้ดี พบว่ามีการเจริญบริเวนซอกลำต้นและฐานของทางใบของต้นปาล์มที่ตัดออกไปแล้วเพราะมีอินทรียวัตถุสูง     เฟิร์นที่เติบโตบนต้นปาล์ม ส่งผลเสียหรือไม่? เฟิร์นที่งอกบริเวณกาบต้นปาล์มน้ำมันจะไม่แย่งอาหารจากต้นปาล์มเพราะเฟิร์นดังกล่าวจะกินอาหารจากทางปาล์มที่ตายและย่อยสลายแล้ว ซึ่งก็คืออินทรียวัตถุที่เป็นแหล่งอาหารชั้นดีให้กับเฟิร์น เมื่อต้นปาล์มอายุประมาณ 5 ปี จะเริ่มมีร่มเงาระหว่างแถวมากขึ้น และจะมีร่องรอยการตัดแต่งทางใบบริเวณลำต้นทำให้เฟิร์นเริ่มสามารถเจริญอยู่ได้ทั้งบริเวณลำต้นและโคนต้น โดยมีทั้งกลุ่มเฟิร์นที่เจริญได้ดีภายใต้ร่มเงา เช่น เฟิร์นอิงอาศัย, รักษ์เฟิร์น, ชายผ้าสีดา, เฟิร์นใบมะขาม, เฟิร์นนาคราช, ข้าหลวงหลังลาย, กระแตไต่ไม้, กะเรกะร่อน เป็นต้น การที่เฟิร์นสามารถเจริญเติบโตได้ดีบริเวณลำต้นปาล์มได้เนื่องจากระหว่างซอกทางใบจะมีเศษซากวัสดุตามธรรมชาติสะสมอยู่ ทำให้กลายเป็นวัสดุปลูกอย่างดีและยังเก็บความชื้นได้ดี อีกทั้งในสวนปาล์มยังมีแสงแดด อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ในระดับที่พอเหมาะ การเจริญเติบโตของเฟิร์นจึงไม่ส่งผลกระทบและไม่เป็นการแย่งสารอาหารจากต้นปาล์มน้ำมันแต่อย่างใด ความชื้นสัมพัทธ์ในระดับต่างๆ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในรอบปี (เปอร์เซ็นต์) การเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน น้อยกว่า 77 น้อย 78 – 79 ปานกลาง 80 – 85 ดี เฟิร์นดัชนีชี้วัดความชื้นสัมพัทธ์ในสวนปาล์มน้ำมัน จากการศึกษาพบว่าอุณหภูมิในสวนปาล์มที่ทำการศึกษา ช่วง มี.ค.-ก.ย. 2551 (สวนปาล์มของเกษตรกร อ.รัตภูมิ จ.สงขลา) มีค่าอุณหภูมิสูงสุดเท่ากับ  31.83 °C  และต่ำสุดเท่ากับ  23.21 °C  ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 100%  และต่ำสุดที่ 69.64% พอสรุปได้ว่า การเจริญเติบโตของเฟิร์นจะบอกถึงความชุ่มชื้นในสวนปาล์มได้ ถ้าเฟิร์นเจริญได้ดีนั้นย่อมแสดงว่าภายในสวนปาล์มนั้นๆมีความชื้นสัมพัทธ์สูง  เฟิร์นจึงมีประโยชน์ในการใช้เป็นดัชนีชี้วัดความชื้นสัมพัทธ์ในสวนปาล์มน้ำมันได้ และเมื่อพบว่ามีเฟิร์นอยู่บนต้นปาล์มของเราเริ่มเหี่ยวเฉาและแห้ง ก็จะเป็นดัชนีบ่งชี้ว่าภายในสวนของเราเริ่มมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยลงหรือกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนนั้นเอง เฟิร์นประโยชน์และคุณค่าทางเศรษฐกิจ เฟิร์นนั้นมีสีสันรูปทรงพุ่มสวยงาม ให้ความรู้สึกถึงความเยือกเย็น ชุ่มชื่น จึงนิยมนำมาใช้งานตกแต่งต่างๆอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้เฟิร์นยังมีคุณค่าและประโยชน์มากมายพอสรุปได้ดังนี้ แยกเหง้าหรือเพาะสปอร์ เพื่อเพาะพันธุ์จำหน่ายเชิงการค้า ใช้เป็นไม้ประดับ ตกแต่งสวน ใช้เป็นไม้ประดับ ตกแต่งอาคาร และงานสถาปัตยกรรม ใช้ประดับแจกัน ตกแต่งช่อดอกไม้ พวงดอกไม้ จัดดอกไม้งานพิธีต่างๆ ใช้ป้องกันอสรพิษ นิยมพกติดตัวเวลาเข้าป่า ใช้เป็นสมุนไพร บรรเทาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ โดยนำเหง้ามาฝนกับน้ำซาวข้าวหรือเหล้า แล้วทาบริเวณที่เกิดอาการ ประโยชน์มากมายขนาดนี้..เกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันท่านใดสนใจ ลองศึกษาหาข้อมูลเพาะพันธุ์เฟิร์นเพื่อจำหน่ายหารายได้เสริมเพิ่มเติมกันได้ อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

ปุ๋ยปาล์มที่ดี ควรเป็นอย่างไร?

ปุ๋ยปาล์มที่ดี ควรเป็นอย่างไร? ปุ๋ยปาล์มที่ดี ที่จะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันมีผลผลิตสูงได้ ปุ๋ยปาล์มที่ดีต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐานของปาล์ม เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ผลิตน้ำมัน (lipid) ได้ในปริมาณสูงกว่าพืชชนิดอื่น และเพราะพืชนั้นต้องใช้พลังงานและธาตุอาหารในการสร้างไขมัน ในปริมาณสูงกว่าการสร้างน้ำตาลและโปรตีน ดังนั้นต้นปาล์มน้ำมันจึงต้องการปุ๋ยในปริมาณมาก หากอาศัยแต่ธาตุอาหารที่อยู่ในดินอาจไม่เพียงพอสำหรับการให้ได้ผลผลิตปาล์มในปริมาณสูง ปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันที่ดี ต้องประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ 1. ตรงตามความต้องการของต้นปาล์ม การศึกษาความต้องการธาตุอาหารของต้นปาล์มน้ำมัน ทำโดยการศึกษามวลชีวภาพและวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุอาหารในส่วนต่างๆ ของต้น ได้แก่ ส่วนที่ไม่ถูกเคลื่อนย้ายออกจากแปลง เช่น ราก ลำต้น ทางใบ ช่อดอกเพศผู้ และส่วนที่นำออกจากแปลง คือ ผลผลิตทะลายปาล์ม ปริมาณธาตุอาหารที่ต้นปาล์มต้องการคือ ปริมาณธาตุอาหารที่ปรากฏในชิ้นส่วนต่างๆ ของต้นปาล์ม คำนวณจากผลคูณของมวลแห้งกับความเข้มข้นของธาตุอาหารแต่ละชนิด 2. ครบตามชนิดของธาตุอาหารที่จำเป็น พืชทุกชนิดต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเติบโตทั้งหมด 16 ชนิด แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้จากอากาศและน้ำ คือ C, H, O ส่วนอีก 13 ชนิด ได้มาจากปุ๋ย แบ่งเป็นธาตุอาหารหลัก 6 ชนิด คือ N, P, K, S, Ca, Mg และจุลธาตุ 7 ชนิด คือ B, Cu, Zn, Mo, Cl, Fe และ Mn ต้นปาล์ม ต้องการจุลธาตุ B, Cu และ Zn อย่างชัดเจนต่อเนื่องมากกว่าจุลธาตุชนิดอื่น 3. ครบตามจำนวนสำหรับชดเชยผลผลิต ปริมาณของธาตุอาหาร สำหรับต้นปาล์มน้ำมันแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ใช้สำหรับเลี้ยงต้นส่วนที่เจริญอยู่ในแปลง ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อปีเฉลี่ยคงที่ ส่วนที่สอง ใช้สำหรับเลี้ยงผลผลิตทะลายปาล์มที่นำออกจากแปลง ซึ่งเพิ่มขึ้นตามระดับของผลผลิต ต้นปาล์มที่อายุเท่ากัน อาจจะมีผลผลิตได้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ การจัดการ และสภาพแวดล้อม การใส่ปุ๋ยตามระดับผลผลิตจึงเป็นสิ่งที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูงและลดต้นทุนค่าปุ๋ยลง ใส่ปุ๋ยอย่างไรให้ได้ผลผลิตสูงเมื่อได้ปุ๋ยที่ดีแล้ว วิธีการหรือเทคนิคในการใส่ปุ๋ยก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยสูงสุด จึงมีแนวทางปฎิบัติดังนี้สำหรับต้นปาล์มเล็ก อายุ 1 – 3 ปี1. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นให้สะอาด2. ใช้อินทรียวัตถุคลุมผิวดิน เช่น ทะลายเปล่า ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์3. ถ้าตรวจวัดแล้วพบว่าดินเป็นกรด ให้ปรับค่ากรด-ด่างของดิน (pH) โดยการใส่ปูนโดโลไมท์ รอบทรงพุ่ม ปริมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี4. หว่านปุ๋ยรอบทรงพุ่ม ตามแนวทรงกลมของปลายใบปาล์มใหญ่ ที่เริ่มตัดเก็บทะลาย1. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นให้สะอาด เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บลูกร่วง2. ใช้อินทรียวัตถุคลุมผิวดิน เช่น ทะลายเปล่า ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ และให้เริ่มวางทางใบที่ตัดลงมาจากต้นไว้ระหว่างแถว3. ถ้าตรวจวัดแล้วพบว่าถ้าดินเป็นกรด ให้ปรับค่ากรด-ด่างของดิน (pH) โดยการใส่ปูนโดโลไมท์ บริเวณกองทาง ปริมาณ 2-3 กิโลกรัม/ต้น/ปี4. หว่านปุ๋ยบริเวณกองทาง ที่กองไว้ระหว่างต้นของต้นปาล์ม เพราะเป็นบริเวณที่รากอยู่มาก เนื่องจากมีความชื้นสูงและมีอินทรียวัตถุให้ปุ๋ยยึดเกาะ ช่วยลดการชะล้างของปุ๋ยต้องใส่ปุ๋ยในปริมาณเท่าใด?สูตรปุ๋ยปาล์มเล็ก 23-6-15+2MgO + 0.32B + 0.11Cu + 0.23Znสูตรบำรุงต้น เร่งการเจริญเติบโต: เหมาะสำหรับต้นปาล์มอายุ 1-3 ปี หลังปลูก สูตรนี้จะมีธาตุอาหารที่จำเป็นครบและเพียงพอ ช่วยบำรุงให้ต้นปาล์มสมบูรณ์ โคนต้นใหญ่ ใบเขียวเข้ม สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี อายุต้นปาล์ม (ปี) ปริมาณการใส่ปุ๋ย (กิโลกรัม/ต้น/ปี) 1 2.5 2 3 3 3.5 สูตรปุ๋ยปาล์มใหญ่ 12-5-20+3.17MgO + 0.38B + 0.1Cu + 0.2Znสูตรบำรุงต้น เร่งผลผลิต: เหมาะสำหรับต้นปาล์มที่เริ่มให้ผลผลิต เป็นสูตรที่มีธาตุอาหารครบ ช่วยบำรุงต้นปาล์มให้สมบูรณ์ จึงช่วยเร่งให้ปาล์มมีผลผลิตเร็ว ปริมาณผลผลิตทะลายปาล์มที่เก็บเกี่ยวได้ (ตัน/ไร่/ปี) ปริมาณแนะนำในการใส่ปุ๋ย (กิโลกรัม/ต้น/ปี) 2 9 2.5 9.5 3 10 3.5 10.5 4 11 4.5 11.5 5 12 5.5 12.5 6 13 6.5 13.5 7 14 สูตรปุ๋ยปาล์มใหญ่ 15-5-25+2.01MgO + 0.34B + 0.1Cu + 0.2Znสูตรเพิ่มผลผลิต: เหมาะสำหรับต้นปาล์มที่เริ่มให้ผลผลิต ซึ่งจะมีธาตุอาหารครบ ช่วยเพิ่มน้ำหนักทะลาย ผลปาล์มเต่ง ไม่ฝ่อไม่ลีบ และให้ผลผลิตต่อเนื่อง ปริมาณผลผลิตทะลายปาล์มที่เก็บเกี่ยวได้ (ตัน/ไร่/ปี) ปริมาณแนะนำในการใส่ปุ๋ย (กิโลกรัม/ต้น/ปี) 2 6.5 2.5 7 3 7.5 3.5 8 4 8.5 4.5 9 5 9.5 5.5 10 6 10.5 6.5 11 7 12 อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

การเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมัน

การเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมัน1. การเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมัน ที่สุก พอเหมาะ และให้น้ำมันสูงสุด ปริมาณน้ำมันที่สกัดได้ (Oil Extraction Rate) ควรมากกว่า 22% น้ำมันจากเนื้อในเมล็ด (Palm Kernel) ควรมากกว่า 4% และมีกรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acids) น้อยกว่า 2% 2. เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสด เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มสดในระยะที่สุกพอดี คือ ระยะที่ผลปาล์มมีสีผิวเปลือกนอกเป็นสีส้มสด และในระยะที่มีผลปาล์มร่วงหล่นจากทะลาย โดยรวมที่โคนต้นได้ประมาณ 5-10 ผลต่อทะลาย (ปาล์มเล็ก อาจเป็น 2 ผล เนื่องจากทะลายเล็กและสุกเร็ว) พันธุ์ปาล์ม, ปาล์มใต้โคน, ผลปาล์มร่วงสังเกตผลปาล์มที่ร่วงหล่นจากทะลาย บริเวณโคนต้น เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต 3. ทะลายปาล์มสด ผลร่วงบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้น ควรเก็บออกมาให้หมดและเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรให้ผลปาล์มน้ำมันกระแทก บอบช้ำ หรือมีบาดแผล 4. ส่งทะลายปาล์มสด ไปยังโรงงาน ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อลดปริมาณกรดไขมันอิสระ 5. ตัดก้านปาล์มน้ำมันให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย และทำความสะอาดผลปาล์มที่เปื้อนดิน ทราบ เศษหิน ไม้กาบหุ้มทะลาย ออกก่อน 6. รอบของการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ควรอยู่ในช่วง 10-15 หรือ 15-20 วัน 7. ต้องรู้จักสังเกตการเวียนของทางใบต้นนั้นๆ ว่า เวียนซ้ายหรือเวียนขวา ซึ่งทะลายปาล์มก็จะเวียนไปทิศทางเดียวกันเช่นกัน ซึ่งขั้วของทะลายก็จะอยู่ระหว่างซอกทางใบปาล์มน้ำมันนั่นเอง 8. ใช้อุปกรณ์เก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ปาล์มใหญ่ เก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้ “เคียว” ปาล์มเล็ก เก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้ “เสียม” โดยจะใช้ในต้นปาล์มน้ำมันที่ยังมีความสูงไม่มากมักจะอยู่ในช่วงอายุ 2-5 ปี โดยแทงทะลายให้แทงเป็นมุมเฉียงประมาณ 45 องศา เฉียดระหว่างขั้วทะลายกับต้น 9. การตัดทางใบที่รองรับทะลายปาล์มที่ต้องการเก็บเกี่ยว ควรเก็บทางปาล์มใต้ทะลายไว้อย่างน้อย 1 – 3 ทางใบ เสมอ 10. ควรมีการ “จดบันทึกผลผลิต” โดยทุกครั้งที่เก็บเกี่ยว และจดอย่างต่อเนื่อง        อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

รายละเอียดทั้งหมด

การตัดแต่งทางใบ คืออะไร?

การตัดแต่งทางใบ คือการตัดทางใบปาล์มน้ำมันออกจากต้นปาล์ม เพื่อรักษาทรงพุ่มและทางใบปาล์มให้อยู่ในทรงที่เหมาะสม รวมถึงการตัดทางใบปาล์มที่ตาย ทางใบที่เกิน ทางใบที่เป็นโรคออกไป เพื่อให้ทางใบปาล์มอื่นๆ ได้รับแสง และสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่ ต้นปาล์มอายุเท่าไรจึงจะตัดแต่งทางใบได้ ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 0–5 ปี ไม่ควรตัดแต่งทางใบ หากจำเป็นหรือเมื่อต้องการเก็บผลผลิตให้ตัดทางใบทิ้งน้อยที่สุด คือ ควรไว้ทางใบ 7–8 รอบ (56–64 ทางใบต่อต้น) ต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 7–8 ปี ควรไว้ทางใบ 5–6 รอบ (40–48 ทางใบ/ต้นปาล์ม) เพราะเป็นช่วงที่ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตสูงสุด และไม่ควรตัดแต่งทางใบจนกว่าจะถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะแต่ละทางใบจะรองรับหนึ่งทะลาย สารอาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสงของแต่ละทางใบจะถูกส่งไปเลี้ยงทะลายที่อยู่ติดกับทางใบนั้นก่อนการตัดแต่งทางใบออกมากเกินไปทำให้ต้นปาล์มเรียวเล็ก ออกดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมีย ต้นปาล์มน้ำมัน อายุมากกว่า 8 ปี ควรแต่งทางใบทั้งปี โดยตัดทิ้งใบล่างๆที่ไม่ได้รับแสง (ทางใบที่ 40 เป็นต้นไป) ซึ่งทางใบล่างๆเหล่านี้จะเกิดการหายใจและใช้พลังงานมากกว่าที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ โดยให้เหลือไว้เพียงแต่ใบที่ได้แดดเพียงพอที่จะสังเคราะห์แสงได้ เทคนิคตัดแต่งทางใบที่ถูกวิธี ปาล์มน้ำมันที่ไม่ให้ผลผลิต ควรตัดโคนออกไป ควรเก็บทางปาล์มใต้ทะลายไว้อย่างน้อย 1–3 ทางใบเสมอ เพื่อเป็นทางรองรับทะลายและเป็นทางไว้หล่อเลี้ยงน้ำและอาหาร ช่วยให้ต้นปาล์มคอใหญ่ต้นอ้วนสมบูรณ์ขึ้น ถ้าไม่มีทางปาล์มใต้ทะลายรองรับไว้ผลเสียคือทะลายด้านล่างก็ดึงแหล่งอาหารจากทางด้านบนทำให้ทะลายด้านบนก็มีผลกระทบด้วยเช่นกัน ทางใบที่เป็นโรค ทางใบที่ตาย ทางใบที่ถูกศัตรูพืชทำลาย ควรถูกตัดออกไป แนะนำเพิ่มเติมว่า ควรเลือกตัดแต่งทางใบในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อเป็นการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตารางแสดงจำนวนทางใบทางใบที่ตัดแล้วมีประโยชน์ อย่าทิ้ง!!ทางใบปาล์มที่ตัดแล้ว มีประโยชน์มากมาย สามารถกลายเป็นธาตุอาหารหมุนเวียนได้ถึง 40% โดยทั่วไปมีแนววิธีจัดการทางใบที่ตัดแล้ว ดังนี้ 1. กองทางใบระหว่างแถวทุกแถวหรือกองทางใบระหว่างแถวแบบแถวเว้นแถว ในแต่ละแถวเว้นช่องทางเดินไว้เป็นระยะสำหรับการทำงาน โดยการนำทางใบมากองให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร  เมื่อเกิดการย่อยสลายซากทางใบเหล่านี้ จะช่วยรักษาความชื้นในดิน คุลมหน้าดิน ลดการระเหยของน้ำในดินบริเวณนั้น ส่งผลให้รากปาล์มมีชีวิตได้นานขึ้นและยังช่วยปรับโครงสร้างดินยึด นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการคลุมรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้างไปกับฝน ช่วยชะลอการชะล้างปะจุปุ๋ยออกนอกเขตรากปาล์มน้ำมันได้อีกด้วย 2. กองสุมกลางร่องปาล์ม เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด โดยการนำทางใบมากองสุมไว้ตรงกลางระหว่างแถวต้นปาล์มแล้วปล่อยให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุ กองทางใบเหล่านี้จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ในทางใบคืนสู่ดิน  ช่วยคลุมหน้าดิน ลดการระเหยของน้ำ 3. ปูทางใบให้เต็มพื้นที่สวนปาล์ม วิธีนี้เพียงแค่เปลี่ยนจากกองสุมมาเป็นการปูทางใบให้เต็มพื้นสวน วิธีนี้ทางใบจะย่อยสลายได้เร็วกว่ากองสุมและยังช่วยรักษาความชื้นและการชะล้างหน้าดินได้ในวงกว้าง ลดการเกิดหญ้าในสวน เวลาหว่านปุ๋ยจะหว่างกลางแถวเหมือนเดิม หรือหว่านรอบต้นก็ได้*ข้อแนะนำ : ทางใบที่เป็นโรคระบาด หรือถูกศัตรูพืชกัดกินรุนแรง ควรแยกออกไปเผาทำลาย โดยไม่นำมากองรวม ในกองทางใบประโยชน์ของการสร้างกองทางใบ1. รักษาความชื้นในดิน ลดการระเหยของน้ำในดินบริเวณนั้นได้ ทำให้ความชื้นในดินอยู่ได้นานส่งผลให้รากปาล์มมีชีวิตได้นานขึ้น2. เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสในดินมากขึ้น โดยทางใบคืออินทรีย์วัตถุที่ถูกและหาง่ายที่สุด เมื่อเกิดการย่อยสลายจะช่วยปรับโครงสร้างดินยึด ชะลอการชะล้างประจุปุ๋ยออกนอกเขตรากปาล์มน้ำมัน3. รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน4. คืนธาตุอาหารให้กับดิน โดยปาล์มน้ำมันที่โตเต็มที่จะมีทางใบที่ถูกตัดทิ้งคิดเป็นน้ำหนักแห้งมากกว่า 1.6 ตัน/ไร่/ปี ซึ่งสามารถคำนวนเทียบเท่ากับ    ปุ๋ย 46-0-0       = 9.28 กก./ไร่     ร็อคฟอสเฟต      = 4.8 กก./ไร่    ปุ๋ยสูตร 0-0-60   = 19.2 กก./ไร่    กลีเซอไรด์          = 11.2 กก./ไร่5. ช่วยลดและชะลอการชะล้างหน้าดินในแปลงปลูก6. ปรับค่าความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสมสำหรับการละลายของธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันสามารถนำไปใช้ได้สูงสุด7. ลดพื้นที่การจัดการสวนลงเหลือแค่ 25 % ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้ประหยัดค่าแรงงาน เวลา และปูนโดโลไมด์ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.cpiagrotech.com/

รายละเอียดทั้งหมด

การจดบันทึกผลผลิต..คืออะไร? มีขั้นตอนอย่างไร?

ทำไมต้องจดบันทึกผลผลิตเนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้น ที่ต้องการธาตุอาหารจำนวนมากในการสร้างทะลาย ดังนั้นการจดบันทึกผลผลิตในแต่ละครั้งจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวางแผนใส่ปุ๋ย รวมทั้งการจัดการสวนปาล์มด้านอื่นๆ รวมทั้ง การจดบันทึกรายได้ และจำนวนทะลาย/ไร่ จะทำให้ทราบภาพรวมตลอดทั้งปีทำสวนปาล์มมีกำไร หรือขาดทุน เพื่อปรับแนวทางในการเพิ่มผลผลิตหรือลดต้นทุนในปีต่อ ๆไปได้ประโยชน์ที่ได้รับจากการบันทึกผลผลิต-ทราบผลผลิตทะลายปาล์มของสวนตัวเอง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการคำนวณการใส่ปุ๋ยตามระดับผลผลิต-ทราบราคาขายทะลายปาล์ม-ทราบรายได้ เป็นวิธีฝึกการจัดบริหารจัดการสวนปาล์ม และการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายการจดบันทึกผลผลิตคืออะไร?การจดบันทึกผลผลิตหรือการเก็บข้อมูลผลผลิตปาล์มน้ำมัน คือ การเก็บรวบรวม การบันทึกบิลหรือใบเสร็จที่ได้จากการนำทะลายปาล์มไปขายให้กับลานรับซื้อหรือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้1. บันทึกวันที่ตัดทะลายปาล์ม ขาย2. บันทึกน้ำหนักทะลาย (กิโลกรัม)3. บันทึกราคาขาย (บาท/กิโลกรัม)4. บันทึกรายรับ (บาท)5. ให้บันทึก ทุกครั้งที่มีการตัดปาล์มไปขาย6. เมื่อครบสิ้นปี ให้นำน้ำหนักทะลายทั้งหมดมารวมกัน7. คำนวนหาค่าเฉลี่ยผลผลิต ตัน/ไร่ โดยการเปลี่ยนหน่วยจาก กิโลกรัม ให้เป็น ตัน คือหารด้วย 1,000จากนั้นนำค่าที่ได้ นำมาหารด้วยจำนวนไร่ที่ปลูกอีกครั้ง (1 ตัน = 1,000 กิโลกรัม)**ตัวอย่าง นางมณีวรรณ มีพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันทั้งหมด 10 ไร่ ในปี 25581. ตัดปาล์มไปขายได้ รวมทั้งปี 42,250 กิโลกรัม2. หารด้วย 1,000 กิโลกรัม จะได้เท่ากับ 42.25 ตัน3. หารด้วยพื้นที่ปลูก 10 ไร่ จะได้เท่ากับ 4.23 ตันสรุปว่านางมณีวรรณมีผลผลิตปาล์มน้ำมัน เท่ากับ 4.23 ตัน/ไร่/ปีตัวอย่างใบเสร็จ/บิล/ใบชั่งน้ำหนักการขายทะลายปาล์มตารางบันทึกผลผลิตเมื่อทราบผลผลิตทะลายปาล์ม เฉลี่ย/ปี ของสวนปาล์มน้ำมันแล้ว เราสามารถนำไปใช้ในการคำนวณเพื่อปรับ ลด-เพิ่ม การใส่ปุ๋ยให้ได้ตามระดับผลผลิตที่ต้องการทั้งนี้ ซีพีไอ ได้จัดทำตารางบันทึกผลผลิต เพื่อเกษตรกรและผู้สนใจทุกท่าน สามารถดาวน์โหลดใช้ได้ฟรี!..ไม่มีค่าใช้จ่าย อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/knowledge-094/

รายละเอียดทั้งหมด