การจัดการความยั่งยืนในมิติสังคม

บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)  ได้ดำเนินงานโครงการ CSR (Corporate Social Responsibility) มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่การดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยความจริงใจ รวมทั้งสามารถดำเนินกิจการร่วมกับชุมชนและได้รับการยอมรับอย่างยั่งยืน

การดำเนินงานของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งการดำเนินงานทั้งในกระบวนการทางธุรกิจ และนอกเหนือกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กรขยายออกสู่ชุมชนใกล้เคียง ซึ่งพนักงานในบริษัทฯ ต่างได้มีส่วนช่วยเหลือ ร่วมมือร่วมใจช่วยกันส่งเสริมและจัดทำกิจกรรมต่างๆ ให้โครงการดังกล่าวขับเคลื่อนไปได้
         
ทั้งนี้ บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างศักยภาพโรงงานอุตสาหกรรม มุ่งสู่การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน จัดขึ้นโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดทำมาตรฐานว่าด้วยการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Responsibility, Department of Industrial Works : CSR-DIW) ที่ประกอบด้วยมาตรฐานหัวข้อหลัก 7 หัวข้อ คือ
1. การกำกับดูแลองค์กร (Corporate Governance)

2. สิทธิมนุษยชน  (Human Rights) 
3. การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor Practice)
4. สิ่งแวดล้อม (Environment)
5. การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Operating Practice)
6. ผู้บริโภค (Consumers Issue)
7. การมีส่วนร่วมต่อสังคมและชุมชน (Community involvement and Development)

1)      นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ เคารพในเกียรติของพนักงานในสถานที่ทำงานของบริษัทฯ และบริษัทฯ จะดำเนินการเพื่อรับประกันว่าพนักงานของบริษัทฯ จะมีสิทธิในด้านความปลอดภัยส่วนบุคคล ตลอดจนมีสิทธิที่จะมีสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย สะอาดและถูกสุขลักษณะ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ด้านการใช้แรงงานบังคับ : บริษัทฯ ไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ และจะไม่เรียกร้องหรือรับเงินเก็บประกัน บัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวใดๆ จากลูกจ้าง ไม่ว่าเมื่อเข้าทำงาน หรือรับเข้าทำงานแล้ว หรือเป็นเงื่อนไขในการรับเข้าทำงานเว้นแต่กฎหมายยกเว้นไว้ รวมทั้งไม่ใช้การลงโทษทางกาย หรือการคุกคามจากการถูกกระทำรุนแรง หรือรูปแบบอื่นๆ ของการข่มเหงทางกาย เพศ จิตใจ หรือทางวาจา เป็นมาตรการด้านระเบียบวินัยหรือการควบคุม
  • ด้านการใช้แรงงานเด็ก : บริษัทฯ จะไม่ว่าจ้างหรือสนับสนุนให้มีการว่าจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และจะไม่ให้หรือสนับสนุนให้แรงงานเด็กทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย หรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
  • ด้านการใช้แรงงานหญิง : บริษัทฯ จะต้องไม่ให้ลูกจ้างหญิงทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งบริษัทฯ ต้องจัดให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงาน หรืออยู่ในสภาพ แวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยต่อการมีครรภ์ รวมทั้งบริษัทฯ จะไม่เลิกจ้าง ลดตำแหน่ง หรือลดสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างหญิง เพราะเหตุจากการมีครรภ์
  • ด้านการเลือกปฏิบัติ : บริษัทฯ จะไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การจ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนการทำงาน การให้สวัสดิการ โอกาสได้รับการฝึกอบรมและพัฒนา การพิจารณาเลื่อนขั้น หรือตำแหน่งหน้าที่ การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุการทำงาน และจะไม่แทรกแซง ขัดขวาง หรือกระทำการใดๆ อันเป็นผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้สิทธิหรือวิธีปฏิบัติของลูกจ้าง อันเนื่องมาจากเหตุเพราะความแตกต่างในเรื่องสัญชาติ ศาสนา ภาษา อายุ เพศ สถานภาพการสมรส ทัศนคติส่วนตัวในเรื่องเพศ ความพิการ การติดเชื้อเอชไอวี การเป็นผู้ป่วยเอดส์ การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเป็นกรรมการลูกจ้าง ความนิยมในพรรคการเมือง หรือแนวคิดส่วนบุคคลอื่นๆ
  • ด้านเสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง : บริษัทฯ จะเคารพสิทธิลูกจ้างในการสมาคม การร่วมเจรจาต่อรอง การคัดเลือกหรือเลือกตั้งผู้แทน อำนวยความสะดวก และจะปฏิบัติต่อผู้แทนนั้นเท่าเทียมกับลูกจ้างอื่นๆ
  • ด้านความรับผิดชอบทางสังคมและแรงงาน : บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้พนักงานทุกคนของบริษัทฯ ปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน ภายใต้การคุ้มครองและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานทางสังคม และตามบทบัญญัติของกฎหมายแรงงานที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน สวัสดิการแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ และความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทำงาน และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยจะมีการทบทวน พัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอ
  • ด้านความรับผิดชอบดูแลลูกจ้างเกี่ยวกับการถูกคุมคามและหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมทั้งการใช้ความรุนแรงต่อสตรี : บริษัทฯ ได้มีมาตรการป้องกันมิให้ลูกจ้างของบริษัทฯ ถูกคุมคามและล่วงละเมิดทางเพศ โดยการแสดงออกด้วยคำพูด ท่าทาง การสัมผัสทางกาย หรือด้วยวิธีการอื่นใด รวมทั้งการใช้ความรุนแรงต่อสตรี หากลูกจ้างถูกคุมคาม และหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ บริษัทฯ จะดำเนินการพิจารณาโทษทางวินัยกับผู้ที่กระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด

แนวปฏิบัติ

  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด นโยบาย และระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด
  • ทบทวนนโยบาย แผนการจัดการ และติดตามผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ
  • เปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษชนของบริษัทฯ อย่างถูกต้องและโปร่งใส
  • ให้ความรู้พร้อมสนับสนุนกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกแก่พนักงานถึงด้านสิทธิมนุษยชน
  • จัดให้มีช่องทางร้องเรียนด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงาน เพื่อหาแนวทางป้องกันและบรรเทาผลกระทบ

การประเมินผลกระทบ

บริษัทฯ ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว พบว่าในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่พบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างมีนัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงเฝ้าระวังและดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

กลไกการร้องเรียนและมาตรการบรรเทาผลกระทบ

บริษัทฯ ได้กำหนดกลไกการร้องเรียนและมาตรการบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพในการควบคุมผลกระทบ โดยมีช่องทางให้ผู้ได้รับผลกระทบที่มีความไม่พอใจหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถยื่นร้องทุกข์ผ่านขั้นตอน กระบวนการสอบสวนและพิจารณา กระบวนการยุติข้อร้องทุกข์ รวมถึงกระบวนการเยียวยาที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

ช่องทางการร้องเรียน

ช่องทางการแจ้งผ่านระบบ CPI Hotline : https://www.cpihotline.com ซึ่งเป็นบริการช่องทางการแจ้งข้อมูล/ข้อร้องเรียนที่ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระโดยผู้ให้บริการภายนอก ในนามของ “บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)”

  • ช่องทางการแจ้งผ่านระบบ CPI Hotline สายด่วนเบอร์ 02-034-0284 ซึ่งเป็นบริการช่องทางการแจ้งข้อมูล/ข้อร้องเรียนที่ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระโดยผู้ให้บริการภายนอก ในนามของ “บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)”
  • กรณีพนักงานพบว่ามีเหตุอันควรสงสัย หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการประพฤติปฏิบัติใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืน พนักงานสามารถรายงานให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงในสายงานได้ทราบตามลำดับโดยทันที หรืออาจส่งข้อร้องเรียนไปยังบุคคลดังต่อไปนี้ ผู้บังคับบัญชาที่ตนไว้วางใจในทุกระดับ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน ผู้อำนวยการสายงานบริหารทรัพยากรบุคคล เลขานุการคณะกรรมการบริษัท หรือ กรรมการบริษัทฯ

เป้าหมาย

ไม่มีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมุนษยชน

ผลการดำเนินงาน

บริษัทฯ ได้มีการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามกฎหมาย ข้อกำหนด และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ ทำการแต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานติดต่อสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูงและดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงานไทย และจัดตั้ง คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อเป็นช่องทางในการควบคุมดูแล ปรึกษา ร้องเรียน และหารือร่วมกันระหว่างบริษัทฯ และ พนักงานเกี่ยวกับสวัสดิการ ผลประโยชน์ หรือการเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน โดยในปี 2566 บริษัทฯ ไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน

ข้อพิพาทด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

ข้อมูลสิทธิวันหยุด

สวัสดิการ

 หน่วย

สิทธิตามกฎหมายกำหนด

สิทธิที่บริษัทฯ มอบให้พนักงาน

ปี 2566

ปี 2565

ปี 2564

จำนวนวันเพื่อเลี้ยงดูบุตรสำหรับพนักงานหญิง

วัน

98

98

98

98

พนักงานที่ใช้สิทธิ์ลาคลอดและเลี้ยงดูบุตร

คน

 

4

12

4

พนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากใช้สิทธิ์ลาคลอดและเลี้ยงดูบุตร

คน

 

4

3

4

พนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากใช้สิทธิ์ลาคลอดและเลี้ยงดูบุตร และยังคงทำงานอยู่กับบริษัทฯ ต่อไปอีก 12 เดือน

คน

 

4

3

4

วันหยุดตามประเพณี

วัน

ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน

16

16

16

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

วัน

ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน

6-12 วัน

6-10 วัน

6-10 วัน

วันลากิจ

วัน

3 วัน

6 วัน

6 วัน

6 วัน


2)      นโยบายการสรรหาว่าจ้าง การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การพัฒนา และการปฏิบัติต่อพนักงาน

บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าพนักงานของบริษัทฯ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จ บริษัทฯ จึงปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน และนำเอาความต้องการของพนักงานมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา เพื่อสรรค์สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพนักงานกับบริษัทฯ มุ่งสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ พร้อมทั้งเพิ่มพูนศักยภาพของพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็บริหารจัดการเพื่อให้เกิดความมั่นคงและความ ก้าวหน้าในอาชีพของพนักงาน

แนวปฏิบัติ

  • ดำเนินการสรรหาด้วยระบบการคัดเลือกและมีเงื่อนไขในการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาคและเป็นธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งพนักงานที่มีคุณสมบัติครบถ้วน มีคุณภาพ และมีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงตามมาตรฐานที่บริษัทฯ ต้องการ
  • ประเมินผลการปฏิบัติงาน และบริหารค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความสามารถของพนักงานเป็นรายบุคคล การจัดให้มีสวัสดิการที่เป็นธรรมและมีความเหมาะสมแก่พนักงาน รวมทั้งดูแลและปรับปรุงให้มีความเหมาะสมเป็นปัจจุบัน มีความสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และตลาดการจ้างงานในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • ให้การพัฒนาพนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกสายวิชาชีพอย่างทั่วถึง เพียงพอ และต่อเนื่องบนพื้นฐานและความเหมาะสมของบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณธรรม การมีจิตอาสา การอนุรักษ์ธรรมชาติชุมชนและสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมของการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันขององค์กร พร้อมทั้งปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้พนักงานมีวินัยในการทำงาน
  • ปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึก และส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ สร้างบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ดี เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีความสุขเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน และสามารถบริหารดุลยภาพระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัวได้อย่างเหมาะสม
  • บริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งจัดให้มีระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นสากล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน
  • ให้การดูแลพนักงานอย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม ให้เกียรติ ให้ความเคารพ และให้การปกป้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของพนักงานมิให้ถูกละเมิด ให้การสนับสนุนส่งเสริมสิทธิในการแสดงออก และการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน รวมทั้งพิจารณาและให้ความเคารพในความเห็นต่าง
  • จัดให้มีระบบร้องเรียน และช่องทางที่หลากหลายในการแจ้งข้อมูลเบาะแสของพฤติกรรมอันไม่สอดคล้องกับจรรยาบรรณบริษัท หรือพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ รวมทั้งจัดให้มีระบบการปกป้องพนักงานหรือผู้ร้องเรียนดังกล่าว มิให้ถูกกลั่นแกล้ง ได้รับโทษ หรือได้รับความเดือดร้อนจากการร้องเรียน (Whistle Blower Policy)
  • ส่งเสริม และจัดให้มีช่องทางที่หลากหลายในการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารต่างๆ แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานมีข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจ และได้รับทราบผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ

เป้าหมาย

ไม่มีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน

ผลการดำเนินงาน

บริษัทฯ ได้ดำเนินการสรรหาด้วยระบบการคัดเลือกและมีเงื่อนไขในการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาคและเป็นธรรม ทำประเมินผลการปฏิบัติงานและบริหารค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความสามารถของพนักงานเป็นรายบุคคล ให้การพัฒนาพนักงานทุกคนทุกระดับ โดยในปี 2565 บริษัทฯ ไม่มีข้อร้องเรียนด้านแรงงาน

ข้อพิพาทด้านแรงงานที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านแรงงานที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

จำนวนข้อมูลพนักงานประจำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566

ระดับของพนักงาน

เพศชาย

เพศหญิง

รวมจำนวน

จำนวน

(คน)

(%)

จำนวน

(คน)

(%)

จำนวน

(คน)

(%)

พนักงานสำนักงานกรุงเทพ

 

 

 

 

 

 

 

พนักงานระดับบริหาร

9

0.98

9

0.98

18

1.96

 

พนักงานระดับหัวหน้างาน

2

0.22

5

0.55

7

0.77

 

พนักงานระดับวิชาชีพ

13

1.42

23

2.51

36

3.93

 

พนักงานระดับปฏิบัติการ

7

0.77

2

0.22

9

0.99

พนักงานสำนักงานชุมพร

 

 

 

 

 

 

 

พนักงานระดับบริหาร

7

0.77

5

0.55

12

1.32

 

พนักงานระดับหัวหน้างาน

27

2.95

13

1.42

40

4.37

 

พนักงานระดับวิชาชีพ

34

3.72

36

3.93

70

7.65

 

พนักงานระดับปฏิบัติการ

476

52.02

247

26.99

723

79.01

รวมพนักงานประจำ

575

62.85

340

37.15

915

100


จำนวนข้อมูลพนักงานแยกตามช่วงอายุ

ช่วงอายุของพนักงาน เพศชาย เพศหญิง รวมจำนวน

จำนวน

(คน)
(%)

จำนวน

(คน)
(%)

จำนวน

(คน)
(%)
อายุ 50 ปีขึ้นไป  88 9.62 44 4.81 132 14.43
อายุ 30-50 ปีขึ้นไป  318 34.75 191 20.87 509 55.62
อายุน้อยกว่า 30 ปี 169 18.47 105 11.48 274 29.95
รวมพนักงานประจำ 575 62.84 340 340 915 100

โดยในปี 2566 บริษัทฯ จะต้องทำการว่าจ้างพนักงานที่เป็นผู้พิการตามอัตราจำนวน 9 คน (ตามจำนวนลูกจ้าง ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 มีลูกจ้างทั้งหมด 915 คน) บริษัทฯ ได้ทำการว่าจ้างพนักงานที่เป็นผู้พิการซึ่งอยู่ในพนักงานระดับปฏิบัติการจำนวน 4 คน และได้จัดส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 598,600 บาท ครบถ้วนแล้ว

หมายเหตุ     ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

  • มาตรา 33 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ รับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในสัดส่วนที่เหมาะสมในอัตรา 100 คนต่อ คนพิการ 1 คน
  • มาตรา 34 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนดตามมาตรา 33 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วย 365 วัน คูณด้วยจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน

 

จำนวนข้อมูลพนักงานเข้าใหม่ ปี 2566

ระดับของพนักงาน

เพศชาย

เพศหญิง

รวมจำนวน

จำนวน

(คน)

(%)

จำนวน

(คน)

(%)

จำนวน(คน)

(%)

พนักงานสำนักงานกรุงเทพ

 

 

 

 

 

 

 

พนักงานระดับบริหาร

3

2.26

2

1.50

5

3.76

 

พนักงานระดับหัวหน้างาน

พนักงานระดับวิชาชีพ

0

7

0.00

5.26

0

9

0.00

6.77

0

16

0.00

12.03

 

พนักงานระดับปฏิบัติการ

0

0.00

1

0.75

1

0.75

 

ผู้พิการ

0

0.00

0

0.00

0

0.00

พนักงานสำนักงานชุมพร

 

 

 

 

 

 

 

พนักงานระดับบริหาร

0

0.00

0

0.00

0

0.00

 

พนักงานระดับหัวหน้างาน

พนักงานระดับวิชาชีพ

0

11

0.00

8.27

1

7

0.75

5.26

1

18

0.75

13.53

 

พนักงานระดับปฏิบัติการ

61

45.86

31

23.31

92

69.17

 

ผู้พิการ

0

0.00

0

0.00

0

0.00

รวมพนักงานเข้าใหม่

82

61.65

51

38.34

133

100

หมายเหตุ ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ได้ดำเนินการตามนโยบายการจ้างพนักงานรัฐ โดยพิจารณาประวัติการทำงานของผู้สมัคร เพื่อคัดเลือกและนำเสนออนุมัติการว่าจ้างพนักงานใหม่ โดยในปี 2567 บริษัทฯ ไม่ได้มีการคัดสรรว่าจ้างพนักงานรัฐเข้าเป็นพนักงานบริษัทฯ  และพนักงานใหม่ที่ได้อนุมัติว่าจ้างเข้าเป็นพนักงานบริษัทฯ ไม่ได้เป็นพนักงานรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา


จำนวนข้อมูลพนักงานลาออก ปี 
2566

ระดับของพนักงาน

เพศชาย

เพศหญิง

รวมจำนวน

จำนวน

(คน)

(%)

จำนวน

(คน)

(%)

จำนวน(คน)

(%)

พนักงานสำนักงานกรุงเทพ

 

 

 

 

 

 

 

พนักงานระดับบริหาร

2

1.53

2

1.53

4

3.81

 

พนักงานระดับหัวหน้างาน

พนักงานระดับวิชาชีพ

0

6

0.00

4.58

0

14

0.00

10.69

0

20

0.00

19.05

 

พนักงานระดับปฏิบัติการ

1

0.76

1

0.76

2

1.90

 

ผู้พิการ

0

0.00

0

0.00

0

0.00

พนักงานสำนักงานชุมพร

 

 

 

 

 

 

 

พนักงานระดับบริหาร

3

2.29

1

0.76

4

3.81

 

พนักงานระดับหัวหน้างาน

พนักงานระดับวิชาชีพ

4

6

3.05

4.58

0

6

0.00

4.58

4

12

3.81

11.43

 

พนักงานระดับปฏิบัติการ

48

36.64

37

28.24

85

80.95

 

ผู้พิการ

0

0.00

0

0.00

85

0.00

รวมพนักงานลาออก

70

53.44

61

46.56

131

100


การส่งเสริมความสัมพันธ์และการรักษาพนักงาน

บริษัทฯ สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับทุกภาคส่วนผ่านการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น การจัดกิจกรรม Town Hall Meeting เพื่อให้พนักงานได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างพนักงานกับผู้บริหารระดับสูง กิจกรรม Walk Rally เพื่อให้พนักงานได้ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นทีม เป็นต้น และหลังจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันที่เกิดจากวิกฤตการณ์ Covid-19 บริษัทฯ มีการเสริมกลยุทธ์เพื่อที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้กับองค์กร ซึ่งเริ่มจากการปฏิบัติตั้งแต่วันแรกของการเริ่มงานไปจนถึงการให้ความรู้ การสื่อสารกับพนักงาน ผู้บริหารและผู้นำองค์กร อย่างสม่ำเสมอและตรงไปตรงมา ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับได้พัฒนาตนเองและปรับตัวให้ทันต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป พร้อมกับสร้างความผูกพันภายในองค์กร เพื่อรักษาพนักงานซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

แนวปฏิบัติ

  • การให้รางวัล คำชมที่ดี ซึ่งถือเป็นแรงกระตุ้นเชิงบวกที่ทำให้พนักงานรู้สึกมีแรงผลักดันในการทำงานของตนว่าสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาได้ทำอย่างถูกต้องถูกวิธีตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้
  • เปิดโอกาสให้พนักงานเสนอแนะวิธีการ แนวความคิด เพื่อให้ได้มีส่วนรวมในการทำงานนั้นๆ เพื่อให้รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการประสบความสำเร็จไปพร้อมกับบริษัทฯ
  • จัดโปรแกรม Onboarding Program เพื่อให้พนักงานใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ รวมทั้งเข้าใจแก่นแท้ของธุรกิจที่ตนเข้ามาร่วมงาน
  • เพิ่มช่องทางการสื่อสารออนไลน์ เพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าถึงข้อมูล สามารถร้องเรียนหรือขอคำปรึกษาได้ทุกที่ ทุกเวลา
  • การสื่อสารเพื่อให้พนักงานเข้าใจและเห็นเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพไปจนถึงการก้าวขึ้นสู่เส้นทางของการเป็นผู้บริหารขององค์กร

ผลการดำเนินงาน

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินการดังนี้

  • ได้มีการจัดโครงการการจัดการสวนปาล์มอย่างมืออาชีพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Onboarding Program พนักงานได้เรียนรู้และเข้าใจถึงแหล่งที่มา การดูแลรักษาสวนปาล์มเพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูงสุด
  • สร้างช่องทางการสื่อสารผ่านทาง Line OA ภายใต้ชื่อ CPI Connext เป็นช่องทางการสื่อสารที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงได้
  • จัดกิจกรรมเพื่อสื่อสารกับพนักงานกลุ่มความสามารถสูง (Talent Pool) ให้เข้าใจถึงเส้นทางการพัฒนาอาชีพ เส้นทางการเติบโตไปสู่ตำแหน่งบริหารขององค์กร
  • จัดกิจกรรม Town Hall Meeting โดยคัดสรรกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติเข้าร่วมเพื่อรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างพนักงานและผู้บริหาร
  • จัดกิจกรรม Walk Rally เพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้กับพนักงาน ร่วมถึงแสดงความเห็นสิ่งที่ชอบและไม่ชอบภายในองค์กร เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป

อัตราการลาออกของพนักงานประจำ
อัตราการลาออกของพนักงานประจำปี 2566 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 11.48 ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 12.43 โดยในปี 2567 ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลมีแผนการจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน เพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรและสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมระหว่างหน่วยงาน รวมถึงแผนการทำแบบสำรวจความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Survey) เพื่อทราบถึงมุมมองของพนักงานที่มีต่อบริษัทฯ ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงาน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาทำแผนงานในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายใน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยลดอัตราการลาออกให้ลดน้อยลง   

ข้อมูล

หน่วย

ปี 2565

ปี 2566

จำนวนพนักงานรวมที่ลาออกโดยความสมัครใจ (Turn over rate)

คน

107

105

ร้อยละของจำนวนพนักงานรวมที่ลาออกโดยความสมัครใจต่อพนักงานทั้งหมด

%

12.43

11.48

จำนวนพนักงานชายที่ลาออกโดยความสมัครใจ

คน

64

61

ร้อยละของจำนวนพนักงานชายที่ลาออกโดยความสมัครใจ

%

12.05

6.67

จำนวนพนักงานหญิงที่ลาออกโดยความสมัครใจ

คน

43

44

ร้อยละของจำนวนพนักงานหญิงที่ลาออกโดยความสมัครใจ

%

13.03

4.81

ข้อพิพาทด้านแรงงานที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจ

มี / ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี

 

3)      นโยบายการพัฒนาฝึกอบรม กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน  

บริษัทฯ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงคุณค่าของบุคลากรทุกระดับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่การทำงานในองค์กร ดังนั้น จึงได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร และมุ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตของพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีวิธีการพัฒนาบุคลากรด้วยรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมประจำปีที่เหมาะสมให้แก่ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานในระดับต่างๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการสร้างทายาทหรือผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) เพื่อรองรับตำแหน่งงานที่สำคัญที่จะเกษียณอายุภายใน 5 ปี ภายในองค์กร และเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในได้มีโอกาสเรียนรู้และเติบโต นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเน้นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการทำงานในกระบวนการผลิตและด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นประจำ  ซึ่งการพัฒนาบุคลากรดังกล่าวนั้น ได้จัดให้มีการอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความพร้อมในการที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้  รวมทั้งบริษัทฯ ยังได้ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมและปลูกฝังให้พนักงานทุกระดับให้มีความตระหนักในเรื่องของการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น โดยถือเป็นนโยบายหลักที่จะต้องดำเนินการและทบทวนให้มีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

กรอบการดำเนินงานพัฒนาทักษะและโอกาสทางอาชีพของพนักงานอย่างยั่งยืน

  • การให้ความสำคัญกับการสรรหาบุคลากรที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับงานและค่านิยมขององค์กร รวมถึงการเตรียมความพร้อมก่อนบรรจุเป็นพนักงาน
  • การพัฒนาความความสามารถของบุคคลกรภายหลังบรรจุเป็นพนักงาน
  • การพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงและการวางแผนสืบทอดตำแหน่งในอนาคต
  • การประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาความสามารถของพนักงาน
  • การดูแลและมอบโอกาสกับบุคลากรเกษียณอายุ

กระบวนการพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพสูง

  • การคัดเลือกพนักงานที่เข้าหลักเกณฑ์เบื้องต้น
  • การประเมินศักยภาพ
  • สรุปผลงาน
  • รายงานผลการคัดเลือกและวางแผนการพัฒนาศักยภาพ
  • การประเมินและติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนา
  • การรายงานความก้าวหน้าของการพัฒนาแก่คณะกรรมการ

ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา
ในปี 2566 บริษัทฯ มีการจัดอบรมทั้งภายในและภายนอก ให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างทั่วถึง มีการจัดโปรแกรม Leadership Development Program เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหารซึ่งเป็นกำลังสำคัญของบริษัทฯ ในการรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การอบรมพัฒนาของกรรมการ ปี 2566 -ไม่มี-


สถิติการฝึกอบรมพัฒนาของพนักงาน

ข้อมูล

 หน่วย

ปี 2566

ปี 2565

ปี 2564

จำนวนการฝึกอบรม

ชั่วโมง

23,089

11,637

6,033

เป้าหมายการฝึกอบรม

ชั่วโมง/คน/ปี

6

6

6

จำนวนการฝึกอบรมเฉลี่ย

ชั่วโมง/คน/ปี

29.12

15.70

8.82

จำแนกตามเพศ

 

 

 

 

ชาย

ชั่วโมง/คน/ปี

17.79

12.99

5.03

หญิง

ชั่วโมง/คน/ปี

11.32

14.36

12.55

จำแนกตามระดับ

 

 

 

 

พนักงานระดับบริหาร

ชั่วโมง/คน/ปี

2.94

17.68

9.70

พนักงานระดับหัวหน้างาน

ชั่วโมง/คน/ปี

6.37

50.85

15.96

พนักงานระดับปฏิบัติการ

ชั่วโมง/คน/ปี

19.80

9.86

5.87

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

บาท/ปี

1,974,757

519,944

114,310

หมายเหตุ   หลักสูตรอบรมมีดังนี้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, AI for Business Leader Course, เทคนิคการวิเคราะห์อัตรากำลังเพื่อการวางแผนกำลังคน, Learning & Development Forum, ความปลอดภัย อาชีว-อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน, เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพสำหรับ CPI, ความรู้ในงานจัดซื้อเพื่อการลดต้นทุน, ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจบริษัท, กระบวนการผลิต, ISO, GMP, HACCP, RSPO,นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน จรรยาบรรณบริษัท ฯลฯ

หลักสูตรอบรมมีดังนี้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน, ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจบริษัท, กระบวนการผลิต, ISO, GMP, HACCP, RSPO,นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน จรรยาบรรณบริษัท, Leadership Development Program หลักสูตร LDP 102 Excellent Manager, Communication for High Performance, Introduction ข้อกำหนด FSSC 22000 V.6, การใช้งานและบำรุงรักษา Hook Lift อย่างถูกวิธี, Effective Meeting and Communication ฯลฯ


การอบรมพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) ณ ปี 2566

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างทายาทหรือผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) เพื่อรองรับตำแหน่งงานที่สำคัญที่จะเกษียณ โดยแบ่งเป็นกลุ่มเร่งด่วนที่จะเกษียณอายุงานภาย 3-5 ปี และกลุ่มตำแหน่งงานต่อเนื่อง โดยคัดสรรพนักงานที่มีศักยภาพสูงภายในองค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในได้มีโอกาสเรียนรู้และเติบโตในระดับหน้าที่การงานไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารขององค์กร

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาเครื่องมือในกระบวนการสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) ขึ้นมาใหม่ มีการประชุมของฝ่ายบริหารเพื่อชี้แจงขั้นตอนการประเมินและการวางแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ให้กับผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) ซึ่งกำหนดความถี่ในการประชุมเพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาของผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) ไว้เป็นประจำทุกไตรมาส และสรุปรายงานต่อคณะกรรมการบริหารอย่างสม่ำเสมอ

Successor

ระดับแผนก

ระดับฝ่าย

รวม

ตำแหน่งงานเร่งด่วน
(พนักงานที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาเพื่อทดแทนพนักงานที่กำลังจะเกษียณอายุงานภายในอีก 3-5 ปีข้างหน้า)

11 คน

7 คน

18 คน

ตำแหน่งงานต่อเนื่อง
(พนักงานที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาในตำแหน่งงานระดับผู้บริหารหรือหัวหน้างาน)

18 คน

11 คน

29 คน


4)    นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

        บริษัทฯ มีความห่วงใยต่อชีวิต สุขภาพของพนักงานทุกคน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ดังนี้

1)    ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานทุกระดับที่ต้องปฏิบัติตามอย่างจริงจัง

2)    สื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3)    ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน และเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย

4)    ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานทั้งหมด มีความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี และเหมาะสมสำหรับพนักงาน คู่ค้า และชุมชน

5)    เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร

เป้าหมาย อุบัติเหตุของพนักงานถึงขั้นหยุดงานต้องเป็น “ศูนย์”

ในปี 2566 มีอุบัติเหตุถึงขึ้นหยุดงาน  1  ราย  ทั้งนี้ได้กำหนดมาตรการแก้ไขสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเรียบร้อยแล้ว

ผลการปฏิบัติงานในปี 2566 :

1)   บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 โดยมีการแต่งตั้งผู้บริหารเป็นตัวแทนฝ่ายนายจ้างและตัวแทนพนักงานเป็นตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง เพื่อพิจารณานโยบาย และแผนงานความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ สำหรับลูกจ้างและบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงาน รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม และการอบรมด้านความปลอดภัยฯ พร้อมจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมสวัสดิภาพของพนักงานอย่างเหมาะสม

2)    บริษัทฯ ได้มีการดำเนินการเน้นงานหลักและรณรงค์ ส่งเสริม และสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดของลูกค้าเพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนา-มัยและสิ่งแวดล้อม รวมถึงจัดอบรมเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม อยู่สม่ำเสมอ อีกทั้งจัดให้มีการให้หน่วยงานภายนอกข้ามาทำการตรวจประเมินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนา-มัยว่ามีการดำเนินการสอดคล้องตามกฎหมายหรือไม่ พร้อมทั้งมีการติดตามการดำเนินการปรุงปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง

3)    บริษัทฯ ได้ทำการฝึกซ้อมดับเพลิงเป็นประจำทุกเดือน เนื่องจากมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งพนักงานและบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานเกิดความชำนาญและมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การดับเพลิง รวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่จะร่วมช่วยกันเมื่อพบเหตุการณ์เพลิงไหม้ได้

4)    บริษัทฯ ยังคงตระหนักและมุ่งเน้นในเรื่องการปราศจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดจากการทำงานกับเครื่องจักรหรืออัคคีภัยต่างๆ  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมากกับ
บริษัทฯ พนักงาน และชุมชนรอบข้าง โดยในปี 2566 บริษัทฯ จึงมีการทบทวนปรับปรุงงานด้านความปลอดภัยโดยดำเนินการตรวจประเมิน 5 ส ในองค์กรเพื่อเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทำงานให้น่าอยู่ และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากสภาพพื้นที่การทำงานไม่มีความปลอดภัยโดยมีการตรวจปกระเมินทุกเดือนและให้มีติดตามผลการดำเนินการแก้ไข

การดำเนินการ   :      วิเคราะห์สอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุเพื่อนำไปสู่มาตรการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ พร้อมทั้งจัดทำรายงานเหตุการณ์ การดำเนินการแก้ไขป้องกัน

การปรับปรุง       :      ดำเนินการปรับมาตรการดูแลป้องกันในเรื่องอัคคีภัยและเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในบริษัทฯ รวมทั้งมาตรการดูแลเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบกับพนักงานและชุมชนรอบข้าง อีกทั้งมีการจัดทำระบบ QR code เพื่อใช้ในการทวนสอบและติดตามการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงในแต่ละหน่วยงานเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติการณ์ต่าง ๆ

                         :      ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงต่างๆ ภายในพื้นที่บริษัทเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์

การติดตามผล   :      กำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการทำงานขององค์กร (KPI) ตั้งเป้าหมายเรื่องอุบัติเหตุและปัญหาสิ่งแวดล้อมไว้ในเป้าหมายองค์กร และกำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการทำงาน (KPI) องค์กรเป็นประจำทุกเดือนและมีการรายงานให้ผู้บริหารรับทราบ

 

สถิติการอบรมเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม

หลักสูตร

เป้าหมาย

ชั่วโมงอบรม

ผลการอบรม
ปี 2566

จป.ระดับหัวหน้างาน

ระดับหัวหน้างาน

47 คน

12 ชั่วโมง

47 คน

จป.ระดับบริหาร

ระดับบริหาร

24 คน

12 ชั่วโมง

24 คน

พรบ.คปภ.สำหรับลูกจ้าง

พนักงาน

724 คน

6 ชั่วโมง

724 คน


สถิติการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

ข้อมูล

หน่วย

ปี 2566

ปี 2565

ปี 2564

ปี 2563

จำนวนวันในการทำงาน

วัน

365

365

365

365

การเดินเครื่องจักร

ชั่วโมง

200,000

200,000

200,000

200,000

อุบัติเหตุในการทำงาน

 

 

 

 

 

พนักงานชาย

คน

2

2

8

5

พนักงานหญิง

คน

0

0

0

0

อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน

 

 

 

 

 

พนักงานชาย

คน

1

0

1

5

พนักงานหญิง

คน

0

0

0

0

อุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ

 

 

 

 

 

พนักงานชาย

คน

0

0

0

0

พนักงานหญิง

คน

0

0

0

0

อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต

 

 

 

 

 

พนักงานชาย

คน

0

0

0

0

พนักงานหญิง

คน

0

0

0

0

จำนวนการเกิดเพลิงไหม้

ครั้ง

0

0

0

0

ข้อพิพาทด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา


5)      นโยบายการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้

บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ อย่างเคร่งครัดดังต่อไปนี้

  • บริษัทฯ ได้มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเป็นธรรมและโปร่งใส โดยไม่เอาเปรียบต่อเจ้าหนี้ของบริษัทฯ
  • ไม่ใช้วิธีการทุจริต หรือปกปิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริงสำคัญใดๆ ที่อาจทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงของสัญญาต่างๆ ที่ได้ทำไว้กับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างเคร่งครัด ถูกต้องตรงไปตรงมา โดยเฉพาะเรื่อง เงื่อนไขค้ำประกัน การบริหารเงินทุน และกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระหนี้
  • ชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างครบถ้วนและตรงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงไว้

เป้าหมายในปีจำนวนข้อร้องเรียนจากเจ้าหนึ้เป็น “ศูนย์”

ในปี 2566 บริษัทฯ ไม่ได้รับการร้องเรียนจากเจ้าหนี้

ผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ สามารชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้ตามเงื่อนไขและตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ของสัญญาและพันธทางการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการชำระคืนเงินต้น ดอกเบี้ย และการดูแลหลักประกันต่างๆ ภายใต้สัญญาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริต ปกปิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริง อาจจะทำให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย กรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่บริษัทฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง บริษัทฯ จะรีบทำการแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข

ข้อพิพาทด้านการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

6)      นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ให้บริการ และคู่แข่ง

บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ให้บริการ และคู่แข่ง ด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ อย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้
1)  บริษัทฯ เชื่อมั่นในระบบการค้า และการแข่งขันแบบเสรี บริษัทฯ จึงถือปฏิบัติต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางการค้า และดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด

2)  บริษัทฯ ไม่ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เบียดเบียนกัน รวมทั้งการประกอบธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม ไร้จริยธรรม และขัดต่อกฎหมายในทุกรูปแบบ
3)  บริษัทฯ กำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และนำมาปฏิบัติต่อลูกค้า ต่อคู่ค้า และคู่แข่งขันทางธุรกิจ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และมีเหตุผลอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ในทุกกรณี

เป้าหมายในปี 2566 จำนวนข้อร้องเรียนจากลูกค้าไม่เกิน 10 เรื่อง

จากสถิติพบว่ามีการร้องเรียนจำนวน 9 เรื่อง ยังคงอยู่ในเกณฑ์ตามที่กำหนด บริษัทฯ ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อบกพร่อง และหาวิธีการแก้ไขป้องกันเพื่อลดจำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้า ทั้งนี้จากข้อร้องเรียนที่ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหาย 9 เรื่อง บริษัทฯ ได้ตรวจสอบและได้ทำการส่งสินค้าทดแทนตามปริมาณที่ได้เกิดความเสียหายจากต้นทางที่บริษัทฯ เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบ

แนวการปฏิบัติการพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า

ฝ่ายขายและการตลาดจะทำการส่งแบบฟอร์มการประเมินความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อทำการประเมิน ด้านการบริการของพนักงานขาย ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านคุณภาพและมาตรฐสินค้า ด้านการบริการของพนักงานขับรถขนส่ง ด้านคุณภาพขนส่ง และด้านการบริการของพนักงานบัญชี เพื่อรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น ปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ จากกลุ่มลูกค้า นำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาสินค้า การบริการ และระบบงานในแต่ละฝ่ายแต่ละกระบวนการ เพื่อตอบสนองกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างสูงสุด

ผลการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า

ฝ่ายขายและการตลาดทำการส่งแบบประเมินให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายจำนวน 193 ราย ได้รับการตอบแบบสำรวจจำนวน 191 ราย จากผลประเมินในปีที่ผ่านมาลูกค้ามีความพึงพอใจต่อบริษัทฯ ที่ร้อยละ 88.99 โดยแยกเป็นความพึงพอใจเกี่ยวกับตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 90.87 ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้าทั้งในด้านคุณภาพน้ำมันและบรรจุภัณฑ์ ส่วนความพึ่งพอใจด้านการบริการค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 88.62 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.68

ข้อมูล

หน่วย

ปี 2566

ปี 2565

ปี 2564

ปี 2563

ดัชนีความพึงพอใจของลูกค้า

ร้อยละ

88.99

88.01

87.18

83.87

จำนวนข้อร้องเรียนที่ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหาย

เรื่อง

9

9

4

0

จำนวนข้อร้องเรียนที่ผลิตภัณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย

เรื่อง

0

0

0

0

จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลด้านการขายและการตลาด

เรื่อง

0

0

0

0

จำนวนข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือการรั่วไหลข้อมูลของลูกค้า

เรื่อง

0

0

0

0

จำนวนข้อร้องเรียนการชำระเงินล่าช้า

เรื่อง

0

0

0

0

จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

เรื่อง

0

0

0

0


ข้อพิพาทด้านปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ให้บริการ และคู่แข่งในปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ให้บริการ และคู่แข่งที่สำคัญในปีที่ผ่านมา

7)      นโยบายการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปถูกลิขสิทธิ์

บริษัทฯ มีนโยบายให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลดังกล่าว บริษัทฯ ได้ออกแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ถอดโปรแกรมสำเร็จรูปบางโปรแกรมออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงาน
  • สำรวจและปรับปรุงจำนวนโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ในระบบสารสนเทศของบริษัทฯ ให้มีความเพียงพอ เหมาะสม และมีความสอดคล้องกับธุรกรรมของบริษัทฯ

ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องของบริษัทฯ มีการใช้งานเฉพาะโปรแกรมสำเร็จรูปที่ซื้อถูกต้องตามลิขสิทธิ์โดยบริษัทฯ เท่านั้น

บริษัทฯ ไม่สนับสนุนให้พนักงานใช้/นำมาใช้ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นความผิดร้ายแรงตามกฎหมายและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรในอนาคต หากพนักงานใดฝ่าฝืนนำโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์มาใช้ในงานของบริษัทฯ พนักงานนั้นจะต้องรับโทษทางวินัยของบริษัทฯ และรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว หากถูกเจ้าของลิขสิทธิ์ดำเนินการทางกฎหมายใดๆ

เป้าหมาย

ต้องไม่มีพนักงานนำโปรแกรมสำเร็จรูปที่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ

ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา

ฝ่ายสารสนเทศ มีแผนการตรวจการใช้โปรแกรมในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของพนักงานเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งได้ติดตั้งระบบการกำหนดการติดตั้งโปรแกรม เมื่อมีการติดตั้งโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ของ
บริษัทฯ จะมีระบบการเข้ารหัสอนุญาตในการติดตั้งของเจ้าหน้าที่สารสนเทศทุกครั้งจึงจะสามารถทำการติดตั้งโปรแกรมนั้นได้

ข้อพิพาทด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปไม่ถูกลิขสิทธิ์ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ไม่ถูกลิขสิทธิ์ที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

8)      นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานสำคัญในความเป็นส่วนตัวที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 และเพื่อให้การปฏิบัติงานของบริษัทฯ เป็นไปตามหลักการสากลในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 พร้อมทั้งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

         บริษัทฯ ได้ดำเนินตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างรัดกุม โดยแต่งตั้งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อทำหน้าที่ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลให้สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบ

เป้าหมาย

ไม่ได้รับการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล

ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา

ได้ดำเนินการจัดอบรมและให้ความรู้กับพนักงานทุกระดับเรื่องนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมทั้งประสานงานกับทุกหน่วยงานเพื่อแสดงเจตจำนงต่อพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ในเรื่องการรักษาสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทฯ จะไม่ทำการเปิดเผยข้อมูลของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้กับบุคคลอื่น ทั้งนี้ในกรณีที่บริษัทฯ จะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องได้รับความยินยอมจากพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ก่อนทุกกรณี

ข้อพิพาทด้านการละเมิดสิทธิเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านการละเมิดสิทธิเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา


9)      นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม

บริษัทฯ ได้ดำเนินงานโครงการ CSR (Corporate Social Responsibility) มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่การดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยความจริงใจ รวมทั้งสามารถดำเนินกิจการร่วมกับชุมชนและได้รับการยอมรับอย่างยั่งยืน การดำเนินงานของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งการดำเนินงานทั้งในกระบวนการทางธุรกิจ และนอกเหนือกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กรขยายออกสู่ชุมชนใกล้เคียง ซึ่งพนักงานในบริษัทฯ ต่างได้มีส่วนช่วยเหลือ ร่วมมือร่วมใจช่วยกันส่งเสริมและจัดทำกิจกรรมต่างๆ ให้โครงการดังกล่าวขับเคลื่อนไปได้

บริษัทฯ ได้มีแผนกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกิจกรรมต่อชุมชนและสังคมรอบสำนักงานชุมพร โดยในปี 2566 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 736,188 บาท สำหรับกิจกรรมดังต่อไปนี้

  • มอบของขวัญวันเด็กให้กับโรงเรียนในพื้นที่รอบเขตที่ตั้งโรงงาน
  • สนับสนุนกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด
  • สนับสนุนกิจกรรมกีฬาแบดมินตัน เพื่อมอบอุปกรณ์การแพทย์แก่กู้ภัยสว่างประตูภาคใต้
  • สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนในพื้นที่รอบเขตที่ตั้งโรงงาน
  • สนับสนุนน้ำดื่มให้กับกิจกรรมหมู่บ้านในพื้นที่รอบเขตที่ตั้งโรงงาน
  • เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านรอบเขตที่ตั้งโรงงานเพื่อรับฟังปัญหาและนำมาปรับแก้ไข
  • สนับสนุนกิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้
  • จัดฝึกอบรมการจัดการสวนปาล์มอย่างมืออาชีพให้กับเกษตรกรและบุคคลที่สนใจในการปลูกปาล์ม
  • สนับสนุนเงินเพื่อช่วยพัฒนาระบบน้ำประปาให้กับชุมชน
  • ร่วมจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุประจำปี 2566
  • ร่วมพัฒนาชุมชนโดยการซ่อมไฟถนน ซ่อมหลังคาอาคารประชุมของหมู่บ้าน
  • ร่วมพัฒนารื้อสาหร่ายคลองทุ่งโพธิ์ จังหวัดชุมพร
  • มอบกระเบี้องมุงหลังคาเพื่อซ่อมแซมต่อเติมบ้านที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้
  • มอบเครื่องวัดความดันให้กับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทรายทอง
  • ถวายปัจจัย เครื่องไทยทาน กิจกรรมวันเข้าพรรษา
  • ร่วมทอดกฐินกับวัดรอบเขตพื้นที่โรงงาน
  • มอบสิ่งของเพื่อสนับสนุนกิจกรรมป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงปีใหม่

เป้าหมาย

จัดกิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือสังคมในระยะพื้นที่ 5-10 กิโลเมตรรอบโรงงาน พร้อมทั้งเข้าร่วมประชุมหมู่บ้านรอบเขตที่ตั้งโรงงาน เพื่อร่วมประชุมรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข หรือช่วยพัฒนาชุมชน สังคมต่อไป

ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา

ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านสังคมในระยะพื้นที่ 5-10 กิโลเมตรรอบโรงงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และได้เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้บริษัทฯ ไม่ได้รับข้อร้องเรียนจากชุมชน และบริษัทฯ ได้เข้าร่วมพัฒนาชุมชนในกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละชุมชนหมู่บ้านที่จัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง