ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการ
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ส่งเสริมสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกระดับขององค์กร และได้มีการปรับปรุง ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีความโปร่งใส คณะกรรมการบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นและเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส มีประสิทธิผลจะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ดีขึ้นและเป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในระยะยาวโดยทั่วกัน จึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ดังนี้
1) ดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) โปร่งใส ตรวจสอบได้
2) กำกับดูแลให้คณะกรรมการบริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทและความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
3) ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกันและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย อีกทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
4) จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ ดูแลให้มีมาตรการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและติดตามทวนสอบอย่างสม่ำเสมอ
5) กำหนดให้มีวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย นโยบาย แผนธุรกิจ งบประมาณของบริษัทฯ และมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ
6) จัดให้มีคู่มืออำนาจดำเนินการ เพื่อกระจายความรับผิดชอบ อำนาจในการตัดสินใจและสั่งการตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
7) จัดให้มีคู่มือจรรยาบรรณบริษัท พร้อมทั้งมีการแจ้งให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนถือปฏิบัติ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ ครอบคลุมเนื้อหา 5 หมวด ได้แก่ หมวดสิทธิของผู้ถือหุ้น หมวดการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน หมวดบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย หมวดการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และหมวดความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โดยมีเนื้อหาดังนี้
1) สิทธิของผู้ถือหุ้น
ในปี 2566 บริษัทฯ มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด 1 ครั้ง เป็นการประชุมสามัญประจำปี 2565 โดยบริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้น มีส่วนในการดูแลกิจการและให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการให้มากขึ้นดังนี้
1.1) การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้จัดโดยวิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Meeting) ณ ห้องประชุมของบริษัทฯ โดยได้ว่าจ้างผู้ให้บริการระบบการประชุมอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ดำเนินการในการจัดประชุม เป็นไปตามมาตรฐานการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าร่วมการประชุมในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งได้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มทุกรายซึ่งรวมถึงนักลงทุนสถาบันเข้าร่วมประชุมฯ ทุกรูปแบบ และบริษัทฯ ไม่ได้มีการกีดกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
1.2) เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ล่วงหน้า โดยระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2565 และ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2566 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2567 โดยแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ก่อนวันประชุม พร้อมทั้งประกาศหลักเกณฑ์และระบุขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน
1.3) บริษัทฯ ได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมทั้งเอกสารข้อมูลประกอบการประชุม รายงานประจำปี/งบการเงิน รายการเอกสารที่ผู้เข้าประชุมต้องนำมาเพื่อใช้แสดงตัวและหนังสือมอบฉันทะให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุม 7 วันทำการ ทั้งนี้เอกสารประกอบการประชุมที่นำส่งให้กับผู้ถือหุ้นพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมนั้น จะมีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอให้ผู้ถือหุ้นใช้ประกอบการตัดสินใจลงคะแนนในวาระต่างๆ และบริษัทฯ ได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ถือหุ้นโดยให้กรรมการอิสระเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ พร้อมจัดส่งเอกสารและวิธีการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และคู่มือการประชุมอย่างละเอียด
1.4) บริษัทฯ ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง โดยการได้แนบหนังสือมอบฉันทะแบบ ข. ซึ่งเป็นแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงได้เองในแต่ละวาระ ไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้กรรมการอิสระหรือบุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทน พร้อมทั้งเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถดาวน์โหลดได้
1.5) แจ้งวิธีการลงคะแนนและนับคะแนนก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
1.6) ประธานที่ประชุมได้ดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามลำดับระเบียบวาระที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม และคณะกรรมการยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกรายแสดงความคิดเห็นและสามารถถามคำถามในแต่ละวาระการประชุม รวมทั้งให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และได้บันทึกประเด็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุมแล้ว
1.7) บริษัทฯ ไม่ได้เพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญ โดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
1.8) บริษัทฯ ได้เผยแพร่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบผลของการประชุมและสามารถตรวจสอบความถูกต้องผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ภายใน 14 วัน นับจากวันประชุม
2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
บริษัทฯ มีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย และนักลงทุนสถาบัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริงและยั่งยืนดังนี้
2.1) ได้ดำเนินการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นโดยการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีการอำนวยความสะดวกในการประชุมอย่างเท่าเทียมกัน ให้โอกาสที่เท่าเทียมกันในการถามคำถามต่อที่ประชุมและแสดงความเห็นในแต่ละวาระการประชุม และประธานที่ประชุมจะให้ความสำคัญและตอบข้อซักถามในทุกประเด็น โดยมีการบันทึกการประชุมอย่างถูกต้องครบถ้วน
2.2) ในการประชุมผู้ถือหุ้น ในปี 2566 บริษัทฯ ได้จัดส่งเอกสารเชิญประชุมพร้อมรายงานประจำปี/งบการเงิน และหนังสือมอบฉันทะพร้อมเสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คนเป็นทางเลือกในการมอบฉันทะของผู้ถือหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นทุกรายที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ รวมทั้งลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งกำหนดวัน เวลา และวาระการประชุมก่อนวันประชุมอย่างน้อย 7 วันล่วงหน้า
2.3) เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ล่วงหน้าโดยระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2565 และ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2566 สำหรับการประชุมสามัญประจำปี 2567 โดยแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ก่อนวันประชุม พร้อมทั้งประกาศหลักเกณฑ์และระบุขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน
2.4) เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล
2.5) บริษัทฯ ให้สิทธิออกเสียงแก่ผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่ถืออย่างเท่าเทียมกัน และผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระ
3) บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทฯ ได้ดูแลและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มโดยได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้ในคู่มือจรรยาบรรณบริษัทและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เพื่อให้คณะกรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงาน ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงาน โดยถือเป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของทุกคน เช่น
4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักดีว่าข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน ล้วนมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ จึงได้กำชับให้ฝ่ายบริหารดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง เชื่อถือได้ สม่ำเสมอ และทันเวลา ซึ่งฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญและยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอด ในส่วนของงานด้านผู้ลงทุนสัมพันธ์นั้น บริษัทฯ ได้มอบหมายให้ Chief Financial Officer ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สถาบันผู้ลงทุน และประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถติดต่อขอทราบข้อมูลบริษัทฯ ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-679-9166 หรือที่ website : www.cpi-th.com หรือที่ e-mail address : info@cpi-th.com
เป้าหมาย
บริษัทฯ จะทำการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วนด้วยความโปร่งใสให้กับผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สถาบันผู้ลงทุน และประชาชนทั่วไป รวมถึงนำส่งรายงานทางการเงินรายไตรมาสและรายงานทางการเงินรายปีตรงต่อเวลา และ ไม่มีกรณีถูกสั่งแก้ไขงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินรายปี อีกทั้งไม่ถูกดำเนินการโดยหน่วยงานกำกับดูแลเนื่องจากไม่ได้ประกาศข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญภายในระยะเวลาที่ทางการกำหนด
ผลการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา
โดยในปี 2566 บริษัทฯ ไม่มีกรณีการส่งรายงานทางการเงินรายไตรมาสและรายงานทางการเงินรายปีล่าช้า และ ไม่มีกรณีถูกสั่งแก้ไขงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินรายปี อีกทั้งไม่ถูกดำเนินการโดยหน่วยงานกำกับดูแลเนื่องจากไม่ได้ประกาศข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญภายในระยะเวลาที่ทางการกำหนด
5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
5.1) การแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 10 ท่าน แบ่งเป็น
5.2) กรรมการทุกท่านที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ได้เข้าร่วมการปฐมนิเทศกรรมการเข้าใหม่ รวมถึงการรับทราบถึงข้อมูลลักษณะการประกอบธุรกิจ เป้าหมายการประกอบธุรกิจ และบทบาทหน้าที่ของกรรมการ ตั้งแต่วันที่เริ่มเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นนโยบายที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้สำหรับกรรมการผู้ที่เข้ารับดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทฯ โดยในปี 2566 ไม่มีกรรมการเข้าใหม่หรือกรรมการทดแทนกรรมการที่ลาออก
5.3) จำนวนกรรมการอิสระของบริษัทฯ มีจำนวน 4 ท่านใน 10 ท่าน หรือจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ทั้งนี้ กรรมการอิสระมีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
5.4) ประธานกรรมการบริษัทฯ ไม่เป็นบุคคลเดียวกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยในปี 2566 ผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทฯ คือ นายบรรพต หงษ์ทอง กรรมการอิสระ และ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คือ นายกฤษฏ์พงศ์ ตากวิริยะนันท์
5.5) เพื่อเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลและการบริหารงานประจำ
บริษัทฯ มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษรตามคู่มืออำนาจดำเนินการ บริษัทฯ มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันโดยเด็ดขาดระหว่างการอนุมัติ การบันทึกรายการทางบัญชีและการดูแลทรัพย์สินเพื่อเป็นการตรวจสอบซึ่งกันและกันได้ ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่ากรรมการดังกล่าวได้มีการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น และมีการถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสม
5.6) คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ
5.7) กรรมการบริษัทฯ มีวาระการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน ซึ่งตามข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดไว้ว่า ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งอย่างน้อยจำนวนหนึ่งในสาม (1/3) โดยอัตรา ถ้าจำนวนกรรมการจะแบ่งออกให้เป็นสามส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้เคียงที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม (1/3) โดยให้กรรมการที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง
5.8) กรรมการของบริษัทฯ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพ และได้ผ่านหลักสูตรการอบรมการเป็นกรรมการ ตามหลักสูตร Directors Certification Program (DCP) หรือ Directors Accreditation Program (DAP) ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยกรรมการบริษัทฯ เข้าร่วมในการฝึกอบรมหลักสูตรที่จัดขึ้นสำหรับกรรมการจำนวน 9 ท่าน จากกรรมการ 10 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ดังนี้
1) นายบรรพต หงษ์ทอง ประกาศนียบัตรหลักสูตร DAP รุ่น 2013
2) นายชูศักดิ์ ปรัชญางค์ปรีชา ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 18/2002
3) นายถกล ถวิลเติมทรัพย์ ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 32/2003
4) นายไพบูลย์ คุจารีวณิช ประกาศนียบัตรหลักสูตร DAP รุ่น 113/2014
5) นายกิตติ ฉัตรเลขวนิช ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 4/2000
6) นายการุญ นันทิลีพงศ์ ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 9/2001
7) นายทรงฤทธิ์ นิวัติศัยวงศ์ ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP รุ่น 15/2002
8) นายนพพร พิชา ประกาศนียบัตรหลักสูตร DAP รุ่น 2003
9) นายศราวุธ เมนะเศวต ประกาศนียบัตรหลักสูตร DAP รุ่น 2015
10) นายรชฎ ถวิลเติมทรัพย์ -ยังไม่ได้เข้ารับการอบรม-
5.9) คณะกรรมการบริษัทฯ มีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวม คณะกรรมการได้มีส่วนร่วมในการกำหนดและให้ความเห็นชอบในเรื่องวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย โดยคณะจัดการจะนำเสนอเพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทบทวนทุกๆ 1-3 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางธุรกิจหรือสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยในปี 2566 ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ร่วมพิจารณาทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยังคงมีความเห็นให้คงเดิม
5.10) ในส่วนแผนงานและงบประมาณ บริษัทฯ มีแผนปฏิบัติและมีการติดตามผลการปฏิบัติตามแผนงาน และงบประมาณของบริษัทฯ ทุกไตรมาส และมีการปรับปรุงเป้าหมาย แผนงาน และงบประมาณของบริษัทฯ ทุกปี โดยคณะจัดการจะนำเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาทุกปีตามกรอบคู่มืออำนาจดำเนินการและนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา ทั้งนี้หากมีแผนงานหรืองบประมาณเพิ่มเติมที่เกินกว่าอำนาจดำเนินการอนุมัติของคณะกรรมการบริหาร ตามที่ได้กำหนดไว้ จะต้องนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาต่อไป และคณะกรรมการบริษัทฯ จะกำกับดูแลให้คณะจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยในปี 2565 คณะจัดการได้มีการประชุมติดตามงบประมาณและแผนงานเป็นรายไตรมาส จำนวน 4 ครั้ง เพื่อให้ทุกหน่วยงานชี้แจงความคืบหน้าของงบประมาณและแผนงาน รวมถึงเหตุผลที่ไม่สามารถทำได้ตามแผนงาน เพื่อนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการบริหารทราบ และ คณะจัดการได้นำเสนองบประมาณแผนงานประจำปี 2566 ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพิจารณา เมื่อเดือนตุลาคม 2566 และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติในเดือนพฤศจิกายน 2566
5.11) คณะกรรมการและคณะจัดการมีความรับผิดชอบตามหน้าที่ต่อผู้ถือหุ้น มีระบบการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะจัดการ ซึ่งได้มีการกำหนดอำนาจดำเนินการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
5.12) เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทำรายการหรือธุรกรรมระหว่างบริษัทฯ กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป รายการทั้งหมดจะกระทำอย่างยุติธรรมตามราคาตลาดและเป็นไปตามปกติธุรกิจการค้า หรือเป็นธุรกรรมที่เป็นข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำกับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอำนาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลจากการมีสถานะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง (แล้วแต่กรณี) ภายใต้เงื่อนไขที่สมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบได้ ไม่ก่อให้เกิดการถ่ายเทผลประโยชน์ อีกทั้งคณะกรรมการได้ดูแลอย่างรอบคอบหากเกิดรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงจะได้รับทราบถึงรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และรายการที่เกี่ยวโยงกัน เพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมอย่างรอบคอบ และให้มีการปฏิบัติตามหลัก เกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยราคาและเงื่อนไขให้กระทำเสมือนทำรายการกับบุคคลภายนอก กระทำอย่างยุติธรรมตามราคาตลาดและเป็นไปตามปกติธุรกิจการค้า และจะต้องเปิดเผยรายละเอียด มูลค่ารายการ คู่สัญญา เหตุผล/ความจำเป็น ไว้ในรายงานประจำปี ตลอดจนต้องเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในหัวข้อรายการบัญชีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกันด้วย
5.13) ได้กำหนดนโยบายให้กรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารแจ้งเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ อย่างน้อย 1 วันล่วงหน้าก่อนทำการซื้อขายให้คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงทราบโดยผ่านเลขานุการบริษัท รวมถึงนำส่งแบบรายงานการมีส่วนได้เสียให้แก่เลขานุการบริษัททุก 6 เดือน และเลขานุการบริษัทจะต้องส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้ส่วนเสียนี้ให้ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงทราบ และกำหนดให้กรรมการและผู้บริหาร มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการ กลต. พร้อมทั้งแจ้งให้เลขานุการบริษัททราบเพื่อจัดทำบันทึกการเปลี่ยนแปลงและสรุปจำนวนหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหารเป็นรายบุคคล เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบในการประชุมครั้งถัดไป
5.14) คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมทุกด้านทั้งด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และการบริหารความเสี่ยง และจัดให้มีกลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการปกป้องรักษาและดูแลเงินทุนของผู้ถือหุ้นและสินทรัพย์ของบริษัทฯ อยู่เสมอ จัดให้มีการกำหนดลำดับขั้นของอำนาจอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรในคู่มืออำนาจดำเนินการ และความรับผิดชอบของผู้บริหารและพนักงาน กำหนดระเบียบการปฏิบัติงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร มีสำนักตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามระเบียบที่วางไว้ รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพและความเพียงพอของการควบคุมภายใน ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงดูแลให้สำนักตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบได้อย่างเต็มที่ และให้รายงานตรงต่อกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกไตรมาส
5.15) คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารกำหนดแผนพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและแผนสืบทอดผู้บริหารระดับสูง (Succession Plan) และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงเป็นประจำทุกปี และมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนพิจารณากำหนดระบบพิจารณาค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารระดับสูงที่เหมาะสม ที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานและเพื่อก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
5.16) บริษัทฯ ได้จัดทำคู่มือจรรยาบรรณบริษัทขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและเที่ยงธรรม โดยได้มอบคู่มือจรรยาบรรณบริษัทให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อให้ปฏิบัติตามโดยทั่วกัน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัดอบรมชี้แจงให้พนักงานได้รับทราบทั่วกัน และผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นมีหน้าที่สอดส่องและส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่กำหนดและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี อีกทั้งได้กำหนดเป็นแผนงานของฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลที่ต้องจัดอบรมและติดตามการปฏิบัติดังกล่าวเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2566 ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ได้มีการจัดอบรมให้กับพนักงานและกรรมการ รวมถึงได้มีการส่งลิงค์เอกสารผ่าน Email ให้กับพนักงานทบทวนและรับทราบ และ ไม่พบกรณีกระทำความผิดอันเนื่องมาจากประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมและการกระทำผิดด้านทุจริต
5.17) บริษัทฯ มีการกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย ไว้อย่างเป็นทางการล่วงหน้าตลอดปี ไตรมาสละ 1 ครั้ง และมีการประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระไว้อย่างชัดเจนและมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ โดยเลขานุการบริษัทหรือเลขานุการที่ประชุมของแต่ละคณะจะจัดทำหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุมส่งให้กรรมการแต่ละท่านล่วงหน้าก่อนการประชุมเป็นเวลา 7 วันเพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ กรรมการสามารถเสนอความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วจากคณะ กรรมการบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ โดยปกติการประชุมแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง นอกจากนี้บริษัทฯ มีเลขานุการบริษัทและที่ปรึกษาทางกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎหมายและเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการ รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ
ภาพรวมผลการดำเนินงานด้านกำกับกิจการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2566
รายงานผลการดำเนินงานสำคัญด้านการกำกับดูแลกิจการ
สรุปผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในรอบปีที่ผ่านมา
การสรรหา พัฒนา และประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
(1) การสรรหากรรมการ
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่สรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับคุณสมบัติที่บริษัทฯ กำหนด และเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้ง (แล้วแต่กรณี) ตามข้อบังคับของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบได้ทำการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจากช่องทางดังนี้
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะทำการพิจารณาทบทวนประเมินทักษะและคุณลักษณะของกรรมการ (Skill and Characteristic) และองค์ประกอบโดยรวมของคณะกรรมการบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และทิศทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และจัดทำเป็นตาราง Board Sill Matrix เพื่อพิจารณาทักษะที่จำเป็นซึ่งยังขาดอยู่ในคณะกรรมการบริษัทฯ
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนยังได้พิจารณาถึงความหลากหลาย ทั้งในด้านของทักษะวิชาชีพ ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประสบการณ์ ความเป็นอิสระ และความสามารถอื่นๆ โดยไม่จำกัดอายุ เพศ หรือ เชื้อชาติของกรรมการ
องค์ประกอบความรู้ความชำนาญของกรรมการ (Board Skill Matrix)
คุณสมบัติของกรรมการ
คุณสมบัติของกรรมการอิสระของบริษัทฯ
(ก) ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย
(ข) ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษา ที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
(ค) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็น บิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
(ง) ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ หรือผู้บริหาร ของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่ง รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการหรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้ผู้ขออนุญาตหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของผู้ขออนุญาตหรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลมแต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน
(จ) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
(ฉ) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการทางวิชาชีพเป็นนิติบุคคล ให้รวมถึงการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
(ช) ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
(ซ) ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ
กระบวนการแต่งตั้ง
1) กรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากถึงคราวพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากถึงคราวพ้นจากตำแหน่งตามวาระ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะพิจารณาสรรหาและคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการ เพื่อเสนอความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติเลือกตั้งต่อไป กรณีที่เสนอให้กรรมการท่านเดิมกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการต่ออีกวาระหนึ่ง คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จะพิจารณาปัจจัยต่างๆ รวมถึงผลการปฏบัติงาน ประวัติการเข้าร่วมประชุมและการมีส่วนร่วมในการประชุม และหากเป็นกรรมการอิสระจะพิจารณาถึงการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระในการประชุมด้วย
หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการมีวิธีการดังต่อไปนี้
2) กรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากสาเหตุอื่นนอกจากถึงคราวพ้นจากตำแหน่ง
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรรมการ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งเป็นกรรมการเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง และบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน ทั้งนี้มติการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทนดังกล่าวต้องรับคะแนนเสียงข้างมากของมติที่ประชุม เว้นแต่วาระของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งนั้นเหลือน้อยกว่า 2 เดือนซึ่งจะต้องเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นผู้พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง
ทั้งนี้ในปี 2565 ไม่มีผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ, ไม่มีการลาออกของกรรมการหรือการแต่งตั้งบุคคลใหม่เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ, ไม่มีการลาออกของกรรมการอิสระหรือการแต่งตั้งบุคคลใหม่เข้าเป็นกรรมการอิสระในระหว่างปี , ไม่มีกรณีที่คณะกรรมการอิสระลาออกทั้งคณะ, ไม่มีกรรมการอิสระลาออกอันเนื่องมาจากประเด็นเรื่องการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ และ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการตามที่ได้กำหนดไว้
(2) การสรรหาผู้บริหารระดับสูงสุด
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่สรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด ประกอบด้วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ Chief Financial Officer โดยนำเสนอชื่อและคุณสมบัติต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง
อ้างถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจอนุมัติของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ในหัวข้อย่อยที่ 2) คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ของหัวข้อใหญ่ที่ 7.3 ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการชุดย่อย
(3) การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานประจำปี คณะกรรมการจะประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี โดยอ้างอิงแบบฟอร์มจากตัวอย่างแบบประเมินตนเองของคณะกรรมการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นหลักเกณฑ์ในการประเมินและแจ้งผลการประเมินให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบ เพื่อร่วมวิเคราะห์ผลการประเมินและพิจารณาหาแนวทาง แนวปฏิบัติสำหรับการพัฒนาศักยภาพการทำงานของคณะกรรมการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลักเกณฑ์การประเมินตนเองของคณะกรรมการรายคณะ, การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ และ การประเมินผลงานกรรมการเป็นรายบุคคล ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้
วิธีการให้คะแนนและการวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการรายคณะ, การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ และ การประเมินผลงานกรรมการเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละจากคะแนนเต็มในแต่ละหัวข้อแบ่งออกเป็น ดังนี้ มากกว่าร้อยละ 80 = ดีเยี่ยม, มากกว่าร้อยละ 60 = ดี, มากกว่าร้อยละ 40 = พอใช้, มากกว่าร้อยละ 20 = น้อย และ น้อยกว่าร้อยละ 20 = ยังไม่มีการดำเนินการในเรื่องนั้นๆ
โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 มีการประเมินคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งสรุปผลการประเมินประจำปี 2565 ได้ดังนี้
1) การประเมินตนเองของคณะกรรมการรายคณะ
เพื่อใช้ประเมินการทำงานของคณะกรรมการในภาพรวมขององค์คณะ มีหัวข้อที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ, บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะ กรรมการ, การประชุมคณะกรรมการ, การทำหน้าที่ของกรรมการ, ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ และ การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร โดยกระบวนการประเมินให้กรรมการทุกคนเป็นผู้ประเมิน ภาพรวมผลประเมินอยู่ในเกณ์ฑดีเยี่ยม
หัวข้อประเมิน |
ผลประเมิน |
1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ |
93.80% |
2. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ |
92.78% |
3. การประชุมคณะกรรมการ |
96.43% |
4. การทำหน้าที่ของกรรมการ |
94.43% |
5. ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ |
96.67% |
6. การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร |
87.50% |
รวม |
93.83% |
2) การประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ
เพื่อใช้ประเมินการทำงานของคณะกรรมการชุดย่อยที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในภาพรวมขององค์คณะ มีหัวข้อที่ใช้ในการประเมิน โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการชุดย่อย, การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย, บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย โดยกระบวนการประเมินให้กรรมการที่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการชุดย่อยเป็นผู้ประเมิน ภาพรวมผลประเมินอยู่ในเกณ์ฑดีเยี่ยม
หัวข้อประเมิน |
ผลประเมิน |
1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ |
93.65% |
2. การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย |
97.62% |
3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย |
|
3.1 คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง |
98.96% |
3.2 คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
100% |
3.3 คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน |
97.50% |
3.4 คณะกรรมการบริหาร |
87.50% |
รวม |
95.87% |
3) การประเมินผลงานกรรมการเป็นรายบุคคล
เพื่อใช้ประเมินการทำหน้าที่อย่างเหมาะสมของการเป็นกรรมการของกรรมการรายบุคคล มีหัวข้อที่ใช้ในการประเมิน โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ, การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย และ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างเพียงพอ โดยกระบวนการประเมินให้กรรมการทุกคนเป็นผู้ประเมิน ภาพรวมผลประเมินอยู่ในเกณ์ฑดีเยี่ยม
หัวข้อประเมิน |
ผลประเมิน |
1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ |
96.03% |
2. การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย |
93.06% |
3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างเพียงพอ |
91.67% |
รวม |
93.58% |
การเข้าร่วมประชุมและการจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการรายบุคคล
1) การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย
บริษัทฯ มีการกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะบกรรมการชุดย่อย ไว้อย่างเป็นทางการล่วงหน้าตลอดปี ไตรมาสละ 1 ครั้ง และมีการประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระไว้อย่างชัดเจนและมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ โดยเลขานุการบริษัทหรือเลขานุการที่ประชุมของแต่ละคณะจะจัดทำหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบ การประชุมส่งให้กรรมการแต่ละท่านล่วงหน้าก่อนการประชุมเป็นเวลา 7 วันเพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ กรรมการสามารถเสนอความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้วจากคณะ กรรมการบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ โดยปกติการประชุมแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง นอกจากนี้บริษัทฯ มีเลขานุการบริษัทและที่ปรึกษาทางกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎหมายและเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการ รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ
การประชุมระหว่างกรรมการโดยไม่มีกรรมการบริหาร ผู้บริหาร และ คณะจัดการเข้าร่วม ได้กำหนดล่วงหน้าไว้อย่างเป็นทางการ 1 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำงานของกรรมการบริหารและฝ่ายจัดการ โดยเลขานุการบริษัทเป็นผู้จดบันทึกการประชุมและจัดเก็บรายงานการประชุม พร้อมทั้งสรุปเด็นที่มีนัยสำคัญจากที่ประชุมแจ้งต่อ คณะกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทราบ เพื่อได้ดำเนินการหรือตรวจสอบ แล้วนำเสนอผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบต่อไป
ในการประชุมแต่ละครั้งจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะถือครบเป็นองค์ประชุม และการลงมติจะต้องผ่านการอนุมัติจากเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม ซึ่งในปี 2566 สามารถสรุปการเข้าร่วมประชุมต่างๆ ได้ดังนี้
รายชื่อ |
|
จำนวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม / จำนวนครั้งที่ประชุม ปี 2566 |
|||||||
คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง 4 ครั้ง |
คณะกรรมการ 1 ครั้ง |
คณะกรรมการ บรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน 4 ครั้ง |
คณะกรรมการบริหาร 12 ครั้ง |
คณะกรรม 4 ครั้ง |
การประชุมระหว่างกรรมการ โดยไม่มีกรรมการบริหาร ผู้บริหาร และฝ่ายจัดการเข้าร่วม (1 ครั้ง) |
การประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง (E-AGM) |
|
||
นายบรรพต หงษ์ทอง |
- |
1/1 (100%) |
- |
- |
4/4 (100%) |
1/1 (100%) |
1/1 |
|
|
นายนพพร พิชา |
4/4 (100%) |
1/1 (100%) |
- |
- |
4/4 (100%) |
1/1 (100%) |
1/1 |
|
|
นายไพบูลย์ คุจารีวณิช |
4/4 (100%) |
- |
- |
- |
4/4 (100%) |
1/1 (100%) |
1/1 |
|
|
นายศราวุธ เมนะเศวต |
4/4 (100%) |
- |
- |
- |
4/4 (100%) |
1/1 (100%) |
1/1 |
|
|
นายถกล ถวิลเติมทรัพย์ |
- |
- |
- |
12/12 (100%) |
4/4 (100%) |
- |
1/1 |
|
|
นายชูศักดิ์ ปรัชญางค์ปรีชา |
- |
1/1 (100%) |
- |
12/12 (100%) |
4/4 (100%) |
- |
1/1 |
|
|
นายการุญ นันทิลีพงศ์ |
- |
- |
4/4 (100%) |
- |
4/4 (100%) |
1/1 (100%) |
1/1 |
|
|
นายกิตติ ฉัตรเลขวนิช |
- |
- |
- |
- |
4/4 (100%) |
1/1 (100%) |
1/1 |
|
|
นายทรงฤทธิ์ นิวัติศัยวงศ์ |
- |
- |
4/4 (100%) |
- |
4/4 (100%) |
1/1 (100%) |
1/1 |
|
|
นายรชฎ ถวิลเติมทรัพย์ |
- |
- |
- |
- |
4/4 (100%) |
- |
1/1 |
|
|
เฉลี่ยรวมทั้งคณะ |
100% |
100% |
100% |
95.83% |
100% |
100% |
100% |
|
|
2) การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ
บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณากลั่นกรองถึงความเหมาะสมของค่าตอบแทนกรรมการอย่างละเอียด โดยเปรียบเทียบอ้างอิงจากอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันและอยู่ในระดับเหมาะสมและสูงเพียงพอที่จะดึงดูดและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ และพิจารณาตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิได้จ่ายผลประโยชน์อื่นใดให้แก่กรรมการ นอกเหนือจากค่าตอบแทนกรรมการและค่าเบี้ยประชุมกรรมการเท่านั้น เมื่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณากลั่นกรองแล้วจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการต่อไป
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 มีมติอนุมัติค่าเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2566 ดังนี้
ค่าเบี้ยประชุม |
บาท/คน/ครั้ง ที่มาประชุม |
||
ตำแหน่ง |
ปี 2566 |
ปี 2565 |
|
คณะกรรมการบริษัท |
ประธาน |
30,000 |
30,000 |
|
กรรมการ |
25,000 |
25,000 |
คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง |
ประธาน |
30,000 |
30,000 |
กรรมการ |
25,000 |
25,000 |
|
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน |
ประธาน |
25,000 |
25,000 |
กรรมการ |
20,000 |
20,000 |
|
คณะกรรมการบริหาร |
ประธาน |
30,000 |
30,000 |
|
กรรมการ |
25,000 |
25,000 |
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน |
ประธาน |
25,000 |
25,000 |
กรรมการ |
20,000 |
20,000 |
(2) กำหนดค่าตอบแทนกรรมการ ประจำปี 2566 ในวงเงินไม่เกิน 4,500,000 บาท ซึ่งเทียบเท่ากับปีก่อน โดยให้ประธานกรรมการพิจารณาจัดสรรตามความเหมาะสม
รายละเอียด |
ปี 2566 |
ปี 2565 |
ค่าตอบแทนกรรมการ |
4,500,000 บาท |
4,500,000 บาท |
3) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินของคณะกรรมการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
รายชื่อกรรมการ |
ค่าเบี้ยประชุม (บาท) |
ค่าตอบแทนกรรมการ |
รวม |
||||
คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง (4 ครั้ง) |
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน (1 ครั้ง) |
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและพัฒนาความยั่งยืน (4 ครั้ง) |
คณะกรรมการบริหาร |
คณะกรรมการบริษัทฯ (4 ครั้ง) |
|||
นายบรรพต หงษ์ทอง กรรมการอิสระ |
- |
25,000 |
- |
- |
120,000 |
562,500 |
707,500 |
นายนพพร พิชา กรรมการอิสระ |
120,000 |
20,000 |
- |
- |
100,000 |
517,500 |
757,500 |
นายไพบูลย์ คุจารีวณิช กรรมการอิสระ |
100,000 |
- |
- |
- |
100,000 |
427,500 |
627,500 |
นายศราวุธ เมนะเศวต กรรมการอิสระ |
100,000 |
- |
- |
- |
100,000 |
427,500 |
627,500 |
นายถกล ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการ |
- |
- |
- |
360,000 |
100,000 |
427,500 |
887,500 |
นายชูศักดิ์ ปรัชญางค์ปรีชา กรรมการ |
- |
20,000 |
- |
300,000 |
100,000 |
427,500 |
847,500 |
นายการุญ นันทิลีพงศ์ กรรมการ |
- |
- |
100,000 |
- |
100,000 |
427,500 |
627,500 |
นายกิตติ ฉัตรเลขวนิช กรรมการ |
- |
- |
- |
- |
100,000 |
427,500 |
527,500 |
นายทรงฤทธิ์ นิวัติศัยวงศ์ กรรมการ |
- |
- |
80,000 |
- |
100,000 |
427,500 |
607,500 |
นายรชฎ ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการ ผู้บริหาร |
- |
- |
- |
- |
100,000 |
427,500 |
527,500 |
รวม |
320,000 |
65,000 |
180,000 |
660,000 |
1,020,000 |
4,500,000 |
6,745,000 |
หมายเหตุ 1) ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 มีมติอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการในวงเงินไม่เกินจำนวน 4,500,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน และไม่มีสิทธิประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากนี้ โดยให้ประธานกรรมการพิจารณาจัดสรรตามความเหมาะสม ซึ่งได้ทำการจัดสรรและกำหนดจ่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
4) ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ
นโยบายค่าตอบแทนกรรมการบริหารและผู้บริหาร
1) ค่าตอบแทนกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
นโยบายค่าตอบแทนของกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
2) ค่าตอบแทนผู้บริหาร
นโยบายค่าตอบแทนของผู้บริหารจะสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กล่าวคือ
ระยะสั้น
ระยะยาว
3) ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการบริหารและผู้บริหารที่นอกเหนือจากสวัสดิการ
-ไม่มี-
ค่าตอบแทนรวมและจำนวนรายของกรรมการบริหารและผู้บริหารของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
รายละเอียด |
ปี 2566 |
ปี 2565 |
ปี 2564 |
จำนวนกรรมการบริหารและผู้บริหาร |
8 ท่าน |
9 ท่าน |
10 ท่าน |
ค่าตอบแทน เบี้ยประชุม เงินเดือน โบนัส เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และรายได้อื่นๆ (เงินชดเชยเกษียณอายุ เงินชดเชยต่างๆ) |
24.39 ล้านบาท |
27.04 ล้านบาท |
23.33 ล้านบาท |
รถยนต์ประจำตำแหน่ง |
3 ท่าน |
3 ท่าน |
3 ท่าน |
การกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
การบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจของบริษัทย่อยจะดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและรูปแบบบริหารการจัดการในแบบอย่างเดียวกันกับของบริษัทฯ โดยกระบวนการดำเนินการ อำนาจการตัดสินใจ ตลอดจนการพิจารณาอนุมัติเรื่องต่างๆ จะเป็นไปตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามคู่มืออำนาจดำเนินการของบริษัทฯ อีกทั้งกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ บางท่านได้ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทย่อยด้วย จึงทำให้กระบวนการบริหารอยู่ในขอบเขตตามแบบของบริษัทฯ อย่างแน่นอน รวมถึงข้อมูลฐานะทางการเงินของบริษัทฯ จะแสดงข้อมูลฐานะทางการเงินของบริษัทย่อยรวมอยู่ด้วย
การกำกับดูแลและการบริหารจัดการบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัทฯ จะพิจารณาแต่งตั้ง บุคคล เพื่อเป็นตัว แทน ของบริษัทฯ เข้าดำรงตำแหน่งในฐานะ กรรมการ ตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทย่อย หรือ บริษัทร่วม หรือ ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันตามสัญญา และ/หรือ แต่งตั้ง ผู้บริหาร ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกัน
โดย คณะกรรมการบริษัท หรือ คณะกรรมการบริหาร ของบริษัทฯ จะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นตัว แทนดังกล่าว โดยจะพิจารณาบุคคลที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสม ปราศจากผลประโยชน์ขัดแย้งกับธุรกิจของบริษัทย่อย หรือ บริษัทร่วม ที่บริษัทฯ เข้าลงทุน ตลอดจนไม่มีลักษณะต้องห้ามขาดความน่าไว้วาง ใจตามกฎหมาย หรือ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ การบริหารงานในธุรกิจที่บริษัทฯ มีความชำนาญ บริษัทฯ จะส่งบุคคลเพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทฯ เข้าดำรงตำแหน่งในฐานะ กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหาร เพื่อเข้าร่วมบริหารงาน และรวมถึงกำหนดนโยบายและแนวทาง การบริหารงานให้สอดคล้องกับแผนงานของบริษัทฯ รวมทั้งติดตามและควบคุมการปฏิบัติ งานให้เป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้
การบริหารงานในธุรกิจอื่นที่บริษัทฯ ไม่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจ บริษัทฯ จะส่งบุคคลเพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทฯ เข้าดำรงตำแหน่งในฐานะ กรรมการ แทนการเข้าไปบริหารงานโดยตรง
ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม ด้วยความรับผิดชอบ กำกับดูแลติดตามการดำเนินธุรกิจของ บริษัทย่อยหรือ บริษัทร่วม ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งมิให้บุคคลที่เป็นตัวแทนของบริษัทฯ รวมถึง บิดา มารดา พี่น้อง บุตร บุตรบุญธรรม คู่สมรส หรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาของตัวแทนใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ บริษัทย่อย และ บริษัทร่วม เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น นอกจากเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทฯ บริษัทย่อยและบริษัทร่วมเท่านั้น