บรรษัทภิบาล

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ส่งเสริมสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกระดับขององค์กร และได้มีการปรับปรุง ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีความโปร่งใส คณะกรรมการบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นและเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส มีประสิทธิผลจะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ดีขึ้นและเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในระยะยาวโดยทั่วกัน จึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ดังนี้ 1)  ดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) โปร่งใส ตรวจสอบได้ 2)  กำกับดูแลให้คณะกรรมการบริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทและความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3)  ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย อีกทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 4)  จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ ดูแลให้มีมาตรการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและติดตามทวนสอบอย่างสม่ำเสมอ 5)  กำหนดให้มีวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย นโยบาย แผนธุรกิจ งบประมาณของบริษัทฯ และมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ 6)  จัดให้มีคู่มืออำนาจดำเนินการ เพื่อกระจายความรับผิดชอบ อำนาจในการตัดสินใจและสั่งการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 7)  จัดให้มีคู่มือจรรยาบรรณบริษัท พร้อมทั้งมีการแจ้งให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนถือปฏิบัติ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ ครอบคลุมเนื้อหา 5 หมวด ได้แก่ หมวดสิทธิของผู้ถือหุ้น หมวดการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน หมวดบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย หมวดการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และหมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โดยมีเนื้อหาดังนี้ 1)        สิทธิของผู้ถือหุ้น ในปี 2566 บริษัทฯ มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด 1 ครั้ง เป็นการประชุมสามัญประจำปี 2565 โดยบริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้น มีส่วนในการดูแลกิจการและให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการให้มากขึ้นดังนี้ 1.1)    การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้จัดโดยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Meeting) ณ ห้องประชุมของบริษัทฯ โดยได้ว่าจ้างผู้ให้บริการระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ดำเนินการในการจัดประชุม เป็นไปตามมาตรฐานการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าร่วมการประชุมในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งได้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มทุกรายซึ่งรวมถึงนักลงทุนสถาบันเข้าร่วมประชุมฯ ทุกรูปแบบ และบริษัทฯ ไม่ได้มีการกีดกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกัน 1.2)    เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ล่วงหน้า โดยระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2565 และ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2566 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2567 โดยแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ก่อนวันประชุม พร้อมทั้งประกาศหลักเกณฑ์และระบุขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน 1.3)    บริษัทฯ ได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมทั้งเอกสารข้อมูลประกอบการประชุม รายงานประจำปี/งบการเงิน รายการเอกสารที่ผู้เข้าประชุมต้องนำมาเพื่อใช้แสดงตัวและหนังสือมอบฉันทะให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุม 7 วันทำการ ทั้งนี้เอกสารประกอบการประชุมที่นำส่งให้กับผู้ถือหุ้นพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมนั้น จะมีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอให้ผู้ถือหุ้นใช้ประกอบการตัดสินใจลงคะแนนในวาระต่างๆ และบริษัทฯ ได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ถือหุ้นโดยให้กรรมการอิสระเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้  พร้อมจัดส่งเอกสารและวิธีการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และคู่มือการประชุมอย่างละเอียด 1.4)     บริษัทฯ ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง โดยการได้แนบหนังสือมอบฉันทะแบบ ข. ซึ่งเป็นแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงได้เองในแต่ละวาระ ไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้กรรมการอิสระหรือบุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทน พร้อมทั้งเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถดาวน์โหลดได้ 1.5)    แจ้งวิธีการลงคะแนนและนับคะแนนก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง 1.6)    ประธานที่ประชุมได้ดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามลำดับระเบียบวาระที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม และคณะกรรมการยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกรายแสดงความคิดเห็นและสามารถถามคำถามในแต่ละวาระการประชุม รวมทั้งให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และได้บันทึกประเด็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุมแล้ว 1.7)    บริษัทฯ ไม่ได้เพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญ โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า 1.8)    บริษัทฯ ได้เผยแพร่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบผลของการประชุมและสามารถตรวจสอบความถูกต้องผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ภายใน 14 วัน นับจากวันประชุม 2)        การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บริษัทฯ มีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย และนักลงทุนสถาบัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริงและยั่งยืนดังนี้ 2.1)     ได้ดำเนินการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นโดยการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีการอำนวยความสะดวกในการประชุมอย่างเท่าเทียมกัน  ให้โอกาสที่เท่าเทียมกันในการถามคำถามต่อที่ประชุมและแสดงความเห็นในแต่ละวาระการประชุม และประธานที่ประชุมจะให้ความสำคัญและตอบข้อซักถามในทุกประเด็น โดยมีการบันทึกการประชุมอย่างถูกต้องครบถ้วน 2.2)     ในการประชุมผู้ถือหุ้น ในปี 2566 บริษัทฯ ได้จัดส่งเอกสารเชิญประชุมพร้อมรายงานประจำปี/งบการเงิน และหนังสือมอบฉันทะพร้อมเสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คนเป็นทางเลือกในการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นทุกรายที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ รวมทั้งลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดวัน เวลา และวาระการประชุมก่อนวันประชุมอย่างน้อย 7 วันล่วงหน้า 2.3)     เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ล่วงหน้าโดยระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2565 และ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2566 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2567 โดยแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ก่อนวันประชุม พร้อมทั้งประกาศหลักเกณฑ์และระบุขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน 2.4)     เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล   2.5)     บริษัทฯ ให้สิทธิออกเสียงแก่ผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่ถืออย่างเท่าเทียมกัน และผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระ 3)        บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ ได้ดูแลและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มโดยได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้ในคู่มือจรรยาบรรณบริษัทและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เพื่อให้คณะกรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงาน โดยถือเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของทุกคน เช่น ผู้ถือหุ้น          :      บริษัทฯ จะดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัทฯ ในระยะยาว พนักงาน :      บริษัทฯ สนับสนุนพัฒนาความสามารถในการทำงาน โดยนำระบบการพัฒนาบุคลากรบนพื้นฐานของความสามารถ (Competency – Based Human Resources Development) มาใช้ เน้นการทำงานอย่างปลอดภัย ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เป็นธรรม ให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม คู่ค้า/เจ้าหนี้ :      ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางการค้าและปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด คู่แข่ง         :      ปฏิบัติตามกรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าโดยปราศจากหลักฐานและข้อเท็จจริง ลูกค้า :      มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและรักษาระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า โดยบริษัทฯ ผ่านการรับรองระบบคุณภาพ ISO9001:2000 GMP และ HACCP พร้อมทั้งกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อร้องเรียนของลูกค้าและรักษาความลับของลูกค้า ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม  :      บริษัทฯ สนับสนุนให้พนักงานดำเนินกิจกรรมเพื่อบำบัดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนโดยรอบสถานประกอบกิจการ และกิจกรรมของท้องถิ่นที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ โดยบริษัทฯ มีนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ประกาศให้พนักงานทุกระดับตระหนักและปฏิบัติโดยทั่วกัน รวมถึงได้มีการจัดอบรมให้กับพนักงานทุกระดับให้ตระหนักถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สิ่งแวดล้อมเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง 4)        การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักดีว่าข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน ล้วนมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ จึงได้กำชับให้ฝ่ายบริหารดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง เชื่อถือได้ สม่ำเสมอ และทันเวลา ซึ่งฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญและยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด ในส่วนของงานด้านผู้ลงทุนสัมพันธ์นั้น บริษัทฯ ได้มอบหมายให้ Chief Financial Officer ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สถาบันผู้ลงทุน และประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถติดต่อขอทราบข้อมูลบริษัทฯ ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-679-9166 หรือที่ website : www.cpi-th.com หรือที่ e-mail address : info@cpi-th.com เป้าหมาย บริษัทฯ จะทำการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนด้วยความโปร่งใสให้กับผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สถาบันผู้ลงทุน และประชาชนทั่วไป รวมถึงนำส่งรายงานทางการเงินรายไตรมาสและรายงานทางการเงินรายปีตรงต่อเวลา และ ไม่มีกรณีถูกสั่งแก้ไขงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินรายปี อีกทั้งไม่ถูกดำเนินการโดยหน่วยงานกำกับดูแลเนื่องจากไม่ได้ประกาศข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญภายในระยะเวลาที่ทางการกำหนด ผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา โดยในปี 2566 บริษัทฯ ไม่มีกรณีการส่งรายงานทางการเงินรายไตรมาสและรายงานทางการเงินรายปีล่าช้า และ ไม่มีกรณีถูกสั่งแก้ไขงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินรายปี  อีกทั้งไม่ถูกดำเนินการโดยหน่วยงานกำกับดูแลเนื่องจากไม่ได้ประกาศข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญภายในระยะเวลาที่ทางการกำหนด 5)        ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 5.1)    การแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 10 ท่าน แบ่งเป็น กรรมการผู้ชาย 10 ท่าน        กรรมการผู้หญิง -ไม่มี- กรรมการที่เป็นอิสระ 4 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 40 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 5 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ 5.2)    กรรมการทุกท่านที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศกรรมการเข้าใหม่ รวมถึงการรับทราบถึงข้อมูลลักษณะการประกอบธุรกิจ เป้าหมายการประกอบธุรกิจ และบทบาทหน้าที่ของกรรมการ ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นนโยบายที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้สำหรับกรรมการผู้ที่เข้ารับดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทฯ โดยในปี 2566 ไม่มีกรรมการเข้าใหม่หรือกรรมการทดแทนกรรมการที่ลาออก 5.3)    จำนวนกรรมการอิสระของบริษัทฯ มีจำนวน 4 ท่านใน 10 ท่าน หรือจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ทั้งนี้ กรรมการอิสระมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ 5.4)    ประธานกรรมการบริษัทฯ ไม่เป็นบุคคลเดียวกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยในปี 2566 ผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทฯ คือ นายบรรพต หงษ์ทอง กรรมการอิสระ และ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คือ นายกฤษฏ์พงศ์ ตากวิริยะนันท์ 5.5)    เพื่อเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลและการบริหารงานประจำ บริษัทฯ มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษรตามคู่มืออำนาจดำเนินการ บริษัทฯ มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันโดยเด็ดขาดระหว่างการอนุมัติ การบันทึกรายการทางบัญชีและการดูแลทรัพย์สินเพื่อเป็นการตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่ากรรมการดังกล่าวได้มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น และมีการถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสม 5.6)    คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ 5.7)    กรรมการบริษัทฯ มีวาระการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน ซึ่งตามข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดไว้ว่า ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งอย่างน้อยจำนวนหนึ่งในสาม (1/3) โดยอัตรา ถ้าจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้เป็นสามส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้เคียงที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม (1/3) โดยให้กรรมการที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง 5.8)    กรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพ และได้ผ่านหลักสูตรการอบรมการเป็นกรรมการ ตามหลักสูตร Directors Certification Program (DCP) หรือ Directors Accreditation Program (DAP) ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยกรรมการบริษัทฯ เข้าร่วมในการฝึกอบรมหลักสูตรที่จัดขึ้นสำหรับกรรมการจำนวน 9 ท่าน จากกรรมการ 10 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ดังนี้ 1)    นายบรรพต หงษ์ทอง ประกาศนียบัตรหลักสูตร DAP รุ่น 2013 2)    นายชูศักดิ์ ปรัชญางค์ปรีชา ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 18/2002 3)    นายถกล ถวิลเติมทรัพย์ ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 32/2003 4)    นายไพบูลย์ คุจารีวณิช ประกาศนียบัตรหลักสูตร DAP รุ่น 113/2014 5)    นายกิตติ ฉัตรเลขวนิช ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 4/2000   6)    นายการุญ นันทิลีพงศ์ ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 9/2001 7)    นายทรงฤทธิ์ นิวัติศัยวงศ์ ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 15/2002 8)    นายนพพร พิชา ประกาศนียบัตรหลักสูตร DAP รุ่น 2003 9)    นายศราวุธ เมนะเศวต ประกาศนียบัตรหลักสูตร DAP รุ่น 2015 10)  นายรชฎ ถวิลเติมทรัพย์  -ยังไม่ได้เข้ารับการอบรม- 5.9)    คณะกรรมการบริษัทฯ มีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวม คณะกรรมการได้มีส่วนร่วมในการกำหนดและให้ความเห็นชอบในเรื่องวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย โดยคณะจัดการจะนำเสนอเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทบทวนทุกๆ 1-3 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางธุรกิจหรือสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยในปี 2566 ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมพิจารณาทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยังคงมีความเห็นให้คงเดิม 5.10)  ในส่วนแผนงานและงบประมาณ บริษัทฯ มีแผนปฏิบัติและมีการติดตามผลการปฏิบัติตามแผนงาน และงบประมาณของบริษัทฯ ทุกไตรมาส และมีการปรับปรุงเป้าหมาย แผนงาน และงบประมาณของบริษัทฯ ทุกปี โดยคณะจัดการจะนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาทุกปีตามกรอบคู่มืออำนาจดำเนินการและนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา ทั้งนี้หากมีแผนงานหรืองบประมาณเพิ่มเติมที่เกินกว่าอำนาจดำเนินการอนุมัติของคณะกรรมการบริหาร ตามที่ได้กำหนดไว้ จะต้องนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาต่อไป และคณะกรรมการบริษัทฯ จะกำกับดูแลให้คณะจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยในปี 2565 คณะจัดการได้มีการประชุมติดตามงบประมาณและแผนงานเป็นรายไตรมาส จำนวน 4 ครั้ง เพื่อให้ทุกหน่วยงานชี้แจงความคืบหน้าของงบประมาณและแผนงาน รวมถึงเหตุผลที่ไม่สามารถทำได้ตามแผนงาน เพื่อนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการบริหารทราบ และ คณะจัดการได้นำเสนองบประมาณแผนงานประจำปี 2566 ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพิจารณา เมื่อเดือนตุลาคม 2566 และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติในเดือนพฤศจิกายน 2566 5.11)  คณะกรรมการและคณะจัดการมีความรับผิดชอบตามหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น มีระบบการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการ  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะจัดการ ซึ่งได้มีการกำหนดอำนาจดำเนินการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน 5.12)  เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทำรายการหรือธุรกรรมระหว่างบริษัทฯ กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป รายการทั้งหมดจะกระทำอย่างยุติธรรมตามราคาตลาดและเป็นไปตามปกติธุรกิจการค้า หรือเป็นธุรกรรมที่เป็นข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำกับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอำนาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลจากการมีสถานะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง (แล้วแต่กรณี) ภายใต้เงื่อนไขที่สมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบได้ ไม่ก่อให้เกิดการถ่ายเทผลประโยชน์ อีกทั้งคณะกรรมการได้ดูแลอย่างรอบคอบหากเกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงจะได้รับทราบถึงรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรายการที่เกี่ยวโยงกัน เพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมอย่างรอบคอบ และให้มีการปฏิบัติตามหลัก เกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยราคาและเงื่อนไขให้กระทำเสมือนทำรายการกับบุคคลภายนอก กระทำอย่างยุติธรรมตามราคาตลาดและเป็นไปตามปกติธุรกิจการค้า และจะต้องเปิดเผยรายละเอียด มูลค่ารายการ คู่สัญญา เหตุผล/ความจำเป็น ไว้ในรายงานประจำปี ตลอดจนต้องเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในหัวข้อรายการบัญชีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกันด้วย 5.13)  ได้กำหนดนโยบายให้กรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารแจ้งเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ อย่างน้อย 1 วันล่วงหน้าก่อนทำการซื้อขายให้คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงทราบโดยผ่านเลขานุการบริษัท รวมถึงนำส่งแบบรายงานการมีส่วนได้เสียให้แก่เลขานุการบริษัททุก 6 เดือน และเลขานุการบริษัทจะต้องส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้ส่วนเสียนี้ให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงทราบ และกำหนดให้กรรมการและผู้บริหาร มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการ กลต. พร้อมทั้งแจ้งให้เลขานุการบริษัททราบเพื่อจัดทำบันทึกการเปลี่ยนแปลงและสรุปจำนวนหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารเป็นรายบุคคล เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบในการประชุมครั้งถัดไป 5.14)  คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมทุกด้านทั้งด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการบริหารความเสี่ยง และจัดให้มีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการปกป้องรักษาและดูแลเงินทุนของผู้ถือหุ้นและสินทรัพย์ของบริษัทฯ อยู่เสมอ จัดให้มีการกำหนดลำดับขั้นของอำนาจอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรในคู่มืออำนาจดำเนินการ และความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงาน กำหนดระเบียบการปฏิบัติงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มีสำนักตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพและความเพียงพอของการควบคุมภายใน ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงดูแลให้สำนักตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบได้อย่างเต็มที่ และให้รายงานตรงต่อกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกไตรมาส 5.15)  คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารกำหนดแผนพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและแผนสืบทอดผู้บริหารระดับสูง (Succession Plan) และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงเป็นประจำทุกปี และมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนพิจารณากำหนดระบบพิจารณาค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารระดับสูงที่เหมาะสม ที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานและเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน 5.16)  บริษัทฯ ได้จัดทำคู่มือจรรยาบรรณบริษัทขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและเที่ยงธรรม โดยได้มอบคู่มือจรรยาบรรณบริษัทให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อให้ปฏิบัติตามโดยทั่วกัน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัดอบรมชี้แจงให้พนักงานได้รับทราบทั่วกัน และผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นมีหน้าที่สอดส่องและส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่กำหนดและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี อีกทั้งได้กำหนดเป็นแผนงานของฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลที่ต้องจัดอบรมและติดตามการปฏิบัติดังกล่าวเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2566 ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ได้มีการจัดอบรมให้กับพนักงานและกรรมการ รวมถึงได้มีการส่งลิงค์เอกสารผ่าน Email ให้กับพนักงานทบทวนและรับทราบ และ ไม่พบกรณีกระทำความผิดอันเนื่องมาจากประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมและการกระทำผิดด้านทุจริต 5.17)  บริษัทฯ มีการกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย ไว้อย่างเป็นทางการล่วงหน้าตลอดปี ไตรมาสละ 1 ครั้ง และมีการประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระไว้อย่างชัดเจนและมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ โดยเลขานุการบริษัทหรือเลขานุการที่ประชุมของแต่ละคณะจะจัดทำหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุมส่งให้กรรมการแต่ละท่านล่วงหน้าก่อนการประชุมเป็นเวลา 7 วันเพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ กรรมการสามารถเสนอความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วจากคณะ กรรมการบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ โดยปกติการประชุมแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง นอกจากนี้บริษัทฯ มีเลขานุการบริษัทและที่ปรึกษาทางกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎหมายและเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการ รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ ภาพรวมผลการดำเนินงานด้านกำกับกิจการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2566 AGM Checklist 2023 รับทราบผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2566 โดยบริษัทฯ ได้รับคะแนนประเมิน 98 คะแนน จากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทฯ คำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการประชุมผู้ถือหุ้น โดยเรื่องดังกล่างเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมีบรรษัทภิบาลที่ดี Corporate Governance Report of Thai Listed Companies รับทราบผลประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2566 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยอยู่ในระดับ “ดีเลิศ” หรือ “ระดับห้าดาว” สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญในด้านสิทธิผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน การคำนึงถึงบทบาทของผู้ส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี ได้รับใบประกาศรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต ครั้งที่ 2 (CAC – Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) รายงานผลการดำเนินงานสำคัญด้านการกำกับดูแลกิจการ สรุปผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในรอบปีที่ผ่านมา การสรรหา พัฒนา และประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ (1)      การสรรหากรรมการ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน  ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่สรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับคุณสมบัติที่บริษัทฯ กำหนด และเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้ง (แล้วแต่กรณี) ตามข้อบังคับของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบได้ทำการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจากช่องทางดังนี้ การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ล่วงหน้า โดยระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2566 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2567 โดยแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์ของบริษัทฯ ซึ่งการให้สิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในการเสนอชื่อบุลคลเข้าดำรงแต่งตั้งกรรมการของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้นว่าผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ต้องการเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ จะต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ โดยอาจเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียวหรือหลายรายรวมกันถือหุ้นหรือสิทธิออกเสียงนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ (ไม่น้อยกว่า 31,637,633 หุ้น) เพื่อเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับพิจารณาเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการได้เพียงหนึ่งท่าน และเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ที่ถือหุ้นอยู่ในวันที่เสนอวาระ โดยการลงคะแนนเสียงในการแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการจะถือตามเสียงข้างมากในการออกเสียง ไม่ได้ใช้ระบบ Cumulative Voting รายชื่อบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแนะนำจากผู้บริหาร กรรมการ และบุคคลภายนอกที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงรายชื่อจากฐานข้อมูลกรรมการ (Director Pool) ของ IOD เปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละท่านเสนอชื่อบุคคลที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้ที่เหมาะสม คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะทำการพิจารณาทบทวนประเมินทักษะและคุณลักษณะของกรรมการ (Skill and Characteristic) และองค์ประกอบโดยรวมของคณะกรรมการบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และจัดทำเป็นตาราง Board Sill Matrix เพื่อพิจารณาทักษะที่จำเป็นซึ่งยังขาดอยู่ในคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนยังได้พิจารณาถึงความหลากหลาย ทั้งในด้านของทักษะวิชาชีพ ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประสบการณ์ ความเป็นอิสระ และความสามารถอื่นๆ โดยไม่จำกัดอายุ เพศ หรือ เชื้อชาติของกรรมการ องค์ประกอบความรู้ความชำนาญของกรรมการ (Board Skill Matrix) คุณสมบัติของกรรมการ กรรมการของบริษัทฯ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงประกาศ และ/หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับบริษัทฯ มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจบริษัทฯ มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม และสามารถอุทิศเวลาได้อย่างเต็มที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิด คุณสมบัติของกรรมการอิสระของบริษัทฯ (ก)      ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย (ข)      ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษา ที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน (ค)      ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็น บิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย (ง)       ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ หรือผู้บริหาร ของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่ง รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการหรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ขออนุญาตหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของผู้ขออนุญาตหรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลมแต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน (จ)      ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม  หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน  (ฉ)     ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการทางวิชาชีพเป็นนิติบุคคล ให้รวมถึงการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน (ช)      ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ (ซ)      ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ กระบวนการแต่งตั้ง        1)    กรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากถึงคราวพ้นจากตำแหน่งตามวาระ        ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากถึงคราวพ้นจากตำแหน่งตามวาระ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะพิจารณาสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการ เพื่อเสนอความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติเลือกตั้งต่อไป กรณีที่เสนอให้กรรมการท่านเดิมกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการต่ออีกวาระหนึ่ง คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จะพิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงผลการปฏบัติงาน ประวัติการเข้าร่วมประชุมและการมีส่วนร่วมในการประชุม และหากเป็นกรรมการอิสระจะพิจารณาถึงการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระในการประชุมด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการมีวิธีการดังต่อไปนี้ การเสนอชื่อบุคคลให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระ โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้สรรหาเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาก่อนเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดเลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมา เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด        2)    กรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากสาเหตุอื่นนอกจากถึงคราวพ้นจากตำแหน่ง        คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งเป็นกรรมการเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง และบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน ทั้งนี้มติการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทนดังกล่าวต้องรับคะแนนเสียงข้างมากของมติที่ประชุม เว้นแต่วาระของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งนั้นเหลือน้อยกว่า 2 เดือนซึ่งจะต้องเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ในปี 2565 ไม่มีผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ, ไม่มีการลาออกของกรรมการหรือการแต่งตั้งบุคคลใหม่เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ, ไม่มีการลาออกของกรรมการอิสระหรือการแต่งตั้งบุคคลใหม่เข้าเป็นกรรมการอิสระในระหว่างปี , ไม่มีกรณีที่คณะกรรมการอิสระลาออกทั้งคณะ, ไม่มีกรรมการอิสระลาออกอันเนื่องมาจากประเด็นเรื่องการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ และ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการตามที่ได้กำหนดไว้ (2)      การสรรหาผู้บริหารระดับสูงสุด คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่สรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ประกอบด้วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ Chief Financial Officer โดยนำเสนอชื่อและคุณสมบัติต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง อ้างถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจอนุมัติของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน  ในหัวข้อย่อยที่ 2) คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ของหัวข้อใหญ่ที่ 7.3 ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการชุดย่อย (3)      การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานประจำปี คณะกรรมการจะประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี โดยอ้างอิงแบบฟอร์มจากตัวอย่างแบบประเมินตนเองของคณะกรรมการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นหลักเกณฑ์ในการประเมินและแจ้งผลการประเมินให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบ เพื่อร่วมวิเคราะห์ผลการประเมินและพิจารณาหาแนวทาง แนวปฏิบัติสำหรับการพัฒนาศักยภาพการทำงานของคณะกรรมการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลักเกณฑ์การประเมินตนเองของคณะกรรมการรายคณะ, การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ และ การประเมินผลงานกรรมการเป็นรายบุคคล  ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้ โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย เรื่องอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์กับคณะจัดการ การพัฒนาตนเองของกรรมการบริษัทฯ และ การพัฒนาผู้บริหาร วิธีการให้คะแนนและการวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการรายคณะ, การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ และ การประเมินผลงานกรรมการเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละจากคะแนนเต็มในแต่ละหัวข้อแบ่งออกเป็น ดังนี้ มากกว่าร้อยละ 80 = ดีเยี่ยม, มากกว่าร้อยละ 60 = ดี, มากกว่าร้อยละ 40 = พอใช้, มากกว่าร้อยละ 20 = น้อย และ น้อยกว่าร้อยละ 20 = ยังไม่มีการดำเนินการในเรื่องนั้นๆ โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 มีการประเมินคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งสรุปผลการประเมินประจำปี 2565 ได้ดังนี้ 1)      การประเมินตนเองของคณะกรรมการรายคณะ เพื่อใช้ประเมินการทำงานของคณะกรรมการในภาพรวมขององค์คณะ มีหัวข้อที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ, บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะ กรรมการ, การประชุมคณะกรรมการ, การทำหน้าที่ของกรรมการ, ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ และ การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร โดยกระบวนการประเมินให้กรรมการทุกคนเป็นผู้ประเมิน ภาพรวมผลประเมินอยู่ในเกณ์ฑดีเยี่ยม หัวข้อประเมิน ผลประเมิน ปี 2566 1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 93.80% 2. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 92.78% 3. การประชุมคณะกรรมการ 96.43% 4. การทำหน้าที่ของกรรมการ 94.43% 5. ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ 96.67% 6. การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร 87.50% รวม 93.83%   2)      การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ เพื่อใช้ประเมินการทำงานของคณะกรรมการชุดย่อยที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในภาพรวมขององค์คณะ มีหัวข้อที่ใช้ในการประเมิน โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการชุดย่อย, การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย, บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย โดยกระบวนการประเมินให้กรรมการที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการชุดย่อยเป็นผู้ประเมิน ภาพรวมผลประเมินอยู่ในเกณ์ฑดีเยี่ยม หัวข้อประเมิน ผลประเมิน ปี 2566 1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 93.65% 2. การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย 97.62% 3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย       3.1 คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง 98.96%     3.2 คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 100%     3.3 คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน 97.50%     3.4 คณะกรรมการบริหาร 87.50% รวม 95.87%   3)      การประเมินผลงานกรรมการเป็นรายบุคคล เพื่อใช้ประเมินการทำหน้าที่อย่างเหมาะสมของการเป็นกรรมการของกรรมการรายบุคคล มีหัวข้อที่ใช้ในการประเมิน โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ, การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย และ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างเพียงพอ โดยกระบวนการประเมินให้กรรมการทุกคนเป็นผู้ประเมิน ภาพรวมผลประเมินอยู่ในเกณ์ฑดีเยี่ยม หัวข้อประเมิน ผลประเมิน ปี 2566 1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ 96.03% 2. การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย 93.06% 3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างเพียงพอ 91.67% รวม 93.58%   การเข้าร่วมประชุมและการจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการรายบุคคล 1)      การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย บริษัทฯ มีการกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะบกรรมการชุดย่อย ไว้อย่างเป็นทางการล่วงหน้าตลอดปี ไตรมาสละ 1 ครั้ง และมีการประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระไว้อย่างชัดเจนและมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ โดยเลขานุการบริษัทหรือเลขานุการที่ประชุมของแต่ละคณะจะจัดทำหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบ การประชุมส่งให้กรรมการแต่ละท่านล่วงหน้าก่อนการประชุมเป็นเวลา 7 วันเพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ กรรมการสามารถเสนอความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วจากคณะ กรรมการบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ โดยปกติการประชุมแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง นอกจากนี้บริษัทฯ มีเลขานุการบริษัทและที่ปรึกษาทางกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎหมายและเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการ รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ การประชุมระหว่างกรรมการโดยไม่มีกรรมการบริหาร ผู้บริหาร และ คณะจัดการเข้าร่วม ได้กำหนดล่วงหน้าไว้อย่างเป็นทางการ  1 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำงานของกรรมการบริหารและฝ่ายจัดการ โดยเลขานุการบริษัทเป็นผู้จดบันทึกการประชุมและจัดเก็บรายงานการประชุม พร้อมทั้งสรุปเด็นที่มีนัยสำคัญจากที่ประชุมแจ้งต่อ คณะกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทราบ เพื่อได้ดำเนินการหรือตรวจสอบ แล้วนำเสนอผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบต่อไป ในการประชุมแต่ละครั้งจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะถือครบเป็นองค์ประชุม และการลงมติจะต้องผ่านการอนุมัติจากเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งในปี 2566 สามารถสรุปการเข้าร่วมประชุมต่างๆ ได้ดังนี้ รายชื่อ   จำนวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม / จำนวนครั้งที่ประชุม ปี 2566 คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง 4 ครั้ง(Phycisal meeting) คณะกรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 1 ครั้ง(Phycisal meeting) คณะกรรมการ บรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน 4 ครั้ง (E-meeting) คณะกรรมการบริหาร 12 ครั้ง(Hybrid meeting) คณะกรรม การบริษัท 4 ครั้ง (Hybrid meeting) การประชุมระหว่างกรรมการ โดยไม่มีกรรมการบริหาร ผู้บริหาร และฝ่ายจัดการเข้าร่วม (1 ครั้ง) (Hybrid meeting) การประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง (E-AGM)   นายบรรพต หงษ์ทอง - 1/1 (100%) - - 4/4 (100%) 1/1 (100%) 1/1   นายนพพร พิชา 4/4 (100%) 1/1 (100%) - - 4/4 (100%) 1/1 (100%) 1/1   นายไพบูลย์ คุจารีวณิช 4/4 (100%) - - - 4/4 (100%) 1/1 (100%) 1/1   นายศราวุธ เมนะเศวต 4/4 (100%) - - - 4/4 (100%) 1/1 (100%) 1/1   นายถกล  ถวิลเติมทรัพย์ - - - 12/12 (100%) 4/4 (100%) - 1/1   นายชูศักดิ์  ปรัชญางค์ปรีชา - 1/1 (100%) - 12/12 (100%) 4/4 (100%) - 1/1   นายการุญ  นันทิลีพงศ์ - - 4/4 (100%) - 4/4 (100%) 1/1 (100%) 1/1   นายกิตติ ฉัตรเลขวนิช - - - - 4/4 (100%) 1/1 (100%) 1/1   นายทรงฤทธิ์ นิวัติศัยวงศ์ - - 4/4 (100%) - 4/4 (100%) 1/1 (100%) 1/1   นายรชฎ ถวิลเติมทรัพย์ - - - - 4/4 (100%) - 1/1   เฉลี่ยรวมทั้งคณะ 100% 100% 100% 95.83% 100% 100% 100%                         2)      การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ              บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณากลั่นกรองถึงความเหมาะสมของค่าตอบแทนกรรมการอย่างละเอียด โดยเปรียบเทียบอ้างอิงจากอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันและอยู่ในระดับเหมาะสมและสูงเพียงพอที่จะดึงดูดและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ และพิจารณาตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิได้จ่ายผลประโยชน์อื่นใดให้แก่กรรมการ นอกเหนือจากค่าตอบแทนกรรมการและค่าเบี้ยประชุมกรรมการเท่านั้น เมื่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณากลั่นกรองแล้วจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการต่อไป ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 มีมติอนุมัติค่าเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2566 ดังนี้ กำหนดค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ประจำปี 2566 ซึ่งเทียบเท่ากับปีก่อน  ค่าเบี้ยประชุม บาท/คน/ครั้ง ที่มาประชุม ตำแหน่ง ปี 2566 ปี 2565 คณะกรรมการบริษัท ประธาน 30,000 30,000   กรรมการ 25,000 25,000 คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง ประธาน 30,000 30,000   กรรมการ 25,000 25,000 คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ประธาน 25,000 25,000   กรรมการ 20,000 20,000 คณะกรรมการบริหาร ประธาน 30,000 30,000   กรรมการ 25,000 25,000 คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน ประธาน 25,000 25,000   กรรมการ 20,000 20,000  (2)  กำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ประจำปี 2566 ในวงเงินไม่เกิน 4,500,000 บาท ซึ่งเทียบเท่ากับปีก่อน โดยให้ประธานกรรมการพิจารณาจัดสรรตามความเหมาะสม รายละเอียด ปี 2566 ปี 2565 ค่าตอบแทนกรรมการ 4,500,000 บาท 4,500,000 บาท    3)      ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินของคณะกรรมการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 รายชื่อกรรมการ ค่าเบี้ยประชุม (บาท) ค่าตอบแทนกรรมการ ปี 2565 (1) รวม คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง (4 ครั้ง) คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน (1 ครั้ง) คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน (4 ครั้ง) คณะกรรมการบริหาร (12 ครั้ง) คณะกรรมการบริษัทฯ (4 ครั้ง) นายบรรพต หงษ์ทอง กรรมการอิสระ - 25,000 - - 120,000 562,500 707,500 นายนพพร พิชา กรรมการอิสระ 120,000 20,000 - - 100,000 517,500 757,500 นายไพบูลย์ คุจารีวณิช กรรมการอิสระ 100,000 - - - 100,000 427,500 627,500 นายศราวุธ เมนะเศวต กรรมการอิสระ 100,000 - - - 100,000 427,500 627,500 นายถกล ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการ - - - 360,000 100,000 427,500 887,500 นายชูศักดิ์ ปรัชญางค์ปรีชา กรรมการ - 20,000 - 300,000 100,000 427,500 847,500 นายการุญ นันทิลีพงศ์ กรรมการ - - 100,000 - 100,000 427,500 627,500 นายกิตติ ฉัตรเลขวนิช กรรมการ - - - - 100,000 427,500 527,500 นายทรงฤทธิ์ นิวัติศัยวงศ์ กรรมการ - - 80,000 - 100,000 427,500 607,500 นายรชฎ ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการ ผู้บริหาร - - - - 100,000 427,500 527,500 รวม 320,000 65,000 180,000 660,000 1,020,000 4,500,000 6,745,000 หมายเหตุ 1)   ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 มีมติอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการในวงเงินไม่เกินจำนวน 4,500,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน และไม่มีสิทธิประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากนี้ โดยให้ประธานกรรมการพิจารณาจัดสรรตามความเหมาะสม ซึ่งได้ทำการจัดสรรและกำหนดจ่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 4)      ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ ปี 2556 โครงการใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญออกและจัดสรรให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ครั้งที่ 1 (ESOP#1) ดังปรากฏตามรายละเอียดข้อ5 การออกหลักทรัพย์อื่น ปี 2557 ถึง ปี 2566 -ไม่มี-  นโยบายค่าตอบแทนกรรมการบริหารและผู้บริหาร 1)      ค่าตอบแทนกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร     นโยบายค่าตอบแทนของกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ค่าตอบแทนและผลประโยชน์แบบคงที่ คือ เงินเดือน จะเป็นไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ประสบการณ์และทักษะความชำนาญ โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะทำการทบทวนเป็นประจำทุกปี ซึ่งรวมถึงพิจารณาอัตราการปรับเงิน เดือน โบนัส เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติต่อไป ค่าตอบแทนในรูปผลประโยชน์อื่นหรือผลประโยชน์พิเศษ อาทิเช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รถประจำตำแหน่ง และสวัสดิการอื่นๆ ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน 2)      ค่าตอบแทนผู้บริหาร          นโยบายค่าตอบแทนของผู้บริหารจะสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กล่าวคือ ระยะสั้น ผลตอบแทนในรูปแบบของโบนัสประจำปี อัตราเกณฑ์การจ่ายโบนัสประจำปีจะคำนึงถึงเป้าหมายภาพรวมของบริษัทฯ และผลกำไรของบริษัทฯ โดยใช้ระบบการวัดและประเมินผลในรูปแบบดัชนีชี้วัดผลงาน (KPI) การปรับอัตราค่าจ้างพนักงานและการปรับระดับตำแหน่งงาน โดยใช้ระบบการวัดและประเมินผลตามความสามารถหรือศักยภาพของบุคคล (Competency) โดยจะมีการประเมินผลปีละ 2 ครั้ง คือการประเมินผลกลางปีและปลายปี พร้อมทั้งยังนำมาวิเคราะห์เพื่อทำแผนการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร ค่าตอบแทนในรูปผลประโยชน์อื่นหรือสวัสดิการ อาทิเช่น ประกันสังคม ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันภัยการเดินทาง รถประจำตำแหน่ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การตรวจสุขภาพประจำปี ชุดทำงาน และสวัสดิการอื่นๆ ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน ระยะยาว พนักงานมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของรายได้สะสม ซึ่งบริษัทฯ จะสะสมรายได้ตามฐานที่กำหนดให้กับพนักงานที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด โดยพนักงานจะได้รับเมื่อเกษียณอายุการทำงาน เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมและสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในกับบริษัทฯ ผลตอบแทนระยาวในรูปการจัดสรรใบสำคัญสิทธิ ESOP ให้กับผู้บริหาร ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการจัดสรรใบสำคัญสิทธิ ESOP ให้กับผู้บริหาร 3)        ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการบริหารและผู้บริหารที่นอกเหนือจากสวัสดิการ            -ไม่มี- ค่าตอบแทนรวมและจำนวนรายของกรรมการบริหารและผู้บริหารของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 รายละเอียด ปี 2566 ปี 2565 ปี 2564 จำนวนกรรมการบริหารและผู้บริหาร 8 ท่าน 9 ท่าน 10 ท่าน ค่าตอบแทน เบี้ยประชุม เงินเดือน โบนัส เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และรายได้อื่นๆ (เงินชดเชยเกษียณอายุ เงินชดเชยต่างๆ) 24.39 ล้านบาท 27.04 ล้านบาท 23.33 ล้านบาท รถยนต์ประจำตำแหน่ง 3 ท่าน 3 ท่าน 3 ท่าน การกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วม การบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจของบริษัทย่อยจะดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและรูปแบบบริหารการจัดการในแบบอย่างเดียวกันกับของบริษัทฯ โดยกระบวนการดำเนินการ อำนาจการตัดสินใจ ตลอดจนการพิจารณาอนุมัติเรื่องต่างๆ จะเป็นไปตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามคู่มืออำนาจดำเนินการของบริษัทฯ อีกทั้งกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ บางท่านได้ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทย่อยด้วย จึงทำให้กระบวนการบริหารอยู่ในขอบเขตตามแบบของบริษัทฯ อย่างแน่นอน รวมถึงข้อมูลฐานะทางการเงินของบริษัทฯ จะแสดงข้อมูลฐานะทางการเงินของบริษัทย่อยรวมอยู่ด้วย การกำกับดูแลและการบริหารจัดการบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัทฯ จะพิจารณาแต่งตั้ง บุคคล เพื่อเป็นตัว แทน ของบริษัทฯ เข้าดำรงตำแหน่งในฐานะ กรรมการ ตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อย หรือ บริษัทร่วม หรือ ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันตามสัญญา และ/หรือ แต่งตั้ง ผู้บริหาร ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกัน โดย คณะกรรมการบริษัท หรือ คณะกรรมการบริหาร ของบริษัทฯ จะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นตัว แทนดังกล่าว โดยจะพิจารณาบุคคลที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสม ปราศจากผลประโยชน์ขัดแย้งกับธุรกิจของบริษัทย่อย หรือ บริษัทร่วม ที่บริษัทฯ เข้าลงทุน ตลอดจนไม่มีลักษณะต้องห้ามขาดความน่าไว้วาง ใจตามกฎหมาย หรือ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การบริหารงานในธุรกิจที่บริษัทฯ มีความชำนาญ บริษัทฯ จะส่งบุคคลเพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทฯ เข้าดำรงตำแหน่งในฐานะ กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหาร เพื่อเข้าร่วมบริหารงาน และรวมถึงกำหนดนโยบายและแนวทาง การบริหารงานให้สอดคล้องกับแผนงานของบริษัทฯ รวมทั้งติดตามและควบคุมการปฏิบัติ งานให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ การบริหารงานในธุรกิจอื่นที่บริษัทฯ ไม่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจ บริษัทฯ จะส่งบุคคลเพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทฯ เข้าดำรงตำแหน่งในฐานะ กรรมการ แทนการเข้าไปบริหารงานโดยตรง ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม ด้วยความรับผิดชอบ กำกับดูแลติดตามการดำเนินธุรกิจของ บริษัทย่อยหรือ บริษัทร่วม ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมิให้บุคคลที่เป็นตัวแทนของบริษัทฯ รวมถึง บิดา มารดา พี่น้อง บุตร บุตรบุญธรรม คู่สมรส หรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของตัวแทนใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ บริษัทย่อย และ บริษัทร่วม เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น นอกจากเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ บริษัทย่อยและบริษัทร่วมเท่านั้น

รายละเอียดทั้งหมด

การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ บริษัทฯ มีการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายในตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในจรรยาบรรณบริษัทฯ (https://www.cpi-th.com/public/upload/ir/files/file-31052021-17012205.pdf) และคู่มือบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งจะมอบให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเมื่อแรกเข้าทำงาน โดยสรุปนโยบายและแนวปฏิบัติที่สำคัญดังนี้ 1)      บริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการและผู้บริหาร ลงนามรับทราบถึงประกาศที่เกี่ยวข้องของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่กำหนดให้กรรมการ และผู้บริหาร มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 59  แห่งพระราชบัญญัติหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ภายใน 3 วัน นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ และให้แจ้งให้เลขานุการบริษัทรับทราบเพื่อจัดทำบันทึกการเปลี่ยนแปลงและสรุปจำนวนหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารเป็นรายบุคคล เพื่อนำเสนอให้แก่คณะกรรมการบริษัททราบ นอกจากนั้น ยังได้แจ้งบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวด้วย 2)      กำหนดให้กรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารส่งแบบรายงานการมีส่วนได้เสียให้แก่เลขานุการบริษัททุก 6 เดือน และเลขานุการบริษัทจะต้องส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้ส่วนเสียนี้ให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงทราบ และกำหนดให้กรรมการและผู้บริหาร มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการ กลต. พร้อมทั้งแจ้งให้เลขานุการบริษัททราบเพื่อจัดทำบันทึกการเปลี่ยนแปลงและสรุปจำนวนหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารเป็นรายบุคคล เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบ 3)      บริษัทฯ มีข้อกำหนดห้ามนำข้อมูลงบการเงิน หรือข้อมูลอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่ทราบ เปิดเผยแก่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และห้ามทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วง 1 เดือน ก่อนที่ข้อมูลงบการเงินหรือข้อมูลอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท/กลุ่มบริษัทจะเผยแพร่ต่อสาธารณชน และต้องไม่ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทจนกว่าจะพ้นระยะเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลนั้นสู่สาธารณะทั้งหมดแล้ว การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวถือเป็นการกระทำผิดวินัยของบริษัท หากกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงาน ที่ได้ล่วงรู้ข้อมูลภายในที่สำคัญ คนใดกระทำผิดวินัยจะได้รับโทษตั้งแต่ การตักเตือน การตัดค่าจ้าง การพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างจนถึงการเลิกจ้าง นอกจากนี้บริษัทฯ กำหนดนโยบายให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ อย่างน้อย 1 วันล่วงหน้าก่อนทำการซื้อขาย โดยนำส่งรายละเอียดความประสงค์ที่จะซื้อขายหุ้นของบริษัทฯ ผ่านเลขานุการบริษัท และเลขานุการบริษัทจะนำส่งให้คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมของการซื้อขายนั้นๆ ว่าเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้หรือไม่ ผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในและการใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ จัดส่งเอกสารคำรับรองเกี่ยวกับจรรยาบรรณบริษัทฯ ซึ่งระบุการกระทำใดๆ อันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ การใช้ข้อมูลภายใน และการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นให้กับกรรมการทุกท่านทบทวน ลงนามรับทราบ และตกลงว่าจะปฏิบัติตามนโยบาย เป็นประจำทุกปี ผลการปฏิบัติ          ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลได้ทำการส่งแบบคำรับรองเกี่ยวกับจรรยาบรรณบริษัทฯ ให้กับกรรมการจำนวน 10 ท่าน และกรรมการทั้ง 10 ท่านได้ทบทวน ลงนามรับทราบและตกลงว่าจะปฏิบัติตามนโยบายครบทุกท่าน และกรรมการทุกท่านมิได้มีการกระทำหรือมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องต่อเจตน์จำนงของจรรยาบรรณบริษัทฯ  จัดส่งเอกสารคำรับรองเกี่ยวกับจรรยาบรรณบริษัทฯ ซึ่งระบุการกระทำใดๆ อันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ การใช้ข้อมูลภายใน และการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้น ให้กับผู้บริหารและพนักงานรับทราบเป็นประจำทุกปี ผลการปฏิบัติ          ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลได้ทำการส่งแบบคำรับรองเกี่ยวกับจรรยาบรรณบริษัทฯ ให้กับผู้บริหารและพนักงานทั้งองค์กร โดยการเผยแพร่ผ่านระบบ Intranet และจัดส่ง Link ผ่านทาง Email เพื่อให้ทำแบบประเมินทบทวนทุกปี และพนักงานทั้งหมดทั้งองค์กรได้ทบทวน ลงนามรับทราบ และตกลงว่าจะปฏิบัติตามนโยบายครบแล้วคิดเป็นร้อยละ 100% ของพนักงานทั้งหมด ฝ่ายงานเลขานุการบริษัททำการแจ้งเป็น Email ไปยังกรรมการและผู้บริหารให้ทราบช่วงระยะเวลา Black Peirod ล่วงหน้า ผลการปฏิบัติ  เลขานุการบริษัททำการส่ง Email ให้กับกรรมการและผู้บริหารให้ทราบช่วงระยะเวลา Black Period ล่วงหน้า ก่อนการประชุมพิจารณางบการเงินแต่ละไตรมาส และไม่พบว่ามีกรรมการหรือผู้บริหารมีการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่บริษัทฯ กำหนดให้งดการซื้อขาย โดยในปี 2566 กรรมการและผู้บริหารมีการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 ครั้ง และจากการตรวจสอบพบว่ามีการปฏิบัติตามที่นโยบายของบริษัทฯ กำหนดไว้ถูกต้องครบถ้วน ตรวจสอบกรณีกรรมการบริษัทฯ หรือ ผู้บริหารระดับสูง เคยเป็นพนักงานหรือหุ้นส่วนของบริษัทสอบบัญชีภายนอกที่บริษัทฯ ใช้บริการอยู่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผลการตรวสอบ       -ไม่มีกรณีดังกล่าว- ตรวจสอบกรณีกรรมการบริษัทฯ หรือ ผู้บริหารระดับสูง เข้าข่ายการทำรายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ผลการตรวสอบ       -ไม่มีกรณีดังกล่าว- การเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นบริษัทฯ ของกรรมการและผู้บริหาร ปี 2566 รายชื่อ การถือครองหุ้น ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 การเปลี่ยนแปลงระหว่างปี การถือครองหุ้น ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2566 ซื้อ ขาย โอน จำนวนหุ้น % จำนวนหุ้น จำนวนหุ้น จำนวนหุ้น จำนวนหุ้น % กรรมการบริษัทฯ               1. นายบรรพต หงษ์ทอง   กรรมการอิสระ 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   2. นายนพพร พิชา           กรรมการอิสระ 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   3. นายไพบูลย์ คุจารีวณิช กรรมการอิสระ 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   4. นายศราวุธ เมนะเศวต  กรรมการอิสระ 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   5. นายถกล ถวิลเติมทรัพย์     กรรมการ 9,571,858 1.51 -  -   - 9,571,858 1.51   คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   6. นายชูศักดิ์ ปรัชญางค์ปรีชา           กรรมการ 13,253,181 2.10 -   -   - 13,253,181 2.10   คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   7. นายการุญ นันทิลีพงศ์        กรรมการ 95,000  0.02  - -   - 95,000 0.02   คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   8. นายกิตติ ฉัตรเลขวนิช        กรรมการ 14,359,923 2.27 1,040,000 - - 15,399,923 2.43   คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   9. นายทรงฤทธิ์ นิวัติศัยวงศ์   กรรมการ 2,831,260 0.45 -   -   - 2,831,260 0.45   คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   10. นายรชฎ ถวิลเติมทรัพย์     กรรมการ 5,962,166 0.94 -   -   - 5,962,166 0.94   คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   ผู้บริหาร               11. นายกฤษฏ์พงศ์ ตากวิริยะนันท์   ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   12. นางรัศมี พงศ์จินดานนท์ Chief Financial Officer 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   13. นายธวัชชัย โฉมวรรณ์ ผู้อำนวยการสายงานขาย 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   14. นางสาวนิตยา เสวกโกเมต ผู้อำนวยการสายงานบริหารทรัพยากรบุคคล 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   15. Mr. Jaroslaw Marian Kibilda ผู้อำนวยการสายงานพัฒนาธุรกิจ 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   16. นายอานนท์ ฤทธิ์ธาร ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการ 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   17. นายชุมพล ไทยนุกูล ผู้อำนวยการโรงงาน 0   -   -   - 0     คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 0   -   -   - 0   รวมจำนวนหุ้นกรรมการ (ลำดับที่ 1-10) 46,073,388 7.28 1,040,000   - - 47,113,388 7.47 รวมจำนวนหุ้นผู้บริหาร (ลำดับที่ 11-17) 0   -   -   - 0   การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น แนวปฏิบัติการต่อต้านคอร์รัปชั่น ในปี 2557 บริษัทฯ ได้ร่วมลงนามแสดงเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต โดยประธานกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมให้สัตยาบันเพื่อรับทราบข้อตกลงคำประกาศเจตนารณ์แนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาอนุมัตินโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น Link : https://www.cpi-th.com/th/corporate-governance/5 , นโยบายการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานที่แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และจรรยาบรรณบริษัท (Whistle Blower Policy) Link : https://www.cpi-th.com/th/corporate-governance/6  และนโยบายว่าด้วยการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อประกาศและแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองคร์กรได้รับทราบและปฏิบัติโดยทั่วกัน ในปี 2558 ได้ดำเนินการแจ้งพนักงานในองค์กร หน่วยงานภายนอก คู่ค้าของบริษัทฯ ให้รับทราบถึงนโยบายดังกล่าวข้างต้น และได้ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ พร้อมได้ดำเนินการจัดอบรมให้กับพนักงานในองค์กรเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นมากขึ้น และดำเนินการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น เพื่อให้การนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในเรื่องการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณ และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันในหลักสูตร/ช่องทางต่างๆ อาทิเช่น อบรมพร้อมหลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่, อบรมพร้อมหลักสูตรกฎระเบียบของบริษัทฯ, อบรมพร้อมหลักสูตรจรรยาบรรณบริษัทฯ, อบรมหลักสูตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น, ประกาศนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น , นโยบายการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานที่แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และจรรยาบรรณบริษัท (Whistle Blower Policy) ในปี 2559 บริษัทฯ ได้รับใบประกาศรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC – Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) ซึ่งใบรับรองดังกล่าวมีอายุ 3 ปี ในปี 2562 บริษัทฯ ได้รับใบประกาศรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC – Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) ซึ่งใบรับรองการอายุสมาชิกดังกล่าวมีอายุ 3 ปี ในปี 2564 บริษัทฯ ได้นำระบบการร้องเรียนที่ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระโดยผู้ให้บริการภายนอกเข้ามาใช้งาน ผ่านระบบ CPI Hotline : https://www.cpihotline.com ซึ่งเป็นบริการช่องทางการแจ้งข้อมูล/ข้อร้องเรียน ในนามของ “บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)” ในปี 2565 บริษัทฯ ได้รับใบประกาศรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC – Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) ซึ่งใบรับรองดังกล่าวมีอายุ 3 ปี (เดือนกันยายน 2565 – กันยายน 2568) ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนมาใช้ช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนผ่านทาง CPI Hotline หมายเลขโทรศัพท์ 02-034-0284   การดำเนินการและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในปี 2566 บริษัทฯ ได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้ แนะนำช่องทางแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน ตลอดจนสื่อสารข้อมูลต่างๆ แก่พนักงานทุกระดับชั้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย อย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินการฝึกอบรมแล้วคิดเป็นร้อยละ 100% ของพนักงานทั้งหมด บริษัทฯ ได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้ แนะนำช่องทางแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน ตลอดจนสื่อสารข้อมูลต่างๆ แก่พนักงานทุกระดับชั้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย อย่างต่อเนื่อง โดยผ่านหลักสูตรอบรมประจำปี และเผยแพร่ทาง Intranet ผลการดำเนินการฝึกอบรมและลงนามรับทราบแล้วคิดเป็นร้อยละ 100% ของพนักงานทั้งหมด สำนักตรวจสอบภายในได้สอบทานการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยกำหนดไว้ในแผนงานตรวจสอบประจำปี ซึ่งไม่พบการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังได้ตรวจสอบข้อร้องเรียนที่ได้รับแจ้งผ่านช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนต่างๆ ซึ่งไม่พบว่าเป็นข้อร้องเรียนที่ที่มีนัยสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยได้รายงานผลไปยังคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทฯ การแจ้งเบาะแส (Whistle Blower) ระบบการรับข้อร้องเรียน (Whistle Blower) เพื่อให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งเบาะแสการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามจรรยาบรรณ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การใช้อำนาจในทางไม่ชอบ การขัดแย้งทางผลประโยชน์ กฎหมาย หรือการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งระบบดังกล่าวช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยสามารถแจ้งผ่านช่องการแจ้งข้อร้องเรียนได้ดังนี้ ร้องเรียนได้โดยตรงด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร ผ่านโทรศัพท์ระบบ CPI Hotline ที่หมายเลข 02-034-0284 ซึ่งเป็นบริการช่องทางการแจ้งข้อมูล/ข้อร้องเรียนที่ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระโดยผู้ให้บริการภายนอก ในนามของ “บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)” ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ : https://www.cpi-th.com/th/corporate-governance/6 ผ่านทาง E-mail ของประธานกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง :noppornpicha@hotmail.com บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการรับแจ้งข้อมูล/เบาะแสเรื่องร้องเรียนอย่างจริงจัง โดยจะเริ่มกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดทันทีที่เป็นไปได้ โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บรักษาเป็นความลับ และผู้แจ้งข้อมูลไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน ยกเว้นจะเลือกที่จะเปิดเผยตัวตนเท่านั้น นอกจากนี้ หากผู้แจ้งข้อมูลต้องการรายงานเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ครอบคลุมบริการข้างต้น สามารถแจ้งมายังผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายในของบริษัทฯ ได้โดยตรง ปี 2566 บริษัทฯ ได้ตรวจสอบข้อร้องเรียนที่ได้รับแจ้งผ่านช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนต่างๆ ซึ่งไม่พบว่าเป็นข้อร้องเรียนที่ที่มีนัยสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยได้รายงานผลไปยังคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทฯ  

รายละเอียดทั้งหมด

ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

เพื่อให้การดำเนินกิจการของบริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) เป็นไปด้วยความราบรื่นเรียบร้อย มีรูปธรรมชัดเจนในเรื่องของบทบาท สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อกัน รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย บริษัทฯ ได้จัดทำระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขึ้น เพื่อให้พนักงาน  ของบริษัทฯ ได้ทราบและยึดถือปฏิบัติโดยเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นหลักประกันในการเสริมสร้างและรักษาไว้ซึ่งความสามัคคี และสัมพันธภาพอันดีระหว่างพนักงานกับพนักงาน พนักงานกับผู้บังคับบัญชา และพนักงานกับบริษัทฯ แล้ว ยังจะเป็นที่มาของการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ซึ่งจะรังสรรค์ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ อย่างยั่งยืนตลอดไป  

รายละเอียดทั้งหมด

การจัดการความยั่งยืนในมิติสังคม

บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)  ได้ดำเนินงานโครงการ CSR (Corporate Social Responsibility) มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่การดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยความจริงใจ รวมทั้งสามารถดำเนินกิจการร่วมกับชุมชนและได้รับการยอมรับอย่างยั่งยืน การดำเนินงานของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งการดำเนินงานทั้งในกระบวนการทางธุรกิจ และนอกเหนือกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กรขยายออกสู่ชุมชนใกล้เคียง ซึ่งพนักงานในบริษัทฯ ต่างได้มีส่วนช่วยเหลือ ร่วมมือร่วมใจช่วยกันส่งเสริมและจัดทำกิจกรรมต่างๆ ให้โครงการดังกล่าวขับเคลื่อนไปได้          ทั้งนี้ บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างศักยภาพโรงงานอุตสาหกรรม มุ่งสู่การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน จัดขึ้นโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดทำมาตรฐานว่าด้วยการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Responsibility, Department of Industrial Works : CSR-DIW) ที่ประกอบด้วยมาตรฐานหัวข้อหลัก 7 หัวข้อ คือ1. การกำกับดูแลองค์กร (Corporate Governance)2. สิทธิมนุษยชน  (Human Rights) 3. การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor Practice)4. สิ่งแวดล้อม (Environment)5. การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Operating Practice)6. ผู้บริโภค (Consumers Issue)7. การมีส่วนร่วมต่อสังคมและชุมชน (Community involvement and Development) 1)      นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ เคารพในเกียรติของพนักงานในสถานที่ทำงานของบริษัทฯ และบริษัทฯ จะดำเนินการเพื่อรับประกันว่าพนักงานของบริษัทฯ จะมีสิทธิในด้านความปลอดภัยส่วนบุคคล ตลอดจนมีสิทธิที่จะมีสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย สะอาดและถูกสุขลักษณะ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีรายละเอียดดังนี้ ด้านการใช้แรงงานบังคับ : บริษัทฯ ไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ และจะไม่เรียกร้องหรือรับเงินเก็บประกัน บัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวใดๆ จากลูกจ้าง ไม่ว่าเมื่อเข้าทำงาน หรือรับเข้าทำงานแล้ว หรือเป็นเงื่อนไขในการรับเข้าทำงานเว้นแต่กฎหมายยกเว้นไว้ รวมทั้งไม่ใช้การลงโทษทางกาย หรือการคุกคามจากการถูกกระทำรุนแรง หรือรูปแบบอื่นๆ ของการข่มเหงทางกาย เพศ จิตใจ หรือทางวาจา เป็นมาตรการด้านระเบียบวินัยหรือการควบคุม ด้านการใช้แรงงานเด็ก : บริษัทฯ จะไม่ว่าจ้างหรือสนับสนุนให้มีการว่าจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และจะไม่ให้หรือสนับสนุนให้แรงงานเด็กทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย หรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ด้านการใช้แรงงานหญิง : บริษัทฯ จะต้องไม่ให้ลูกจ้างหญิงทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งบริษัทฯ ต้องจัดให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงาน หรืออยู่ในสภาพ แวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยต่อการมีครรภ์ รวมทั้งบริษัทฯ จะไม่เลิกจ้าง ลดตำแหน่ง หรือลดสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างหญิง เพราะเหตุจากการมีครรภ์ ด้านการเลือกปฏิบัติ : บริษัทฯ จะไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การจ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนการทำงาน การให้สวัสดิการ โอกาสได้รับการฝึกอบรมและพัฒนา การพิจารณาเลื่อนขั้น หรือตำแหน่งหน้าที่ การเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุการทำงาน และจะไม่แทรกแซง ขัดขวาง หรือกระทำการใดๆ อันเป็นผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้สิทธิหรือวิธีปฏิบัติของลูกจ้าง อันเนื่องมาจากเหตุเพราะความแตกต่างในเรื่องสัญชาติ ศาสนา ภาษา อายุ เพศ สถานภาพการสมรส ทัศนคติส่วนตัวในเรื่องเพศ ความพิการ การติดเชื้อเอชไอวี การเป็นผู้ป่วยเอดส์ การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเป็นกรรมการลูกจ้าง ความนิยมในพรรคการเมือง หรือแนวคิดส่วนบุคคลอื่นๆ ด้านเสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง : บริษัทฯ จะเคารพสิทธิลูกจ้างในการสมาคม การร่วมเจรจาต่อรอง การคัดเลือกหรือเลือกตั้งผู้แทน อำนวยความสะดวก และจะปฏิบัติต่อผู้แทนนั้นเท่าเทียมกับลูกจ้างอื่นๆ ด้านความรับผิดชอบทางสังคมและแรงงาน : บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้พนักงานทุกคนของบริษัทฯ ปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน ภายใต้การคุ้มครองและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานทางสังคม และตามบทบัญญัติของกฎหมายแรงงานที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน สวัสดิการแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ และความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ แวดล้อมในการทำงาน และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยจะมีการทบทวน พัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอ ด้านความรับผิดชอบดูแลลูกจ้างเกี่ยวกับการถูกคุมคามและหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมทั้งการใช้ความรุนแรงต่อสตรี : บริษัทฯ ได้มีมาตรการป้องกันมิให้ลูกจ้างของบริษัทฯ ถูกคุมคามและล่วงละเมิดทางเพศ โดยการแสดงออกด้วยคำพูด ท่าทาง การสัมผัสทางกาย หรือด้วยวิธีการอื่นใด รวมทั้งการใช้ความรุนแรงต่อสตรี หากลูกจ้างถูกคุมคาม และหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ บริษัทฯ จะดำเนินการพิจารณาโทษทางวินัยกับผู้ที่กระทำผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด แนวปฏิบัติ ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด นโยบาย และระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด ทบทวนนโยบาย แผนการจัดการ และติดตามผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ เปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษชนของบริษัทฯ อย่างถูกต้องและโปร่งใส ให้ความรู้พร้อมสนับสนุนกิจกรรมที่สร้างจิตสำนึกแก่พนักงานถึงด้านสิทธิมนุษยชน จัดให้มีช่องทางร้องเรียนด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงาน เพื่อหาแนวทางป้องกันและบรรเทาผลกระทบ การประเมินผลกระทบ บริษัทฯ ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว พบว่าในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่พบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างมีนัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงเฝ้าระวังและดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด กลไกการร้องเรียนและมาตรการบรรเทาผลกระทบ บริษัทฯ ได้กำหนดกลไกการร้องเรียนและมาตรการบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพในการควบคุมผลกระทบ โดยมีช่องทางให้ผู้ได้รับผลกระทบที่มีความไม่พอใจหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถยื่นร้องทุกข์ผ่านขั้นตอน กระบวนการสอบสวนและพิจารณา กระบวนการยุติข้อร้องทุกข์ รวมถึงกระบวนการเยียวยาที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ช่องทางการร้องเรียน ช่องทางการแจ้งผ่านระบบ CPI Hotline : https://www.cpihotline.com ซึ่งเป็นบริการช่องทางการแจ้งข้อมูล/ข้อร้องเรียนที่ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระโดยผู้ให้บริการภายนอก ในนามของ “บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)” ช่องทางการแจ้งผ่านระบบ CPI Hotline สายด่วนเบอร์ 02-034-0284 ซึ่งเป็นบริการช่องทางการแจ้งข้อมูล/ข้อร้องเรียนที่ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระโดยผู้ให้บริการภายนอก ในนามของ “บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)” กรณีพนักงานพบว่ามีเหตุอันควรสงสัย หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการประพฤติปฏิบัติใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืน พนักงานสามารถรายงานให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงในสายงานได้ทราบตามลำดับโดยทันที หรืออาจส่งข้อร้องเรียนไปยังบุคคลดังต่อไปนี้ ผู้บังคับบัญชาที่ตนไว้วางใจในทุกระดับ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน ผู้อำนวยการสายงานบริหารทรัพยากรบุคคล เลขานุการคณะกรรมการบริษัท หรือ กรรมการบริษัทฯ เป้าหมาย ไม่มีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมุนษยชน ผลการดำเนินงาน บริษัทฯ ได้มีการติดตามและประเมินการดำเนินงานตามกฎหมาย ข้อกำหนด และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ ทำการแต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานติดต่อสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูงและดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงานไทย และจัดตั้ง คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อเป็นช่องทางในการควบคุมดูแล ปรึกษา ร้องเรียน และหารือร่วมกันระหว่างบริษัทฯ และ พนักงานเกี่ยวกับสวัสดิการ ผลประโยชน์ หรือการเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน โดยในปี 2566 บริษัทฯ ไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน ข้อพิพาทด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลสิทธิวันหยุด สวัสดิการ  หน่วย สิทธิตามกฎหมายกำหนด สิทธิที่บริษัทฯ มอบให้พนักงาน ปี 2566 ปี 2565 ปี 2564 จำนวนวันเพื่อเลี้ยงดูบุตรสำหรับพนักงานหญิง วัน 98 98 98 98 พนักงานที่ใช้สิทธิ์ลาคลอดและเลี้ยงดูบุตร คน   4 12 4 พนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากใช้สิทธิ์ลาคลอดและเลี้ยงดูบุตร คน   4 3 4 พนักงานที่กลับมาทำงานหลังจากใช้สิทธิ์ลาคลอดและเลี้ยงดูบุตร และยังคงทำงานอยู่กับบริษัทฯ ต่อไปอีก 12 เดือน คน   4 3 4 วันหยุดตามประเพณี วัน ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน 16 16 16 วันหยุดพักผ่อนประจำปี วัน ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน 6-12 วัน 6-10 วัน 6-10 วัน วันลากิจ วัน 3 วัน 6 วัน 6 วัน 6 วัน 2)      นโยบายการสรรหาว่าจ้าง การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การพัฒนา และการปฏิบัติต่อพนักงาน บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าพนักงานของบริษัทฯ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จ บริษัทฯ จึงปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน และนำเอาความต้องการของพนักงานมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณา เพื่อสรรค์สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพนักงานกับบริษัทฯ มุ่งสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ พร้อมทั้งเพิ่มพูนศักยภาพของพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็บริหารจัดการเพื่อให้เกิดความมั่นคงและความ ก้าวหน้าในอาชีพของพนักงาน แนวปฏิบัติ ดำเนินการสรรหาด้วยระบบการคัดเลือกและมีเงื่อนไขในการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาคและเป็นธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งพนักงานที่มีคุณสมบัติครบถ้วน มีคุณภาพ และมีความซื่อสัตย์สุจริต ตรงตามมาตรฐานที่บริษัทฯ ต้องการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน และบริหารค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความสามารถของพนักงานเป็นรายบุคคล การจัดให้มีสวัสดิการที่เป็นธรรมและมีความเหมาะสมแก่พนักงาน รวมทั้งดูแลและปรับปรุงให้มีความเหมาะสมเป็นปัจจุบัน มีความสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และตลาดการจ้างงานในอุตสาหกรรมเดียวกัน ให้การพัฒนาพนักงานทุกคน ทุกระดับ และทุกสายวิชาชีพอย่างทั่วถึง เพียงพอ และต่อเนื่องบนพื้นฐานและความเหมาะสมของบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณธรรม การมีจิตอาสา การอนุรักษ์ธรรมชาติชุมชนและสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมของการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อสร้างความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันขององค์กร พร้อมทั้งปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้พนักงานมีวินัยในการทำงาน ปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึก และส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ สร้างบรรยากาศและสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ดี เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานอย่างมีความสุขเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน และสามารถบริหารดุลยภาพระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัวได้อย่างเหมาะสม บริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งจัดให้มีระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นสากล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน ให้การดูแลพนักงานอย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม ให้เกียรติ ให้ความเคารพ และให้การปกป้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลของพนักงานมิให้ถูกละเมิด ให้การสนับสนุนส่งเสริมสิทธิในการแสดงออก และการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน รวมทั้งพิจารณาและให้ความเคารพในความเห็นต่าง จัดให้มีระบบร้องเรียน และช่องทางที่หลากหลายในการแจ้งข้อมูลเบาะแสของพฤติกรรมอันไม่สอดคล้องกับจรรยาบรรณบริษัท หรือพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ รวมทั้งจัดให้มีระบบการปกป้องพนักงานหรือผู้ร้องเรียนดังกล่าว มิให้ถูกกลั่นแกล้ง ได้รับโทษ หรือได้รับความเดือดร้อนจากการร้องเรียน (Whistle Blower Policy) ส่งเสริม และจัดให้มีช่องทางที่หลากหลายในการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารต่างๆ แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานมีข้อมูล มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจ และได้รับทราบผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ เป้าหมาย ไม่มีข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงาน ผลการดำเนินงาน บริษัทฯ ได้ดำเนินการสรรหาด้วยระบบการคัดเลือกและมีเงื่อนไขในการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาคและเป็นธรรม ทำประเมินผลการปฏิบัติงานและบริหารค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความสามารถของพนักงานเป็นรายบุคคล ให้การพัฒนาพนักงานทุกคนทุกระดับ โดยในปี 2565 บริษัทฯ ไม่มีข้อร้องเรียนด้านแรงงาน ข้อพิพาทด้านแรงงานที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านแรงงานที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา จำนวนข้อมูลพนักงานประจำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ระดับของพนักงาน เพศชาย เพศหญิง รวมจำนวน จำนวน (คน) (%) จำนวน (คน) (%) จำนวน (คน) (%) พนักงานสำนักงานกรุงเทพ               พนักงานระดับบริหาร 9 0.98 9 0.98 18 1.96   พนักงานระดับหัวหน้างาน 2 0.22 5 0.55 7 0.77   พนักงานระดับวิชาชีพ 13 1.42 23 2.51 36 3.93   พนักงานระดับปฏิบัติการ 7 0.77 2 0.22 9 0.99 พนักงานสำนักงานชุมพร               พนักงานระดับบริหาร 7 0.77 5 0.55 12 1.32   พนักงานระดับหัวหน้างาน 27 2.95 13 1.42 40 4.37   พนักงานระดับวิชาชีพ 34 3.72 36 3.93 70 7.65   พนักงานระดับปฏิบัติการ 476 52.02 247 26.99 723 79.01 รวมพนักงานประจำ 575 62.85 340 37.15 915 100 จำนวนข้อมูลพนักงานแยกตามช่วงอายุ ช่วงอายุของพนักงาน เพศชาย เพศหญิง รวมจำนวน จำนวน (คน) (%) จำนวน (คน) (%) จำนวน (คน) (%) อายุ 50 ปีขึ้นไป  88 9.62 44 4.81 132 14.43 อายุ 30-50 ปีขึ้นไป  318 34.75 191 20.87 509 55.62 อายุน้อยกว่า 30 ปี 169 18.47 105 11.48 274 29.95 รวมพนักงานประจำ 575 62.84 340 340 915 100 โดยในปี 2566 บริษัทฯ จะต้องทำการว่าจ้างพนักงานที่เป็นผู้พิการตามอัตราจำนวน 9 คน (ตามจำนวนลูกจ้าง ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 มีลูกจ้างทั้งหมด 915 คน) บริษัทฯ ได้ทำการว่าจ้างพนักงานที่เป็นผู้พิการซึ่งอยู่ในพนักงานระดับปฏิบัติการจำนวน 4 คน และได้จัดส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน 598,600 บาท ครบถ้วนแล้ว หมายเหตุ     ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 33 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ รับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในสัดส่วนที่เหมาะสมในอัตรา 100 คนต่อ คนพิการ 1 คน มาตรา 34 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนดตามมาตรา 33 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วย 365 วัน คูณด้วยจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน   จำนวนข้อมูลพนักงานเข้าใหม่ ปี 2566 ระดับของพนักงาน เพศชาย เพศหญิง รวมจำนวน จำนวน (คน) (%) จำนวน (คน) (%) จำนวน(คน) (%) พนักงานสำนักงานกรุงเทพ               พนักงานระดับบริหาร 3 2.26 2 1.50 5 3.76   พนักงานระดับหัวหน้างาน พนักงานระดับวิชาชีพ 0 7 0.00 5.26 0 9 0.00 6.77 0 16 0.00 12.03   พนักงานระดับปฏิบัติการ 0 0.00 1 0.75 1 0.75   ผู้พิการ 0 0.00 0 0.00 0 0.00 พนักงานสำนักงานชุมพร               พนักงานระดับบริหาร 0 0.00 0 0.00 0 0.00   พนักงานระดับหัวหน้างาน พนักงานระดับวิชาชีพ 0 11 0.00 8.27 1 7 0.75 5.26 1 18 0.75 13.53   พนักงานระดับปฏิบัติการ 61 45.86 31 23.31 92 69.17   ผู้พิการ 0 0.00 0 0.00 0 0.00 รวมพนักงานเข้าใหม่ 82 61.65 51 38.34 133 100 หมายเหตุ ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ได้ดำเนินการตามนโยบายการจ้างพนักงานรัฐ โดยพิจารณาประวัติการทำงานของผู้สมัคร เพื่อคัดเลือกและนำเสนออนุมัติการว่าจ้างพนักงานใหม่ โดยในปี 2567 บริษัทฯ ไม่ได้มีการคัดสรรว่าจ้างพนักงานรัฐเข้าเป็นพนักงานบริษัทฯ  และพนักงานใหม่ที่ได้อนุมัติว่าจ้างเข้าเป็นพนักงานบริษัทฯ ไม่ได้เป็นพนักงานรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนข้อมูลพนักงานลาออก ปี 2566 ระดับของพนักงาน เพศชาย เพศหญิง รวมจำนวน จำนวน (คน) (%) จำนวน (คน) (%) จำนวน(คน) (%) พนักงานสำนักงานกรุงเทพ               พนักงานระดับบริหาร 2 1.53 2 1.53 4 3.81   พนักงานระดับหัวหน้างาน พนักงานระดับวิชาชีพ 0 6 0.00 4.58 0 14 0.00 10.69 0 20 0.00 19.05   พนักงานระดับปฏิบัติการ 1 0.76 1 0.76 2 1.90   ผู้พิการ 0 0.00 0 0.00 0 0.00 พนักงานสำนักงานชุมพร               พนักงานระดับบริหาร 3 2.29 1 0.76 4 3.81   พนักงานระดับหัวหน้างาน พนักงานระดับวิชาชีพ 4 6 3.05 4.58 0 6 0.00 4.58 4 12 3.81 11.43   พนักงานระดับปฏิบัติการ 48 36.64 37 28.24 85 80.95   ผู้พิการ 0 0.00 0 0.00 85 0.00 รวมพนักงานลาออก 70 53.44 61 46.56 131 100 การส่งเสริมความสัมพันธ์และการรักษาพนักงาน บริษัทฯ สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับทุกภาคส่วนผ่านการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น การจัดกิจกรรม Town Hall Meeting เพื่อให้พนักงานได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างพนักงานกับผู้บริหารระดับสูง กิจกรรม Walk Rally เพื่อให้พนักงานได้ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นทีม เป็นต้น และหลังจากการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันที่เกิดจากวิกฤตการณ์ Covid-19 บริษัทฯ มีการเสริมกลยุทธ์เพื่อที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้กับองค์กร ซึ่งเริ่มจากการปฏิบัติตั้งแต่วันแรกของการเริ่มงานไปจนถึงการให้ความรู้ การสื่อสารกับพนักงาน ผู้บริหารและผู้นำองค์กร อย่างสม่ำเสมอและตรงไปตรงมา ส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับได้พัฒนาตนเองและปรับตัวให้ทันต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป พร้อมกับสร้างความผูกพันภายในองค์กร เพื่อรักษาพนักงานซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แนวปฏิบัติ การให้รางวัล คำชมที่ดี ซึ่งถือเป็นแรงกระตุ้นเชิงบวกที่ทำให้พนักงานรู้สึกมีแรงผลักดันในการทำงานของตนว่าสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาได้ทำอย่างถูกต้องถูกวิธีตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้ เปิดโอกาสให้พนักงานเสนอแนะวิธีการ แนวความคิด เพื่อให้ได้มีส่วนรวมในการทำงานนั้นๆ เพื่อให้รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการประสบความสำเร็จไปพร้อมกับบริษัทฯ จัดโปรแกรม Onboarding Program เพื่อให้พนักงานใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ รวมทั้งเข้าใจแก่นแท้ของธุรกิจที่ตนเข้ามาร่วมงาน เพิ่มช่องทางการสื่อสารออนไลน์ เพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าถึงข้อมูล สามารถร้องเรียนหรือขอคำปรึกษาได้ทุกที่ ทุกเวลา การสื่อสารเพื่อให้พนักงานเข้าใจและเห็นเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพไปจนถึงการก้าวขึ้นสู่เส้นทางของการเป็นผู้บริหารขององค์กร ผลการดำเนินงาน ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินการดังนี้ ได้มีการจัดโครงการการจัดการสวนปาล์มอย่างมืออาชีพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Onboarding Program พนักงานได้เรียนรู้และเข้าใจถึงแหล่งที่มา การดูแลรักษาสวนปาล์มเพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพสูงสุด สร้างช่องทางการสื่อสารผ่านทาง Line OA ภายใต้ชื่อ CPI Connext เป็นช่องทางการสื่อสารที่พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จัดกิจกรรมเพื่อสื่อสารกับพนักงานกลุ่มความสามารถสูง (Talent Pool) ให้เข้าใจถึงเส้นทางการพัฒนาอาชีพ เส้นทางการเติบโตไปสู่ตำแหน่งบริหารขององค์กร จัดกิจกรรม Town Hall Meeting โดยคัดสรรกลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติเข้าร่วมเพื่อรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างพนักงานและผู้บริหาร จัดกิจกรรม Walk Rally เพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้กับพนักงาน ร่วมถึงแสดงความเห็นสิ่งที่ชอบและไม่ชอบภายในองค์กร เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป อัตราการลาออกของพนักงานประจำอัตราการลาออกของพนักงานประจำปี 2566 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 11.48 ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 12.43 โดยในปี 2567 ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลมีแผนการจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน เพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรและสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมระหว่างหน่วยงาน รวมถึงแผนการทำแบบสำรวจความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Survey) เพื่อทราบถึงมุมมองของพนักงานที่มีต่อบริษัทฯ ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงาน เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาทำแผนงานในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการภายใน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยลดอัตราการลาออกให้ลดน้อยลง    ข้อมูล หน่วย ปี 2565 ปี 2566 จำนวนพนักงานรวมที่ลาออกโดยความสมัครใจ (Turn over rate) คน 107 105 ร้อยละของจำนวนพนักงานรวมที่ลาออกโดยความสมัครใจต่อพนักงานทั้งหมด % 12.43 11.48 จำนวนพนักงานชายที่ลาออกโดยความสมัครใจ คน 64 61 ร้อยละของจำนวนพนักงานชายที่ลาออกโดยความสมัครใจ % 12.05 6.67 จำนวนพนักงานหญิงที่ลาออกโดยความสมัครใจ คน 43 44 ร้อยละของจำนวนพนักงานหญิงที่ลาออกโดยความสมัครใจ % 13.03 4.81 ข้อพิพาทด้านแรงงานที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจ มี / ไม่มี ไม่มี ไม่มี   3)      นโยบายการพัฒนาฝึกอบรม กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน   บริษัทฯ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงคุณค่าของบุคลากรทุกระดับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่การทำงานในองค์กร ดังนั้น จึงได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร และมุ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตของพนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีวิธีการพัฒนาบุคลากรด้วยรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมประจำปีที่เหมาะสมให้แก่ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานในระดับต่างๆ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการสร้างทายาทหรือผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) เพื่อรองรับตำแหน่งงานที่สำคัญที่จะเกษียณอายุภายใน 5 ปี ภายในองค์กร และเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในได้มีโอกาสเรียนรู้และเติบโต นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเน้นการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการทำงานในกระบวนการผลิตและด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นประจำ  ซึ่งการพัฒนาบุคลากรดังกล่าวนั้น ได้จัดให้มีการอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความพร้อมในการที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้  รวมทั้งบริษัทฯ ยังได้ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมและปลูกฝังให้พนักงานทุกระดับให้มีความตระหนักในเรื่องของการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น โดยถือเป็นนโยบายหลักที่จะต้องดำเนินการและทบทวนให้มีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง กรอบการดำเนินงานพัฒนาทักษะและโอกาสทางอาชีพของพนักงานอย่างยั่งยืน การให้ความสำคัญกับการสรรหาบุคลากรที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับงานและค่านิยมขององค์กร รวมถึงการเตรียมความพร้อมก่อนบรรจุเป็นพนักงาน การพัฒนาความความสามารถของบุคคลกรภายหลังบรรจุเป็นพนักงาน การพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพสูงและการวางแผนสืบทอดตำแหน่งในอนาคต การประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาความสามารถของพนักงาน การดูแลและมอบโอกาสกับบุคลากรเกษียณอายุ กระบวนการพัฒนาพนักงานที่มีศักยภาพสูง การคัดเลือกพนักงานที่เข้าหลักเกณฑ์เบื้องต้น การประเมินศักยภาพ สรุปผลงาน รายงานผลการคัดเลือกและวางแผนการพัฒนาศักยภาพ การประเมินและติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนา การรายงานความก้าวหน้าของการพัฒนาแก่คณะกรรมการ ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาในปี 2566 บริษัทฯ มีการจัดอบรมทั้งภายในและภายนอก ให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างทั่วถึง มีการจัดโปรแกรม Leadership Development Program เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้บริหารซึ่งเป็นกำลังสำคัญของบริษัทฯ ในการรับมือกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การอบรมพัฒนาของกรรมการ ปี 2566 -ไม่มี- สถิติการฝึกอบรมพัฒนาของพนักงาน ข้อมูล  หน่วย ปี 2566 ปี 2565 ปี 2564 จำนวนการฝึกอบรม ชั่วโมง 23,089 11,637 6,033 เป้าหมายการฝึกอบรม ชั่วโมง/คน/ปี 6 6 6 จำนวนการฝึกอบรมเฉลี่ย ชั่วโมง/คน/ปี 29.12 15.70 8.82 จำแนกตามเพศ         ชาย ชั่วโมง/คน/ปี 17.79 12.99 5.03 หญิง ชั่วโมง/คน/ปี 11.32 14.36 12.55 จำแนกตามระดับ         พนักงานระดับบริหาร ชั่วโมง/คน/ปี 2.94 17.68 9.70 พนักงานระดับหัวหน้างาน ชั่วโมง/คน/ปี 6.37 50.85 15.96 พนักงานระดับปฏิบัติการ ชั่วโมง/คน/ปี 19.80 9.86 5.87 ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม บาท/ปี 1,974,757 519,944 114,310 หมายเหตุ   หลักสูตรอบรมมีดังนี้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, AI for Business Leader Course, เทคนิคการวิเคราะห์อัตรากำลังเพื่อการวางแผนกำลังคน, Learning & Development Forum, ความปลอดภัย อาชีว-อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน, เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพสำหรับ CPI, ความรู้ในงานจัดซื้อเพื่อการลดต้นทุน, ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจบริษัท, กระบวนการผลิต, ISO, GMP, HACCP, RSPO,นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน จรรยาบรรณบริษัท ฯลฯ หลักสูตรอบรมมีดังนี้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน, ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจบริษัท, กระบวนการผลิต, ISO, GMP, HACCP, RSPO,นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน จรรยาบรรณบริษัท, Leadership Development Program หลักสูตร LDP 102 Excellent Manager, Communication for High Performance, Introduction ข้อกำหนด FSSC 22000 V.6, การใช้งานและบำรุงรักษา Hook Lift อย่างถูกวิธี, Effective Meeting and Communication ฯลฯ การอบรมพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) ณ ปี 2566 บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างทายาทหรือผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) เพื่อรองรับตำแหน่งงานที่สำคัญที่จะเกษียณ โดยแบ่งเป็นกลุ่มเร่งด่วนที่จะเกษียณอายุงานภาย 3-5 ปี และกลุ่มตำแหน่งงานต่อเนื่อง โดยคัดสรรพนักงานที่มีศักยภาพสูงภายในองค์กร เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในได้มีโอกาสเรียนรู้และเติบโตในระดับหน้าที่การงานไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารขององค์กร ในปี 2566 บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาเครื่องมือในกระบวนการสรรหาผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) ขึ้นมาใหม่ มีการประชุมของฝ่ายบริหารเพื่อชี้แจงขั้นตอนการประเมินและการวางแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ให้กับผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) ซึ่งกำหนดความถี่ในการประชุมเพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาของผู้สืบทอดตำแหน่งงาน (Successor) ไว้เป็นประจำทุกไตรมาส และสรุปรายงานต่อคณะกรรมการบริหารอย่างสม่ำเสมอ Successor ระดับแผนก ระดับฝ่าย รวม ตำแหน่งงานเร่งด่วน(พนักงานที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาเพื่อทดแทนพนักงานที่กำลังจะเกษียณอายุงานภายในอีก 3-5 ปีข้างหน้า) 11 คน 7 คน 18 คน ตำแหน่งงานต่อเนื่อง(พนักงานที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาในตำแหน่งงานระดับผู้บริหารหรือหัวหน้างาน) 18 คน 11 คน 29 คน 4)    นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน         บริษัทฯ มีความห่วงใยต่อชีวิต สุขภาพของพนักงานทุกคน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ดังนี้ 1)    ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานทุกระดับที่ต้องปฏิบัติตามอย่างจริงจัง 2)    สื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3)    ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน และเป็นหน้าที่ของทุกคน ที่จะมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านความปลอดภัย 4)    ดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานทั้งหมด มีความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี และเหมาะสมสำหรับพนักงาน คู่ค้า และชุมชน 5)    เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร เป้าหมาย อุบัติเหตุของพนักงานถึงขั้นหยุดงานต้องเป็น “ศูนย์” ในปี 2566 มีอุบัติเหตุถึงขึ้นหยุดงาน  1  ราย  ทั้งนี้ได้กำหนดมาตรการแก้ไขสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเรียบร้อยแล้ว ผลการปฏิบัติงานในปี 2566 : 1)   บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2549 โดยมีการแต่งตั้งผู้บริหารเป็นตัวแทนฝ่ายนายจ้างและตัวแทนพนักงานเป็นตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง เพื่อพิจารณานโยบาย และแผนงานความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ สำหรับลูกจ้างและบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงาน รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม และการอบรมด้านความปลอดภัยฯ พร้อมจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมสวัสดิภาพของพนักงานอย่างเหมาะสม2)    บริษัทฯ ได้มีการดำเนินการเน้นงานหลักและรณรงค์ ส่งเสริม และสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดของลูกค้าเพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนา-มัยและสิ่งแวดล้อม รวมถึงจัดอบรมเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม อยู่สม่ำเสมอ อีกทั้งจัดให้มีการให้หน่วยงานภายนอกข้ามาทำการตรวจประเมินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนา-มัยว่ามีการดำเนินการสอดคล้องตามกฎหมายหรือไม่ พร้อมทั้งมีการติดตามการดำเนินการปรุงปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง 3)    บริษัทฯ ได้ทำการฝึกซ้อมดับเพลิงเป็นประจำทุกเดือน เนื่องจากมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งพนักงานและบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานเกิดความชำนาญและมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การดับเพลิง รวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่จะร่วมช่วยกันเมื่อพบเหตุการณ์เพลิงไหม้ได้ 4)    บริษัทฯ ยังคงตระหนักและมุ่งเน้นในเรื่องการปราศจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยด้านต่างๆ ทั้งที่เกิดจากการทำงานกับเครื่องจักรหรืออัคคีภัยต่างๆ  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมากกับบริษัทฯ พนักงาน และชุมชนรอบข้าง โดยในปี 2566 บริษัทฯ จึงมีการทบทวนปรับปรุงงานด้านความปลอดภัยโดยดำเนินการตรวจประเมิน 5 ส ในองค์กรเพื่อเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทำงานให้น่าอยู่ และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากสภาพพื้นที่การทำงานไม่มีความปลอดภัยโดยมีการตรวจปกระเมินทุกเดือนและให้มีติดตามผลการดำเนินการแก้ไข การดำเนินการ   :      วิเคราะห์สอบสวนหาสาเหตุของอุบัติเหตุเพื่อนำไปสู่มาตรการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ พร้อมทั้งจัดทำรายงานเหตุการณ์ การดำเนินการแก้ไขป้องกัน การปรับปรุง       :      ดำเนินการปรับมาตรการดูแลป้องกันในเรื่องอัคคีภัยและเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในบริษัทฯ รวมทั้งมาตรการดูแลเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบกับพนักงานและชุมชนรอบข้าง อีกทั้งมีการจัดทำระบบ QR code เพื่อใช้ในการทวนสอบและติดตามการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงในแต่ละหน่วยงานเพื่อลดความเสี่ยงจากอุบัติการณ์ต่าง ๆ                          :      ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงต่างๆ ภายในพื้นที่บริษัทเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ การติดตามผล   :      กำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการทำงานขององค์กร (KPI) ตั้งเป้าหมายเรื่องอุบัติเหตุและปัญหาสิ่งแวดล้อมไว้ในเป้าหมายองค์กร และกำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการทำงาน (KPI) องค์กรเป็นประจำทุกเดือนและมีการรายงานให้ผู้บริหารรับทราบ   สถิติการอบรมเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม หลักสูตร เป้าหมาย ชั่วโมงอบรม ผลการอบรมปี 2566 จป.ระดับหัวหน้างาน ระดับหัวหน้างาน 47 คน 12 ชั่วโมง 47 คน จป.ระดับบริหาร ระดับบริหาร 24 คน 12 ชั่วโมง 24 คน พรบ.คปภ.สำหรับลูกจ้าง พนักงาน 724 คน 6 ชั่วโมง 724 คน สถิติการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ข้อมูล หน่วย ปี 2566 ปี 2565 ปี 2564 ปี 2563 จำนวนวันในการทำงาน วัน 365 365 365 365 การเดินเครื่องจักร ชั่วโมง 200,000 200,000 200,000 200,000 อุบัติเหตุในการทำงาน           พนักงานชาย คน 2 2 8 5 พนักงานหญิง คน 0 0 0 0 อุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน           พนักงานชาย คน 1 0 1 5 พนักงานหญิง คน 0 0 0 0 อุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ           พนักงานชาย คน 0 0 0 0 พนักงานหญิง คน 0 0 0 0 อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต           พนักงานชาย คน 0 0 0 0 พนักงานหญิง คน 0 0 0 0 จำนวนการเกิดเพลิงไหม้ ครั้ง 0 0 0 0 ข้อพิพาทด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา 5)      นโยบายการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ อย่างเคร่งครัดดังต่อไปนี้ บริษัทฯ ได้มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเป็นธรรมและโปร่งใส โดยไม่เอาเปรียบต่อเจ้าหนี้ของบริษัทฯ ไม่ใช้วิธีการทุจริต หรือปกปิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริงสำคัญใดๆ ที่อาจทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงของสัญญาต่างๆ ที่ได้ทำไว้กับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างเคร่งครัด ถูกต้องตรงไปตรงมา โดยเฉพาะเรื่อง เงื่อนไขค้ำประกัน การบริหารเงินทุน และกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างครบถ้วนและตรงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงไว้ เป้าหมายในปีจำนวนข้อร้องเรียนจากเจ้าหนึ้เป็น “ศูนย์” ในปี 2566 บริษัทฯ ไม่ได้รับการร้องเรียนจากเจ้าหนี้ ผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้ตามเงื่อนไขและตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ของสัญญาและพันธทางการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการชำระคืนเงินต้น ดอกเบี้ย และการดูแลหลักประกันต่างๆ ภายใต้สัญญาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริต ปกปิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริง อาจจะทำให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย กรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่บริษัทฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง บริษัทฯ จะรีบทำการแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ข้อพิพาทด้านการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา 6)      นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ให้บริการ และคู่แข่ง บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ให้บริการ และคู่แข่ง ด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ อย่างเคร่งครัด ดังต่อไปนี้1)  บริษัทฯ เชื่อมั่นในระบบการค้า และการแข่งขันแบบเสรี บริษัทฯ จึงถือปฏิบัติต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางการค้า และดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด2)  บริษัทฯ ไม่ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เบียดเบียนกัน รวมทั้งการประกอบธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม ไร้จริยธรรม และขัดต่อกฎหมายในทุกรูปแบบ3)  บริษัทฯ กำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และนำมาปฏิบัติต่อลูกค้า ต่อคู่ค้า และคู่แข่งขันทางธุรกิจ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และมีเหตุผลอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ในทุกกรณี เป้าหมายในปี 2566 จำนวนข้อร้องเรียนจากลูกค้าไม่เกิน 10 เรื่อง จากสถิติพบว่ามีการร้องเรียนจำนวน 9 เรื่อง ยังคงอยู่ในเกณฑ์ตามที่กำหนด บริษัทฯ ได้มีการประชุมเพื่อหาข้อบกพร่อง และหาวิธีการแก้ไขป้องกันเพื่อลดจำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้า ทั้งนี้จากข้อร้องเรียนที่ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหาย 9 เรื่อง บริษัทฯ ได้ตรวจสอบและได้ทำการส่งสินค้าทดแทนตามปริมาณที่ได้เกิดความเสียหายจากต้นทางที่บริษัทฯ เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบ แนวการปฏิบัติการพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า ฝ่ายขายและการตลาดจะทำการส่งแบบฟอร์มการประเมินความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อทำการประเมิน ด้านการบริการของพนักงานขาย ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านคุณภาพและมาตรฐสินค้า ด้านการบริการของพนักงานขับรถขนส่ง ด้านคุณภาพขนส่ง และด้านการบริการของพนักงานบัญชี เพื่อรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น ปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ จากกลุ่มลูกค้า นำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาสินค้า การบริการ และระบบงานในแต่ละฝ่ายแต่ละกระบวนการ เพื่อตอบสนองกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างสูงสุด ผลการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า ฝ่ายขายและการตลาดทำการส่งแบบประเมินให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยมีเป้าหมายจำนวน 193 ราย ได้รับการตอบแบบสำรวจจำนวน 191 ราย จากผลประเมินในปีที่ผ่านมาลูกค้ามีความพึงพอใจต่อบริษัทฯ ที่ร้อยละ 88.99 โดยแยกเป็นความพึงพอใจเกี่ยวกับตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 90.87 ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้าทั้งในด้านคุณภาพน้ำมันและบรรจุภัณฑ์ ส่วนความพึ่งพอใจด้านการบริการค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 88.62 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.68 ข้อมูล หน่วย ปี 2566 ปี 2565 ปี 2564 ปี 2563 ดัชนีความพึงพอใจของลูกค้า ร้อยละ 88.99 88.01 87.18 83.87 จำนวนข้อร้องเรียนที่ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหาย เรื่อง 9 9 4 0 จำนวนข้อร้องเรียนที่ผลิตภัณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย เรื่อง 0 0 0 0 จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลด้านการขายและการตลาด เรื่อง 0 0 0 0 จำนวนข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลหรือการรั่วไหลข้อมูลของลูกค้า เรื่อง 0 0 0 0 จำนวนข้อร้องเรียนการชำระเงินล่าช้า เรื่อง 0 0 0 0 จำนวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เรื่อง 0 0 0 0 ข้อพิพาทด้านปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ให้บริการ และคู่แข่งในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านการปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้ให้บริการ และคู่แข่งที่สำคัญในปีที่ผ่านมา 7)      นโยบายการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปถูกลิขสิทธิ์ บริษัทฯ มีนโยบายให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาลดังกล่าว บริษัทฯ ได้ออกแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ ถอดโปรแกรมสำเร็จรูปบางโปรแกรมออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงาน สำรวจและปรับปรุงจำนวนโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ในระบบสารสนเทศของบริษัทฯ ให้มีความเพียงพอ เหมาะสม และมีความสอดคล้องกับธุรกรรมของบริษัทฯ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องของบริษัทฯ มีการใช้งานเฉพาะโปรแกรมสำเร็จรูปที่ซื้อถูกต้องตามลิขสิทธิ์โดยบริษัทฯ เท่านั้น บริษัทฯ ไม่สนับสนุนให้พนักงานใช้/นำมาใช้ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปที่ละเมิดลิขสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ ซึ่งถือเป็นความผิดร้ายแรงตามกฎหมายและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรในอนาคต หากพนักงานใดฝ่าฝืนนำโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์มาใช้ในงานของบริษัทฯ พนักงานนั้นจะต้องรับโทษทางวินัยของบริษัทฯ และรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว หากถูกเจ้าของลิขสิทธิ์ดำเนินการทางกฎหมายใดๆ เป้าหมาย ต้องไม่มีพนักงานนำโปรแกรมสำเร็จรูปที่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ฝ่ายสารสนเทศ มีแผนการตรวจการใช้โปรแกรมในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของพนักงานเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งได้ติดตั้งระบบการกำหนดการติดตั้งโปรแกรม เมื่อมีการติดตั้งโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ของบริษัทฯ จะมีระบบการเข้ารหัสอนุญาตในการติดตั้งของเจ้าหน้าที่สารสนเทศทุกครั้งจึงจะสามารถทำการติดตั้งโปรแกรมนั้นได้ ข้อพิพาทด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปไม่ถูกลิขสิทธิ์ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ไม่ถูกลิขสิทธิ์ที่สำคัญในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา 8)      นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล          บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานสำคัญในความเป็นส่วนตัวที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 และเพื่อให้การปฏิบัติงานของบริษัทฯ เป็นไปตามหลักการสากลในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 พร้อมทั้งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี          บริษัทฯ ได้ดำเนินตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างรัดกุม โดยแต่งตั้งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อทำหน้าที่ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล การจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลให้สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบ เป้าหมาย ไม่ได้รับการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดอบรมและให้ความรู้กับพนักงานทุกระดับเรื่องนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมทั้งประสานงานกับทุกหน่วยงานเพื่อแสดงเจตจำนงต่อพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ในเรื่องการรักษาสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า คู่ค้า หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทฯ จะไม่ทำการเปิดเผยข้อมูลของพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้กับบุคคลอื่น ทั้งนี้ในกรณีที่บริษัทฯ จะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องได้รับความยินยอมจากพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ก่อนทุกกรณี ข้อพิพาทด้านการละเมิดสิทธิเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านการละเมิดสิทธิเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา 9)      นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทฯ ได้ดำเนินงานโครงการ CSR (Corporate Social Responsibility) มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่การดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยความจริงใจ รวมทั้งสามารถดำเนินกิจการร่วมกับชุมชนและได้รับการยอมรับอย่างยั่งยืน การดำเนินงานของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งการดำเนินงานทั้งในกระบวนการทางธุรกิจ และนอกเหนือกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กรขยายออกสู่ชุมชนใกล้เคียง ซึ่งพนักงานในบริษัทฯ ต่างได้มีส่วนช่วยเหลือ ร่วมมือร่วมใจช่วยกันส่งเสริมและจัดทำกิจกรรมต่างๆ ให้โครงการดังกล่าวขับเคลื่อนไปได้บริษัทฯ ได้มีแผนกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกิจกรรมต่อชุมชนและสังคมรอบสำนักงานชุมพร โดยในปี 2566 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 736,188 บาท สำหรับกิจกรรมดังต่อไปนี้ มอบของขวัญวันเด็กให้กับโรงเรียนในพื้นที่รอบเขตที่ตั้งโรงงาน สนับสนุนกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด สนับสนุนกิจกรรมกีฬาแบดมินตัน เพื่อมอบอุปกรณ์การแพทย์แก่กู้ภัยสว่างประตูภาคใต้ สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนในพื้นที่รอบเขตที่ตั้งโรงงาน สนับสนุนน้ำดื่มให้กับกิจกรรมหมู่บ้านในพื้นที่รอบเขตที่ตั้งโรงงาน เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านรอบเขตที่ตั้งโรงงานเพื่อรับฟังปัญหาและนำมาปรับแก้ไข สนับสนุนกิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ จัดฝึกอบรมการจัดการสวนปาล์มอย่างมืออาชีพให้กับเกษตรกรและบุคคลที่สนใจในการปลูกปาล์ม สนับสนุนเงินเพื่อช่วยพัฒนาระบบน้ำประปาให้กับชุมชน ร่วมจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุประจำปี 2566 ร่วมพัฒนาชุมชนโดยการซ่อมไฟถนน ซ่อมหลังคาอาคารประชุมของหมู่บ้าน ร่วมพัฒนารื้อสาหร่ายคลองทุ่งโพธิ์ จังหวัดชุมพร มอบกระเบี้องมุงหลังคาเพื่อซ่อมแซมต่อเติมบ้านที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้ มอบเครื่องวัดความดันให้กับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทรายทอง ถวายปัจจัย เครื่องไทยทาน กิจกรรมวันเข้าพรรษา ร่วมทอดกฐินกับวัดรอบเขตพื้นที่โรงงาน มอบสิ่งของเพื่อสนับสนุนกิจกรรมป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงปีใหม่ เป้าหมาย จัดกิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือสังคมในระยะพื้นที่ 5-10 กิโลเมตรรอบโรงงาน พร้อมทั้งเข้าร่วมประชุมหมู่บ้านรอบเขตที่ตั้งโรงงาน เพื่อร่วมประชุมรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข หรือช่วยพัฒนาชุมชน สังคมต่อไป ผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านสังคมในระยะพื้นที่ 5-10 กิโลเมตรรอบโรงงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และได้เข้าร่วมประชุมหมู่บ้านเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้บริษัทฯ ไม่ได้รับข้อร้องเรียนจากชุมชน และบริษัทฯ ได้เข้าร่วมพัฒนาชุมชนในกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละชุมชนหมู่บ้านที่จัดขึ้นเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง  

รายละเอียดทั้งหมด

การต่อต้านคอร์รัปชั่น

นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น            บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย บริหารจัดการโดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และกำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานและการติดต่อกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งบริษัทฯ กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด และในปี 2557 บริษัทฯ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนต่อสาธารณะโดยการเข้าเป็นหนึ่งใน "แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต"   คำนิยามตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น          การทุจริต (Fraud) หมายถึง การกระทำโดยเจตนาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น การทุจริตแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การคอร์รัปชั่น การยักยอกทรัพย์สิน และการทุจริตในการรายงานข้อมูล เช่น การตกแต่งบัญชี เป็นต้น           คอร์รัปชั่น (Corruption) หมายถึง การติดสินบนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ โดยการเสนอให้ สัญญามอบให้ ให้คำมั่น เรียกร้อง หรือรับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม แก่เจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ทางธุรกิจหรือแนะนำธุรกิจให้แก่บริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้   นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น           ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ดำเนินการหรือยอมรับการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกธุรกิจในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนทบทวน ตรวจสอบ ปรับปรุงมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น นโยบาย แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย โดยให้รายงานต่อกรรมการเป็นประจำทุกปี หน้าที่ความรับผิดชอบ คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบการควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายใน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ผู้บริหาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย ผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ อำนาจดำเนินการ ระเบียบปฏิบัติ และกฎหมาย ข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้น และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ   แนวทางการปฏิบัติ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานบริษัทฯ ทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นและจรรยาบรรณบริษัทฯ โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวกับเรื่องคอร์รัปชั่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม พนักงานบริษัทฯ ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณบริษัทฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ที่บริษัท กำหนดไว้ บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชั่นหรือแจ้งเรื่องคอร์รัปชั่นที่่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุกจริตคอร์รัปชั่น ตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้ใน Whistle blower Policy ผู้ที่กระทำคอร์รัปชั่น เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณบริษัทฯ ซึ่่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ ให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ หรืออาจเกิดผลกระทบต่อบริษัทฯ ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ผิดและยอมรับไม่ได้ ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐและ/หรือภาคเอกชน   ข้อกำหนดในการดำเนินการ นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้ ให้ครอบคลุมไปถึงกระบวนการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่การสรรหาหรือการคัดเลือกบุคลากร การเลื่อนตำแหน่ง การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน และการให้ผลตอบแทนและการลงโทษพนักงาน โดยกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับสื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงานเพื่อใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการใดๆ ตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในคู่มือจรรยาบรรณบริษัท นโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ รวมทั้ง ระเบียบ และคู่มือปฏิบัติงานของบริษัทฯที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางปฏิบัติอื่นใดที่บริษัทฯจะกำหนดขึ้นต่อไป เพื่อความชัดเจนในการดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงกับการเกิดคอร์รัปชั่น กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานบริษัทฯ ทุกระดับต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังในเรื่องดังต่อไปนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยถือว่าการรับ หรือให้ทรัพย์สินหรือสิ่งของเพื่อเป็นของขวัญ / ของที่ระลึกตามขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตามบริษัทฯ และบริษัทย่อย ไม่ประสงค์ให้บุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อย รับของขวัญ / ของที่ระลึกที่ถือเป็นสินบน หรือเงินทุจริต จากพันธมิตรทางธุรกิจ ทั้งนี้ ของกำนัล การเลี้ยงรับรองและค่าใช้จ่ายในการให้ มอบ หรือรับ ของกำนัล การเลี้ยงรับรอง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในจรรยาบรรณบริษัทฯ และบริษัทย่อย และนโยบายว่าด้วยการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เงินบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุน แก่บุคคล หรือหน่วยงาน ทั้งของภาครัฐและเอกชนต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน ทั้งนี้การขออนุมัติและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการบริจาคเพื่อการกุศล และการให้เงินสนับสนุน ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ ห้ามให้หรือรับสินบนในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด การดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และการติดต่องานกับภาครัฐจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีนโยบายจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจะไม่ดำเนินการใดๆ และไม่ยอมรับการกระทำใดๆ เพื่อแลกกับการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ขั้นตอนความเป็นมาในการดำเนินการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ในปี 2557 บริษัทฯ ได้ร่วมลงนามแสดงเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต โดยประธานกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมให้สัตยาบันเพื่อรับทราบข้อตกลงคำประกาศเจตนารณ์แนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาอนุมัตินโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น นโยบายการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานที่แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และจรรยาบรรณบริษัท (Whistle Blower Policy) และนโยบายว่าด้วยการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อประกาศและแจ้งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองคร์กรได้รับทราบและปฏิบัติโดยทั่วกัน ในปี 2558 ได้ดำเนินการแจ้งพนักงานในองค์กร หน่วยงานภายนอก คู่ค้าของบริษัทฯ ให้รับทราบถึงนโยบายดังกล่าวข้างต้น และได้ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ www.cpi-th.com พร้อมได้ดำเนินการจัดอบรมให้กับพนักงานในองค์กรเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นมากขึ้น และดำเนินการปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งคาดว่าจะขอยื่นเพื่อขอรับประกาศนียบัตรรับรองฐานะสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตในปี 2559 ระหว่างปี 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่างๆ ในการปฏิบัติงานปัจจุบันและอนาคต ทั้งโอกาสที่จะเกิด และผลกระทบเพื่อกำหนดมาตรการลด หรือแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้วยตนเอง รวมถึงความเสี่ยงด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นด้วย  และสำนักตรวจสอบภายในมีการประเมิน และติดตามการกำกับดูแลที่ดี การปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกครั้งเมื่อมีการเข้าตรวจสอบประจำงวด เพื่อให้การนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติใช้อย่างจริงจัง บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ในเรื่องการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณ และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันในหลักสูตร/ช่องทางต่างๆ อาทิเช่น อบรมพร้อมหลักสูตรปฐมนิเทศพนักงานใหม่, อบรมพร้อมหลักสูตรกฎระเบียบของบริษัทฯ, อบรมพร้อมหลักสูตรจรรยาบรรณบริษัทฯ, อบรมหลักสูตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น, ประกาศนโยบายต่างๆ ผ่านช่องทาง Intranet (ช่องทางการสื่อสารภายในของบริษัทฯ) และ Website ของบริษัทฯ ในปี 2559 บริษัทฯ ได้รับใบประกาศรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC – Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) ซึ่งใบรับรองดังกล่าวมีอายุ 3 ปี ในปี 2560 - ปี 2562 สำนักตรวจสอบภายในมีการกำหนดแผนงานการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ พร้อมทั้งมีการตรวจประเมินและติดตามการกำกับดูแลที่ดี และสรุปผลการตรวจสอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ในปี 2562 บริษัทฯ ได้รับใบประกาศรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC – Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ซึ่งใบรับรองการอายุสมาชิกดังกล่าวมีอายุ 3 ปี และสำนักตรวจสอบภายในมีการประเมินและติดตามการกำกับดูแลที่ดี การปฏิบัติตามจรรยาบรรณและนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกครั้งเมื่อมีการเข้าตรวจสอบประจำงวด ในปี 2563 สำนักตรวจสอบภายในมีการกำหนดแผนงานการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ พร้อมทั้งมีการตรวจประเมินและติดตามการกำกับดูแลที่ดี และสรุปผลการตรวจสอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ในปี 2564 บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนช่องทางการแจ้งเบาะแส / ข้อร้องเรียน ให้มีความสะดวกรวดเร็ว และมีระบบการเก็บรักษาข้อมูลที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์และฝึกอบรมแก่พนักงานทุกระดับให้รับทราบและเข้าใจถึงการใช้งานดังกล่าว รวมถึงได้มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ไปยังลูกค้า บุคคลภายนอก และคู่ค้า ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ www.cpi-th.com อีกทางหนึ่งด้วย ในปี 2565 บริษัทฯ ได้รับใบประกาศรับรองการต่ออายุสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC – Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption) ซึ่งใบรับรองดังกล่าวมีอายุ 3 ปี (เดือนกันยายน 2565 – กันยายน 2568)ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น จึงเปลี่ยนมาใช้ช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนผ่านทาง CPI Hotline หมายเลขโทรศัพท์ 02-034-0284 การดำเนินการและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในปี 2566 บริษัทฯ ได้กำหนดหลักสูตรฝึกอบรมให้ความรู้ แนะนำช่องทางแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน แก่พนักงานใหม่ทุกคนในขั้นตอนการปฐมนิเทศ บริษัทฯ ได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้ แนะนำช่องทางแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน ตลอดจนสื่อสารข้อมูลต่างๆ แก่พนักงานทุกระดับชั้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย อย่างต่อเนื่อง โดยผ่านหลักสูตรอบรมประจำปี และเผยแพร่ทาง Intranet ผลการดำเนินการฝึกอบรมและลงนามรับทราบแล้วคิดเป็นร้อยละ 100% ของพนักงานทั้งหมด สำนักตรวจสอบภายในปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามแผนงานตรวจสอบประจำปีที่กำหนดไว้ ทำการตรวจสอบข้อร้องเรียนจากระบบ CPI Hotline ซึ่งเป็นบริการช่องทางการแจ้งข้อมูล/ข้อร้องเรียนที่ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระ หากตรวจสอบพบความเสี่ยงหรือการกระทำซึ่งส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นให้นำเสนอข้อมูลต่อ คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา โดยในปี 2565 สำนักตรวจสอบภายใน ตรวจไม่พบเจอความเสี่ยงหรือการกระทำซึ่งส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น และไม่ได้รับแจ้งข้อร้องเรียนความเสี่ยงหรือการกระทำซึ่งส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น การแจ้งเบาะแส (Whistle Blower) ระบบการรับข้อร้องเรียน (Whistle Blower) เพื่อให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งเบาะแสการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามจรรยาบรรณ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การใช้อำนาจในทางไม่ชอบ การขัดแย้งทางผลประโยชน์ กฎหมาย หรือการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งระบบดังกล่าวช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยสามารถแจ้งผ่านช่องการแจ้งข้อร้องเรียนได้ดังนี้ ร้องเรียนได้โดยตรงด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร ผ่านโทรศัพท์ระบบ CPI Hotline ที่หมายเลข 02-034-0284 ซึ่งเป็นบริการช่องทางการแจ้งข้อมูล/ข้อร้องเรียนที่ดำเนินงานอย่างเป็นอิสระโดยผู้ให้บริการภายนอก ในนามของ “บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)” ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ : https://www.cpi-th.com/th/corporate-governance/6 ผ่านทาง E-mail ของประธานกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง : noppornpicha@hotmail.com  บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการรับแจ้งข้อมูล/เบาะแสเรื่องร้องเรียนอย่างจริงจัง โดยจะเริ่มกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดทันทีที่เป็นไปได้ โดยข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บรักษาเป็นความลับ และผู้แจ้งข้อมูลไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน ยกเว้นจะเลือกที่จะเปิดเผยตัวตนเท่านั้น นอกจากนี้ หากผู้แจ้งข้อมูลต้องการรายงานเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ครอบคลุมบริการข้างต้น สามารถแจ้งมายังผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายในของบริษัทฯ ได้โดยตรง ปี 2566 บริษัทฯ ได้ตรวจสอบข้อร้องเรียนที่ได้รับแจ้งผ่านช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนต่างๆ ซึ่งไม่พบว่าเป็นข้อร้องเรียนที่ที่มีนัยสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยได้รายงานผลไปยังคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริษัทฯ    

รายละเอียดทั้งหมด

แจ้งเรื่องร้องเรียน

นโยบายการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานที่แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัทฯ และจรรยาบรรณบริษัทฯ (Whistle blower Policy) นโยบายในการรายงานเบาะแส           บริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้กำหนดนโยบายในการรายงานเบาะแส ซึ่งเป็นมาตรการในการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่พนักงาน กรรมการ และบุคคลอื่นๆ ในการแจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ เพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ เบาะแสที่ควรรายงาน การกระทำที่ทุจริตคอร์รัปชั่นและ/หรือฉ้อโกง การใช้อำนาจในทางไม่ชอบ การใช้เงิน ทรัพย์สินและ/หรือสิ่งอำนวยความสะดวกของบริษัทฯ โดยไม่ได้รับการอนุมัติ มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และ/หรือ ตำแหน่งโอกาสทางธุรกิจ การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และ/หรือ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองและการกระทำที่เป็นอันตราย และ/หรือผิดกฎหมายอื่นๆ การละเลยและ/หรือการทุจริตคอร์รัปชั่นต่อหน้าที่ การกระทำที่ผิดกฎหมาย การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำที่เสี่ยงต่อความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สิน สิ่งอำนวยความสะดวกและ/หรือต่อพนักงานของบริษัทฯ การกระทำที่ไม่ได้มาตรฐานวิชาชีพ การปกปิดข้อมูลดังกล่าวข้างต้น การกระทำที่ข่มขู่ คุกคาม สมาชิกของคณะกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ เบาะแสที่ไม่ควรรายงาน ข้อมูลที่เป็นเท็จและไม่มีเหตุอันเป็นสมควร ข้อมูลที่เป็นการใส่ร้ายป้ายสี ข้อมูลที่ไม่มีหลักเกณฑ์และหลักฐานเพียงพอ  แนวทางในการรายงานเบาะแส ประเภทของการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือการกระทำที่ผิดปกติ ชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เวลา สถานที่ และวันที่ของการทุจริตคอร์รัปชั่น วิธีการที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชั่น ผู้ที่เป็นพยานในการทุจริตคอร์รัปชั่น เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ผู้มีสิทธิร้องเรียน พนักงานและ/หรือผู้ที่พบเห็นการกระทำที่ฝ่าฝืน กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท หรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท พนักงานที่ถูกกลั่นแกล้ง ข่มขู่ ถูกลงโทษทางวินัย เช่น ลดขั้นเงินเดือน ถูกพักงาน ให้ออกจากงาน หรือถูกเลือกปฏิบัติด้วยวิธีการอันไม่ชอบที่เกี่ยวเนื่องกับสภาพการจ้างงาน อันเนื่องมาจากการที่ตนได้ร้องเรียน ให้ข้อมูล หรือจะให้ข้อมูล ช่วยเหลือในขั้นตอนการสืบสวนสอบสวน หรือรวบรวมข้อเท็จจริงให้แก่ผู้รับข้อร้องเรียน รวมไปถึงการฟ้องร้องดำเนินคดี การเป็นพยาน การให้ถ้อยคำ หรือการให้ความร่วมมือใดๆ ต่อศาลหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้รับข้อร้องเรียน ผู้บังคับบัญชาที่ตนเองไว้วางใจในทุกระดับ ผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน เลขานุการบริษัท กรรมการบริษัท วิธีการร้องเรียน     ร้องเรียนต่อผู้รับข้อร้องเรียนคนใดคนหนึ่ง โดยวิธีการดังนี้ ร้องเรียนได้โดยตรงด้วยวาจา หรือลายลักษณ์อักษร แจ้งผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 02-034-0284 แจ้งผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ : https://www.cpi-th.com/th/contact ผ่านทาง E-mail ของประธานกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง : noppornpicha@hotmail.com      ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนเลือกที่จะไม่เปิดเผยชื่อ ต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่่ชัดเจนเพียงพอ ที่แสดงให้เห็นว่า มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ หรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ      ทั้งนี้ การร้องเรียนจะถือเป็นความลับที่สุด และผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง และไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนผู้ร้องเรียน กรณีผู้ร้องเรียนเปิดเผยตนเองจะทำให้บริษัทฯ สามารถแจ้งผลดำเนินการหรือรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องที่ร้องเรียนให้ทราบได้ ขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผู้รับข้อร้องเรียนจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงหรืออาจมอบหมายให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ไว้วางใจเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง คณะกรรมการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนและหรือผู้ได้รับมอบหมายมีอำนาจเชิญให้พนักงานผู้ใดผู้หนึ่งมาให้ข้อมูล หรือขอให้จัดส่งเอกสารใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความจริง บริษัทฯ จะดำเนินการดังต่อไปนี้ ในกรณีที่ข้อร้องเรียนเป็นเรื่องที่บริษัทฯ กระทำผิดกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือจรรยาบรรณของบริษัทฯ จะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นและกำหนดแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อผู้มีอำนาจดำเนินการในบริษัทฯ พิจารณาดำเนินการและในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ เช่น เป็นเรื่องที่กระทบต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์หรือฐานะทางการเงินของบริษัทฯ ขัดแย้งกับนโยบายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ หรือเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น ให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา ในกรณีที่ข้อร้องเรียนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดผู้หนึ่ง จะเสนอวิธีการบรรเทาความเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้กับผู้เสียหาย การปกป้องคุ้มครองผู้ที่แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแส ผู้ร้องเรียนสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้หากเห็นว่าการเปิดเผยอาจทำให้เกิดความเสียหายกับตนเอง แต่ต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัทฯ หรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเลือกที่จะเปิดเผยตนเอง ก็จะทำให้ผู้รับข้อร้องเรียนสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ ถือเป็นความลับและจะเปิดเผยเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้รายงาน แหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบในทุกขั้นตอนจะต้องเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับรู้ไว้ในขั้นความลับสูงสุด และไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น หากฝ่าฝืนถือเป็นการกระทำผิดวินัย กรณีที่ผู้ร้องเรียนเห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัย หรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ร้องเรียนสามารถร้องขอให้บริษัทฯ กำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือบริษัทฯ อาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้ร้องเรียนไม่ต้องร้องขอก็ได้ หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายหรือความไม่ปลอดภัย พนักงานที่ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยวิธีการที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสมหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นนั้น อันมีเหตุจูงใจมาจากการที่บุคคลอื่นนั้นได้ร้องเรียน ได้แจ้งข้อมูลร้องเรียนหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมไปถึงการที่บุคคลอื่นนั้นฟ้องร้องดำเนินคดี เป็นพยานให้ถ้อยคำ หรือให้ความร่วมมือใดๆต่อศาลหรือหน่วยงานของรัฐ ถือเป็นการกระทำความผิดวินัยที่ต้องได้รับโทษ ทั้งนี้อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้หากการกระทำนั้นถือเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยวิธีการหรือกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม ผู้ใดที่กระทำการตอบโต้หรือคุกคามผู้ให้เบาะแสจะถูกดำเนินการอย่างเหมาะสม รวมทั้งถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ระบบรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส เพื่อเป็นแนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทางบริษัทฯ จึงกำหนดช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ (Whistle Blower) โดยเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย หรือการไม่ปฏิบัติจรรยาบรรณบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะรักษาข้อมูลของท่านเป็นอย่างดีและดำเนินการอย่างรัดกุมต่อไป

รายละเอียดทั้งหมด

นโยบายการจ้างพนักงานรัฐ

นโยบายการจ้างพนักงานรัฐ ขอบเขต นโยบายการจ้างพนักงานรัฐนี้ ให้มีผลบังคับใช้กับกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง หรือที่ปรึกษาของบริษัทฯ และบริษัทย่อย บริษัทร่วม รวมถึงบริษัทที่มีอำนาจควบคุมโดยให้นำไปปฏิบัติใช้ตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้คู่ค้า ตัวแทนจำหน่าย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายนี้ คำนิยาม พนักงานรัฐ หมายถึง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และอาจอาศัยความสัมพันธ์หรือข้อมูลภายในเอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดภาวะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยมุ่งหวังให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม  นโยบายการจ้างงานพนักงานรัฐ บริษัทฯ กำหนดนโยบายการจ้างงานพนักงานรัฐ เพื่อดำรงตำแหน่ง กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ หรือที่ปรึกษาของบริษัทฯ ต้องมีกระบวนการคัดเลือก การอนุมัติการจ้าง การกำหนดค่าตอบแทน และกระบวนการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่าการจ้างพนักงานรัฐจะไม่ได้เป็นการตอบแทนการได้มาซึ่งประโยชน์ใดๆ หรือเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทฯ อันเป็นการทำลายภาพลักษณ์ด้านความน่าเชื่อถือ และความซื่อตรงของการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ให้คำนึงถึงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย มาตรการดำเนินการ เพื่อให้มั่นใจว่าการจ้างพนักงานรัฐมีมาตรการดำเนินงานอย่างชัดเจนจึงกำหนดมาตรการควบคุม ดังนี้ การคัดเลือก การอนุมัติการจ้าง และการกำหนดค่าตอบแทน สำหรับการจ้างพนักงานรัฐ จะต้องได้รับการพิจารณาเหตุผลความจำเป็นอย่างระมัดระวัง และผ่านการพิจารณาอนุมัติ โดย ตำแหน่งระดับตั้งแต่ผู้จัดการฝ่ายลงไป ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตำแหน่งระดับตั้งแต่ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสถึงผู้อำนวยการสายงาน และที่ปรึกษา ผ่านการพิจารณาจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหาร ตำแหน่งระดับตั้งแต่ผู้อำนวยการสายงานขึ้นไป ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัทฯ บริษัทฯ จะไม่จ้างพนักงานรัฐ หากการจ้างนั้นมีการเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทฯ หรือผลประโยชน์ต่างตอบแทน ให้เปิดเผยข้อมูลการจ้างพนักงานรัฐสำหรับผู้เป็นกรรมการ และผู้บริหารระดับสูง ไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีการกำหนดระยะเวลาเว้นวรรคอย่างน้อย 2 ปี สำหรับการจ้างอดีตพนักงานรัฐที่ออกจากตำแหน่งหรือบุคคลที่เคยทำงานให้กับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ โดยตรง ให้พนักงานของฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลรับทราบขั้นตอนในการจ้างพนักงานรัฐ หากมีการจ้างพนักงานรัฐ เข้าปฏิบัติงานต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการ และการเปิดเผยข้อมูลตามขั้นตอนการอนุมัติและการรายงานข้างต้น บทลงโทษการฝ่าฝืนนโยบาย กรณีกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ ฝ่าฝืน ละเลย ละเว้น หรือ เจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามนโยบายการจ้างพนักงานรัฐ หรือกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นถือเป็นการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษตามที่บริษัทฯ กำหนด และ/หรือ อาจได้รับโทษตามกฎหมายด้วย การทบทวนปรับปรุงนโยบาย ให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืนทบทวนปรับปรุงนโยบายการจ้างพนักงานรัฐฉบับนี้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ

รายละเอียดทั้งหมด