เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของภาครัฐ บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังนี้
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยี ในการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดมั่นในการปรับปรุง ขั้นตอนต่างๆ รวมถึงการสร้างจิตสำนึกแก่พนักงานทุกระดับโดยมีแนวทางดังนี้
ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
ส่งเสริมและปฏิบัติตามข้อกฎหมาย
ส่งเสริมความเชื่อถือในสังคมและชุมชน
ส่งเสริมการอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกแก่พนักงานทุกระดับ
ผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา :
1) การจัดการน้ำ
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากน้ำให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด จึงได้จัดทำมาตรการประหยัดน้ำและกระบวนการดูแลระบบน้ำขึ้นจำนวน 4 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 มาตรการซ่อมบำรุงท่อส่งน้ำและระบบการจ่ายน้ำภายในกระบวนการผลิต เพื่อลดการรั่วไหล
มาตรการที่ 2 มาตรการแยกประเภทน้ำภายในโรงงาน และ จัดประเภทน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อใช้งานน้ำอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
มาตรการที่ 3 มาตรการนำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต (Reject RO) กลับมาใช้งานเป็นน้ำประปา (ประปาเกรด B) เพื่อเป็นการลดปริมาณน้ำดิบลงที่เข้าผลิต
มาตรการที่ 4 มาตรการการติดตามการใช้น้ำ หน่วยงานผู้ดูแลระบบน้ำ มีการทำรายงานสรุปปริมาณการใช้น้ำเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตสินค้า เพื่อแจ้งให้หน่วยงานผู้ใช้น้ำทราบถึง อัตราส่วนการใช้น้ำของแต่ละหน่วยงานทุกเดือน
สถิตการใช้น้ำดิบในกระบวนการผลิตและการใช้งานในส่วนงานต่างๆ
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
การใช้น้ำดิบ |
ลูกบาศ์กเมตรต่อปี |
537,746 |
518,022 |
หมายเหตุ จากกระบวนการผลิตโรงกลั่นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้น้ำดิบในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
2) การจัดการน้ำเสีย
2.1) โครงการเทคโนโลยีผลิตก๊าซชีวภาพจัดการน้ำเสีย เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ได้ดำเนินการธุรกิจโรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบและโรงกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรที่ครบวงจรโดยดำเนินธุรกิจมากว่า 39 ปี ปัญหาที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจคือการจัดการน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต โดยอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะด้านสุขอนามัย กลิ่นและแมลงรบกวน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนและการผลิตของบริษัทฯ รวมทั้งปัญหาภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บริษัทฯ ได้มีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพดีตลอดไป และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงจัดตั้งโครงการ Biogas หรือกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นการกำจัดน้ำเสียโดยใช้ระบบปิด (Anaerobic) เพื่ออนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม โดยนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสียของโรงงานกลับมาใช้ใหม่เป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตของโรงงาน ซึ่งดำเนินการก่อสร้างระบบเมื่อปี พ.ศ. 2549 และขยายระบบการผลิต Biogas ระยะที่ 2 แล้วเสร็จเมื่อปี 2557 เพื่อรองรับการจัดการน้ำเสีย และของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในปัจจุบันให้มีประสิทธิผลสูงสุด
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพถังหมักแบบ A+CSTRth (Appropriate+Completely Stirred Tank Reactor, Thailand) และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการน้ำเสียจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน ตลอดจนการลดมลภาวะที่เกิดจากน้ำเสีย และบำบัดน้ำเสียของโรงงาน โดยมีเป้าหมายงานโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพจัดการน้ำเสียเพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมดังนี้
1) สร้างระบบก๊าซชีวภาพ ถังหมักแบบ A+CSTRth, A+HCSRth และระบบอื่นๆ ทีเกี่ยวข้อง รองรับน้ำเสียจากกระบวนการผลิตผลปาล์มสดสูงสุดที่ 2,160 ตัน/วัน
2) ผลิตและใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ จำนวนประมาณ 40,000 ลบ.ม./วัน ค่ามีเทน 60% เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงชีวมวล
3) ผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายประมาณ 3.36 Mkh.
4) ผลิตปุ๋ยอินทรีย์แห้งคุณภาพดี ประมาณ 35 ตัน/วัน มีความชื้น 70%-80%rh เพื่อนำกลับไปใช้เป็นแหล่งธาตุอาหาร และปรับปรุงดินในสวนปาล์มของบริษัทฯ
5) ผลิตปุ๋ยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วประมาณ 600-700 ลบ.ม./วัน เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยน้ำเพื่อการเกษตร
6) ส่งน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้ว ไปยังสถานีพัฒนาอาหารสัตว์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
7) ลดปัญหามลภาวะเรื่องกลิ่น แมลงรบกวน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการน้ำเสียโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม ใช้เทคโนโลยีถังหมักก๊าซชีวภาพแบบ A+CSTRth (Appropriate + Completely Stirred Tank Reactor, Thailand) และ A+UASBth (Upflow Anaerobic Sludge Blanket, Thailand), A+HCSRth (Appropriate + High Concentration Sludge Reactor, Thailand) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีบแบบไม่ใช้อากาศ เป็นองค์ประกอบหลักเพื่อใช้ในการหมักย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย ซึ่งมีความเข้มข้นของสารแขวนลอย และ COD สูง โดยกลุ่มแบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศ จะย่อยสารอินทรีย์ให้สลายและเปลี่ยนรูปกลายเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งก๊าซชีภาพที่ผลิตได้จะถูกรวบรวมและนำไปใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในโรงงานต่อไป
น้ำเสียที่ผ่านการหมักย่อยสลายจากถังหมัก A+CSTRth, A+UASBth และ A+HCSRth สามารถลดค่าความสกปรกในรูป COD ประมาณร้อยละ 90 และส่วนของกากตะกอนที่ออกจากถังหมัก จะถูกส่งเข้าระบบแยกของแข็งในลานกรองของแข็งกากอินทรีย์ และสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนของน้ำที่ผ่านลานกรองของแข็งจะถูกส่งไปบำบัดในระบบบำบัดขั้นหลัง ซึ่งเป็นระบบบ่อเปิด เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพเหมาะสมที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยน้ำเพื่อการเพาะปลูกต่อไป
ประโยชน์ต่อโรงงาน ลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ก๊าซชีวภาพทดแทนน้ำมันเตาและเชื้อเพลิงชีวมวล, ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำและปุ๋ยแห้งทดแทน, พนักงานมีคุณภาพชีวิตและมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น, ลดปัญหามลภาวะ เรื่องกลิ่นและแมลงรบกวนที่อาจเป็นพาหะนำโรค ฯลฯ
ประโยชน์ต่อชุมชนใกล้เคียง ลดปัญหาเรื่องกลิ่นและแมลงรบกวนระหว่างชุมชนกับโรงงาน, คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของชุมชนดีขึ้น, ลดปัญหาการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ฯลฯ
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการลดมลพิษทางอากาศทางดิน ทางน้ำ และลดปัญหาการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ, ลดการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนโดยนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ฯลฯ
สถิติการจัดการน้ำเสีย
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ปริมาณน้ำเสียที่ออกจากกระบวนการผลิต |
ลูกบาศ์กเมตร |
241,424 |
273,194 |
ผลิตเพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้า |
Mkh. |
10,225 |
12,008 |
ผลิตปุ๋ยน้ำที่ผ่านการบำบัด |
Mkh. |
85,559 |
47,034 |
หมายเหตุ ปริมาณน้ำเสียที่ออกจากกระบวนการผลิตในปี 2564 ลดลงจากปีก่อน เนื่องด้วยปริมาณผลปาล์มสดที่เข้ากระบวนการผลิตในปี 2564 น้อยกว่าปี 2563 ส่งผลกระทบให้ปริมาณการผลิต Biogas ลดลง และเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณการผลิตเพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้าลดลงเช่นกัน
2.2) โครงการเดินท่อน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วไปสถานีพัฒนาอาหารสัตว์และเกษตรกรที่อยู่รอบบริเวณสถานประกอบการ
การดำเนินงานโครงการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน), สถานีพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดชุมพร และ เกษตรกรสวนรอบบริเวณสถานประกอบการ เพื่อทำการส่งน้ำที่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดขั้นสุดท้ายซึ่งมีแร่ธาตุอาหารสูงไปใช้สำหรับรดหญ้าเนเปียร์ในสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ชุมพรสำหรับเป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชพลังงานทดแทน และเพื่อส่งน้ำที่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดขั้นสุดท้ายไปยังสวนปาล์มของเกษตรกรที่อยู่รอบบริเวณสถานประกอบการซึ่งจะสามารถลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีและปัญหาปาล์มขาดแคลนน้ำได้
เส้นทางการวางท่อน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้ว ดำเนินการโดยการวางท่อน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วจากบ่อสุดท้ายหลังผ่านระบบการผลิตก๊าซชีวภาพไปยังสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ มีระยะทาง 2.8 กม. มีจุดปล่อยน้ำดังกล่าวเข้าสวนปาล์มของเกษตรกรรอบข้าง เพื่อให้เกษตรกรนำไปรดต้นปาล์มทดแทนปุ๋ย และไปสิ้นสุดที่สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ โดยจัดเก็บในถังขนาดบรรจุ 25 ลบ.ม. จำนวน 2 ถัง ซึ่งทางสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ ใช้น้ำดังกล่าวสำหรับรดต้นหญ้าเนเปียร์ซึ่งเป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีศักยภาพสูงทั้งในแง่การให้ผลผลิตและมีคุณค่าทางอาหารที่ดีตามที่สัตว์ต้องการ อีกทั้งหญ้าเนเปียร์สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้ ซึ่งถือว่าเป็นชีวมวลประเภทหนึ่ง เนื่องจากเป็นหญ้าที่มีเยื่อใยและมีความชื้นสูง สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้ทั้งการนำไปเผาตรงหลังจากผ่านกระบวนการลดความชื้นแล้ว และการนำไปหมักเป็นก๊าซชีวภาพหรือมีเทน
นอกจากนี้ ยังนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วไปปล่อยลงในแปลงปลูกหญ้าแพงโกล่า ในสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ ซึ่งหญ้าแพงโกล่านี้ คืออาหารหลักสำหรับโค กระบือ ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างหายากและราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากยังไม่มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน ยังคงมีการส่งน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วไปยังสถานีพัฒนาอาหารสัตว์และมีจุดกระจายน้ำเข้าสวนปาล์มของเกษตรกรบ้านคันธทรัพย์ หมู่ที่ 2 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ และเกษตรกรรอบข้างอย่างต่อเนื่อง ได้รับการตอบรับที่ดีจากชุมชนในด้านการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วให้เกิดประโยชน์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมที่เป็นผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของชุมชน
บริษัทฯ ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรและอย่างยั่งยืนตลอดไป
สถิติการจัดการน้ำที่ผ่านการบำบัด
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ปริมาณน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด |
ลูกบาศ์กเมตร |
241,424 |
273,194 |
ปริมาณน้ำที่ผ่านการบำบัดส่งออกเพื่อการเพาะปลูก |
ลูกบาศ์กเมตร |
207,261 |
188,218 |
ค่าใช้จ่ายในการจัดการ กรณีที่ไม่ดำเนินการโครงการ |
ล้านบาท |
31 |
28 |
หมายเหตุ ปริมาณน้ำเสียที่ออกจากกระบวนการผลิตในปี 2564 ลดลงจากปีก่อน เนื่องด้วยปริมาณผลปาล์มสดที่เข้ากระบวนการผลิตในปี 2564 น้อยกว่าปี 2563 ทำให้น้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดลดลง
3) การจัดการพลังงานไฟฟ้า
บริษัทฯ ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร รองรับมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วมกับการจัดการพลังงานด้านพลังงานขององค์กรอย่างยั่งยืน
สถิติการใช้พลังงานไฟฟ้า
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก |
Mwh |
874 |
494 |
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเอง |
Mwh |
26,452 |
29,255 |
ปริมาณไฟฟ้าผลิตขายให้การไฟฟ้า |
Mwh |
6,790 |
8,202 |
หมายเหตุ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากภายนอกเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลปาล์มสดที่เข้ากระบวนการผลิตในปี 2564 ลดลงจากปีก่อน ทำให้ปริมาณน้ำเสีย และ Biogas ที่จะผลิตเป็นไฟฟ้าใช้เองลดลง จึงต้องใช้ไฟฟ้าจากภายนอกเพิ่มขึ้น
4) การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงงาน โดยมีการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
1) การนำน้ำเสียจากกระบวนการผลิตในโรงงานมาผลิตไบโอแก๊ส (Biogas) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพใช้ในโรงกลั่นน้ำมันและผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงสกัดน้ำมันปาล์มส่วนที่เหลือใช้จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2) มีการนำไอเสียที่ปล่อยทิ้งเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้านำกลับมาเป็นพลังงานความร้อนสำหรับหม้อไอน้ำขนาด 10 บาร์ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตน้ำมันเมล็ดในปาล์ม
3) มีการใช้วัสดุเหลือที่ไม่ใช้แล้วเพื่อเป็นสารปรับปรุงบำรุงดินในสวนปาล์ม เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี
4) มีการจัดการด้านพลังงาน เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนหลอดไฟแสงสว่าง ก็ปรับเปลี่ยนเป็นหลอดไฟชนิดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและประหยัดไฟฟ้าอีกด้วย มีการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศประจำปี เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีการหยุดเดินเครื่องเพื่อประหยัดพลังอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง หรือจะเป็นการหยุดเดินเครื่องเพื่อสะสมวัตถุดิบเพื่อจะได้เดินเครื่องจักรอย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น
ความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ตันคาร์บอนไดออกไซด์ |
2,462.50 |
2,836.50 |
5) การจัดการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO)
RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) เป็นมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนโดยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อชุมชน สืบเนื่องจากทั่วโลกมีความต้องการบริโภคน้ำมันปาล์มและการใช้ไบโอดีเซลเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มอย่างต่อเนื่อง จึงมีผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น จากแรงกดดันของผู้บริโภคทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเกิดแนวคิดริเริ่มในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตและใช้ประโยชน์น้ำมันปาล์มที่ผลิตจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำอย่างยั่งยืน
หลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการปลูกปาล์มตามมาตรฐาน RSPO มี 7 หลักการ คือ6) โครงการศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ (CPI Learning Center)
การที่จะประสบความสำเร็จในการทำสวนปาล์ม เรื่องการจัดการถือว่ามีความสำคัญ ไม่น้อยไปกว่าการเลือกสายพันธุ์ที่ดี บริษัทฯ จึงมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถจัดการสวนปาล์มให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2556 จึงมีโครงการก่อสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมันซีพีไอ (CPI Learning Center)” ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันอย่างครบวงจร โดยรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยของบริษัทฯ และประสบการณ์จากการทำสวนปาล์มมากว่า 40 ปี ในพื้นที่สวนปาล์มกว่า 20,000 ไร่ โดยศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวตั้งอยู่ใน อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ประกอบด้วยอาคารศูนย์การเรียนรู้ ทางเดินสำหรับการชมปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ต่างๆ และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ฟรี โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โดยบริษัทฯ หวังว่าผู้ที่เข้าเรียนรู้จัดการสวนปาล์มของบริษัทฯ จะสามารถนำข้อมูลต่างๆ ไปประยุกต์ใช้กับสวนของตนเองและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพออกจำหน่ายสู่ตลาดต่อไป
7) โครงการศึกษาการใช้ประโยชน์จากนกแสกเพื่อกำจัดหนูในสวนปาล์ม
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีโครงการศึกษาการใช้ประโยชน์จากนกแสกเพื่อกำจัดหนูในสวนปาล์ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตทะลายปาล์มสด ด้วยการควบคุมประชากรหนูโดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการใช้สารเคมีและนำไปสู่โครงการต้นแบบให้เกษตรกรหันมาใส่ใจและห่วงใยต่อธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และเปิดอบรมให้ผู้สนใจเข้ารับฟังตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา
นกแสก เป็นนกประจำถิ่นของไทย ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นนกกลางคืนที่อาศัยอยู่ใกล้ชุมชน ปกติใช้โพรงไม้ ซอกอาคาร หรือช่องใต้หลังคาเป็นรังวางไข่ กินหนูเป็นอาหาร มีพฤติกรรมล่าเหยื่อในที่โล่ง ทุ่งหญ้า ไร่นา และสวนปาล์มน้ำมัน มีการผสมพันธุ์วางไข่ และเลี้ยงลูกในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ เลี้ยงลูก 2 ครอกติดต่อกัน จำนวนไข่รังละ 5-7 ฟอง เพศเมียจะฟักไข่ประมาณ 30 วัน ใช้เวลาฟักใข่ 18 ชั่วโมง/วัน ระยะแม่นกฟักไข่และช่วงที่ลูกยังเล็ก พ่อนกจะออกล่าเหยื่อนำมาป้อนให้แม่และลูกนกทุกวัน
จากการศึกษาส่วนประกอบของเศษอาหารที่นกแสกสำรอกออกมาในบริเวณรังนก พบว่านกแสกในสวนปาล์มน้ำมันกินหนูป่ามาเลย์เป็นอาหารเกือบ 100% โดยนกแสกกินหนูเฉลี่ยวันละ 1-2 ตัน หรือประมาณ 350-700 ตัว/ปี ซึ่งหนูจำนวนนี้ถ้าปล่อยให้กัดกินผลปาล์มน้ำมันจะทำความเสียหายต่อผลผลิตปีละ 1.1-2.5 ตัน/ไร่ คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียประมาณ 5,500-12,500 บาท/ไร่/ปี (ราคาทะลายปาล์มสด 5 บาท/กิโลกรัม) ขณะเดียวกันเกษตรกรยังต้องเสียเงินค่าซื้อสารเคมีและจ้างแรงงานวางยากำจัดหนูทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นอีก 700-1,400 บาท/ไร่/ปี
8) กิจกรรมการมีส่วนร่วมต่อชุมชนและสังคมของสำนักงานชุมพร ในปี 2564
บริษัทฯ ได้มีแผนกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกิจกรรมต่อชุมชนและสังคมรอบสำนักงานชุมพร โดยในปี 2564 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 480,000 บาท สำหรับกิจกรรมดังต่อไปนี้
สนับสนุนโครงการควบคุมเฝ้าระวังสถานการณ์โควิดร่วมกับหน่วยงานราชการต่างๆ อาทิเช่น โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, โรงพยาบาลท่าแซะ, สาธารณสุขอำเภอท่าแซะ, รพ.สต บ้านพรุตะเคียน, รพ.สต. สลุย, อบต.เขาไชยราช, โรงเรียนบ้านใหม่สมบูรณ์ และ โรงเรียนบ้านพรุตะเคียน ฯลฯ
มอบชุด PPE และถุงมือแพทย์ ให้สาธารณสุขอำเภอท่าแซะ ผ่าน รพ.สต.สลุย
สนับสนุนเตียงสนามให้กับศูนย์ Local Quarantine สถานกักกันโรคท้องที่ โรงเรียนบ้านตัดผม จำนวน 32 เตียงพร้อมมุ้งครอบ
สนับสนุนเตียงสนามให้กับทางจังหวัดชุมพรเพื่อใช้ในการตั้งศูนย์ Community Isolation : CI เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิดของจังหวัดชุมพร
สนับสนุนตู้เก็บของให้กับศูนย์พักคอยสีเขียว วัดถ้ำพรุตะเคียน จำนวน 60 ตู้
พัฒนาปรับปรุงพื้นอาคาร รพ.สต บ้านพรุตะเคียน อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ร่วมกิจกรรมโครงการจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ ณ โครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
อบรมการจัดการปุ๋ยให้เกษตรกร อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ร่วมกิจกรรมออกเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
กิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ กับผู้นำชุมชน อบต.สลุย และอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ซ่อมปรับปรุงถนนสายเลียบทางรถไฟเขาไชยราช อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
จัดทำถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม จังหวัดชุมพร
ออกเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มเปราะบาง ร่วมกับทาง รพ.สต.สลุย และทีม อสม.สลุย