ปัญหา ปาล์มขาดคอ คืออะไร
1. สภาวะที่ต้นปาล์มไม่มีผลผลิต ไม่มีทะลาย ผลผลิตขาดช่วง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดเป็นพื้นที่บริเวณเดียวกันเป็นหลายแปลง
หรือเกิดเป็นวงกว้าง อาจเกิดจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ สภาวะแล้งจัด หนาวจัด สภาพดินเสื่อมโทรม อาการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน น้ำท่วม ฯลฯ ทำให้ต้นปาล์มไม่แทงดอกจนทำให้ปาล์มลีบไปก่อน
2. ปาล์มมีดอกตัวผู้มากเกินไปจนไม่ได้ผลผลิต ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเฉพาะเป็นแปลง ๆไป ลักษณะนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ
เช่น ปาล์มขาดการดูแล หรือสภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการดูแล เช่น สภาวะแล้งจนใส่ปุ๋ยไม่ได้ ทำให้ช่วงที่ปาล์มสร้างตาดอกเป็นดอกผู้จำนวนมาก ส่งผลให้เมื่อดอกบานจึงเต็มไปด้วยดอกตัวผู้ ไม่ใช่ดอกตัวเมียที่จะกลายเป็นผลผลิต

แนวทางการแก้ปัญหา ปาล์มขาดคอ
1. การดูแลดิน โดยปลูกพืชคุลมดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ป้องกันการชะล้างของหน้าดิน ช่วยเก็บความชื้นให้กับดิน และช่วยกำจัดวัชพืช 
2. การวางกองทางใบ เพื่อประโยชน์หลากหลายแก่ดิน เช่น รักษาความชื้นในดินให้นานขึ้น เพิ่มอินทรีย์วัตถุและฮิวมัสในดินมากขึ้น  รักษากิจกรรมและความมีชีวิตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรใส่ปุ๋ยลงบนแนวกองทางใบ และควรวางกองทางโดยคำนึงถึงทิศทางการไหลของน้ำเป็นหลัก โดยให้วางขวางทางน้ำไหล เพื่อชะลอความแรงของน้ำในฤดูฝน 
3. การตัดแต่งทางใบ ควรแต่งทางใบออกทุกครั้งที่มีการตัดทลายปาล์ม เพื่อช่วยลดการที่ต้นปาล์มนำสารอาหารไปเลี้ยงทางใบโดยเปล่าประโยชน์
4. การปรับสภาพดิน ด้วย "ซีพีไอ พลัส โดโลไมท์ 300" ช่วยปรับค่ากรด-ด่างของดิน และอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นหลัก ซึ่งเป็นธาตุอาหารรองที่ต้นปาล์มต้องการและยังช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรด ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมที่รากพืชสามารถดูดปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดิน นำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
5. การใส่ปุ๋ย โดยเลือกปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบตามที่ปาล์มน้ำมันต้องการ คือ N, P, K, Ca, Mg, S, B, Cu และ Zn เพราะเนื่องจาก ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ผลิตน้ำมัน (lipid) ได้ในปริมาณสูงกว่าพืชชนิดอื่น ไขมันเป็นสารที่พืชต้องใช้พลังงานในการสร้างสูงกว่าน้ำตาล และโปรตีน ต้นปาล์มจึงต้องการปุ๋ยปริมาณมาก ธาตุอาหารที่อยู่ในดินจึงไม่เพียงพอสำหรับการผลิตปาล์มให้ได้ผลผลิตสูง เช่น ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน "ซีพีไอ พลัส"
6. การให้น้ำ การให้น้ำภายในสวนปาล์มน้ำมันอย่างทั่วถึงและเหมาะสม  คือ การให้น้ำตามค่าพลังงานของน้ำในดิน โดยควรรักษาระดับให้อยู่ในช่วงที่รากพืชดูดไปใช้ได้ง่ายที่สุด อุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าพลังงานของน้ำในดินเรียกว่า เทนซิโอมิเตอร์ (Tensiometer) โดยฝังเครื่องที่ความลึก 1/4 ของชั้นรากพืช เพื่อบอกเวลาเริ่มให้น้ำ และฝังที่ความลึก 3/4 ของชั้นรากพืชเพื่อบอกเวลาหยุดให้น้ำ 
7. ความเครียดของต้นปาล์ม หลายท่ายคงไม่ทราบว่าต้นปาล์มก้อเครียดเป็น เมื่อปาล์มมีความเครียดก็จะหยุดผลิตฮอร์โมน ซึ่งส่งผลระยะยาว กระทบต่อ RNA ทำให้การแบ่งเซลน้อยลงมากซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตเป็นอย่างมาก โดยความเครียดของต้นปาล์มนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น สภาวะแล้งจัด หนาวจัด อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน น้ำท่วม ฯลฯ  เกษตรกรจึงควรพยายามแก้ปัญหาหรือป้องกันความเครียดของต้นปาล์ม  โดยใช้การจัดการสวนปาล์มอย่างถูกวิธีตรงกับปัญหา
8. หมั่นสังเกตดูแลต้นปาล์มว่ามีความสมบูรณ์ดีหรือไม่ เช่น การเก็บใบปาล์มส่งทดสอบ การทดสอบค่ากรด-ด่างของดิน เป็นต้น รวมทั้งคอยเฝ้าระวังโรคและศัตรูปาล์ม รวมทั้งอาการขาดสารอาหารต่าง ๆของปาล์ม


อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/