ความรู้เกี่ยวกับปาล์ม

สถาบันวิจัยและพัฒนา (R&D)

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูนกแสก

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูนกแสกบริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ CPI ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มแบบครบวงจรแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย จัดทำโครงการศึกษาการใช้ประโยชน์จากนกแสกเพื่อกำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสียหาย ของผลผลิตทะลายปาล์มสด จากการทำลายของหนู ด้วยการควบคุมจำนวนประชากรหนูโดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ทั้งนี้โครงการดังกล่าว สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และงบประมาณการซื้อสารเคมีได้ปีละนับล้านบาท และจะนำไปสู่โครงการต้นแบบให้เกษตรกรหันมาใส่ใจและห่วงใยต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น วงจรชีวิตนกแสกนกแสกเพศผู้และเพศเมีย  มีลักษณะคล้ายกันมากจนไม่สามารถจำแนกเพศได้  จากลักษณะภายนอก  นกแสกมีอายุยืนยาวในธรรมชาติประมาณ 5-7 ปี สามารถผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุครบ 1 ปี วางไข่ปีละ 1-2 ครั้ง  ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์นกแสกจะไม่อาศัยอยู่ในโพรงรัง  จะเกาะหลบพักนอนในเวลากลางวันตามต้นไม้หรือต้นปาล์มที่มีใบแน่นทึบ  สามารถใช้กำบังตัวจากนกชนิดอื่นที่มักจะรุมทำร้ายมันในเวลากลางวัน  ฤดูจับคู่ผสมพันธุ์ประมาณเดือนกันยายน–กุมภาพันธ์  นกแสกจะจับคู่แล้วหาโพรงตามธรรมชาติ หรือรังที่สร้างให้สำหรับเป็นที่ผสมพันธุ์และวางไข่ นกแสกไม่สามารถสร้างโพรงได้เองและไม่ใช้วัสดุรองรัง เวลาวางไข่นกเพศเมีย ทำหน้าที่ฟักไข่เพียงตัวเดียว นกเพศผู้จะนอนอยู่นอกรัง ในขณะที่ตัวเมียกกไข่จะทำหน้าที่หาล่าเหยื่อมาเลี้ยงนกตัวเมียและลูกในรัง จนกระทั่งลูกนกโต แม่นกจึงออกไปช่วยหาอาหาร มาเลี้ยงลูก และเกาะนอนอยู่นอกรัง จำนวนไข่โดยเฉลี่ย 5 ฟองต่อรัง จำนวนลูกประมาณ 3-4 ตัวต่อครอก ระยะเวลาการวางไข่และฟักไข่ประมาณ 30 วัน ลูกฟักออกจากไข่ไม่พร้อมกัน  จะพบลูกนกขนาดแตกต่างกันในรังเดียวกัน แต่ลูกนกเติบโตเร็วมาก  อายุประมาณ 60-70 วัน ลูกนกจึงออกจากรัง ถ้ามีอาหารอุดมสมบูรณ์พ่อ-แม่ นกจะวางไข่รอบที่ 2 ต่อไปเลย ความสามารถในการจับหนูในสวนปาล์มน้ำมัน  นกแสกกินหนูเป็นอาหาร 100 เปอร์เซ็นต์  นกแสก 1 ตัว สามารถกินหนูท้องขาวที่เรียกว่า หนูป่ามาเลย์ ที่เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของปาล์มน้ำมัน  ที่ให้ผลผลิตแล้ว โดยเฉลี่ย วันละ 2 ตัว หรือประมาณ 700 ตัว/ปี  ลองคำนวณคร่าว ๆได้ว่า  ถ้ามีนกแสก 10 ตัว จะช่วยกำจัดหนูได้ถึง 7,000 ตัว/ปี  หนูจำนวนนี้ถ้าปล่อยไว้ จะทำความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรได้มากเพียงใด  และถ้าต้องใช้สารเคมีกำจัดหนู จะต้องใช้เงินซื้อและจ้างแรงงานกี่บาท รวมทั้งความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามมา ซึ่งคำนวณเป็นเงินได้ยาก จะทำอย่างไร จึงจะได้นกแสกมาช่วยปราบหนู??? เกษตรกรสามารถชักนำให้นกแสกเข้ามาอาศัยในสวนปาล์ม โดยการสร้างรังหรือบ้านนกให้นกแสกในสวนปาล์ม ลักษณะรังสำหรับนกแสก สามารถทำจากวัสดุที่หลากหลาย และมีหลายรูปแบบ เช่น รังกล่องไม้กระดานหรือ ไม้อัดแบบบ้าน ขนาดกว้าง 60 ซ.ม. ยาว 80 ซ.ม. สูง 60 ซ.ม. มีหลังคาคลุม หรือ รังถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ภายในถังปูพื้นไม้กระดาน หรือแผ่นกระเบื้อง ติดตั้งบนเสาเหล็ก หรือเสาคอนกรีต ให้รังอยู่สูงจากพื้นดิน ประมาณ 2.5 เมตร ติดตั้งรังไว้ในบริเวณที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน จำนวน 1-2 รัง ต่อพื้นที่ 50 ไร่ นกแสกในธรรมชาติ ที่ยังพอมีเหลืออยู่อาจจะเข้ามาอาศัยรังวางไข่แต่จะใช้เวลานานหลายปีกว่าที่นกป่าจะเข้ามาใช้รัง วิธีที่ได้ผลเร็วที่สุด คือ การนำลูกนกแสกที่เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์ นกแสกไว้กำจัดหนูในสวนปาล์มมาปล่อย นกแสกจะคุ้นเคยและเข้าใช้รังได้เร็วจับคู่ผสมพันธุ์ขยายพันธุ์ เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนสามารถควบคุมจำนวนหนู ไม่ให้มีมากจนก่อความเสียหาย ต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรได้ ต้องสร้างรังกี่รังและมีนกแสกกี่ตัวถึงจะเพีบงพอ??? นกแสกไม่หวงพื้นที่หากินระหว่างนกแสกด้วยกัน จึงสามารถสร้างรังให้นกแสกในสวนปาล์มได้มาก โดยไม่จำกัดแต่ควรกระจายรังห่างกันไม่ต่ำกว่า 50 เมตร จำนวนนกแสกที่จะมีได้ไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความชุกชุมของหนูในแต่ละพื้นที่ ยกตัวอย่าง ในสวนที่มีหนู 1 ตัว ทุกๆต้นปาล์ม นกแสก 1 คู่ และลูก 2 ครอก เฉลี่ยครอกละ 3 ตัว จะใช้พื้นที่หาอาหารช่วงฤดูผสมพันธุ์ประมาณ 6 เดือน ประมาณ 50 ไร่ ซึ่งอาจใช้อัตราส่วนนี้ในการกำหนดจำนวนรังนกแสกในสวนปาล์มได้ ข้อดีของการใช้นกแสกกำจัดหนู ไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดหนู การกำจัดหนูปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนกแสกทำให้เกษตรกรสามารถลดภาระงานในการป้องกันกำจัดหนูได้ เมื่อจำนวนนกแสกเพิ่มมากจนสมดุลกับประชากรหนูจะสามารถลดความเสียหายที่ปรากฏให้เห็นบนทะลายปาล์มสดในระดับที่รุนแรง ซึ่งโรงงานรับซื้อใช้เป็นตัวกำหนดราคา ซึ่งช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ขายผลผลิตได้ราคาสูง ลดต้นทุนการผลิตได้มาก ข้อจำกัด เกษตรกรต้องเลิกใช้สารเคมีกำจัดหนู ใช้วิธีการที่ไม่เป็นอันตรายต่อนกแสก กำจัดหนูร่วมด้วยในระยะแรกๆที่จำนวนนกยังไม่มาก จนกระทั่งมีนกแสกมากพอจึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนกแสกคอยกำจัดและควบคุมประชากรหนูต่อไปอย่างยั่งย ข้อเสนอแนะ เกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่สวนปาล์มแต่ละรายไม่มากควรร่วมกับสวนที่อยู่ข้างเคียงหลาย ๆรายจะทำให้มีพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับนกแสกมากขึ้น

รายละเอียดทั้งหมด

Bio Gas Project

บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญของการใช้พลังงานทดแทน และให้การสนับสนุนร่วมมือ ในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพมาโดยตลอด และทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้ง โครงการ Bio Gas  หรือกระบวนการผลิตก๊าชชีวภาพเป็นการกำจัดน้ำเสียโดย ใช้ระบบปิด (Anaerobic)  เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสียของโรงงานกลับมาใช้ใหม่เป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตของบริษัทฯ ทั้งนี้ยังสามารถควบคุมเรื่องกลิ่นรบกวนไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง และน้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรได้ในอีกทางหนึ่ง บริษัทฯ ได้เข้าร่วมส่งผลงานเข้าประกวดซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  กระทรวงพลังงาน  ภายใต้หัวข้อ  "โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจากชีวมวล" (Biomass Co-Generation Power Plant)  ภายใต้งาน  Thailand Energy Awards 2008โดยโครงการนี้ ได้รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ และทางกระทรวงพลังงานได้ส่งผลงานเข้าไปชิงต่อในระดับอาเซียน และ CPI ได้รางวัลชนะเลิศ ระดับอาเซียน ในประเภทพลังงานทดแทน ในปี 2551 ทั้งสองรางวัล

รายละเอียดทั้งหมด

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาปาล์มน้ำมัน

เพื่อสานนโยบายบริษัทฯ จึงได้ตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาปาล์ม น้ำมัน ขึ้น ณ เลขที่ 16 หมู่ 16 ถ.เพชรเกษม ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ปี 2549  เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีงานวิจัยและประสบการณ์ จากการจัดการสวนปาล์มของบริษัทฯ ให้กับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมีห้องอบรมแปลงสาธิต และห้องปฎิบัติการวิจัยด้านปาล์มน้ำมันอย่างครบถ้วน  เปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้ามาเยี่ยมชมตลอดเวลา จากการที่ศูนย์ส่งเสริมได้ก่อตั้งขึ้น  เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของโรงงาน  โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน มี 3 ปัจจัย ได้แก่ พันธุ์ปาล์มน้ำมัน การจัดสวนปาล์มที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ดังนั้นบริษัทฯจึงได้มีโครงการวิจัยปาล์มน้ำมันขึ้นเพื่อให้สามารถตอบสนองกับปัจจัยการเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์ม โดยจัดตั้งโครงการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นในปี 2548 ใช้สายพันธุ์ปาล์มน้ำมันในสวนของบริษัทฯ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ในประเทศไทยและอาศัยข้อมูลผลผลิต ที่มีการเก็บรวบรวมมากกว่า 10 ปี  เพื่อมาคัดพ่อแม่พันธุ์และพันธุ์คู่ผสมที่เหมาะสมซึ่งนับว่าเป็นโครงการปรับปรุงพันธุ์ ที่คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เองจากสายพันธุ์ที่ปลูกในประเทศมากว่า 20 ปี  และมีขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์อย่างเป็นระบบภายใต้การดูแลและควบคุมจากนักวิชาการ  ที่มีความรู้และความชำนาญด้านการปรับปรุงพันธุ์ของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าพันธุ์ปาล์มที่ได้จะเป็นพันธุ์ปาล์มที่มีคุณภาพดีเหมาะสมกับพื้นที่ในประเทศไทย และเมื่อได้ต้นพ่อแม่พันธุ์และคู่ผสม ที่มีคุณภาพดีแล้วจะนำต้นพ่อแม่พันธุ์นั้นมาผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกร  ซึ่งใช้เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ที่ทันสมัยโดยใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 8 ปี นับว่าเป็นการตอบสนองต่อปัจจัยด้านพันธุ์ให้กับเกษตรกร    

รายละเอียดทั้งหมด