3.1 การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
3.1.1 ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
การแสดงถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ โดยสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าที่บริษัทฯ ส่งมอบให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในแต่ละกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมตลอดห่วงโซคุณค่าของ 2 ประเภท ดังนี้
กิจกรรมหลัก คือ การเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องของ 5 กิจกรรมหลัก ตามบริบทของธุรกิจพาณิชย์ ดังนี้
กิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า |
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง |
ผู้มีส่วนได้เสีย |
1. การบริหารจัดการปัจจัยผลิต เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นและสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต รวมถึงลักษณะความสัมพันธ์ของคู่ค้าหรือผู้ส่งมอบวัตถุดิบ หรือสิ่งที่ใช้เป็นปัจจัยในการผลิตสินค้า |
· การจัดหาและจัดซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพ อย่างมีประสิทธิภาพ · การพิจารณารับซื้อวัตถุดิบจากผู้ปลูกปาล์มรายย่อย หรือ เกษตกรรายย่อย · การกำหนดราคารับซื้อผลปาล์มสดที่ราคาเป็นกลาง · กระบวนการจัดซื้อและคัดเลือกคู่ค้าที่เป็นธรรม ไม่กีดกันทางการค้า ไม่เลือกปฏิบัติ |
· เกษตรกรผู้ปลูกผลปาล์มรายย่อย และ ผู้บริการจัดหาผลปาล์มสด · หน่วยงานภาครัฐ / หน่วยงานกำกับที่ควบคุมมาตรฐานด้านวัตถุดิบและสินค้า · พนักงานที่ทำหน้าที่จัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ
|
2. การปฏิบัติการ
|
· ผลิตและแปรรูปวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ · คำนึงถึงความปลอดภัยของกระบวนการผลิต และลดของเสียที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม · ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด · ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้า · การผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า · การคิดค้น วิจัย และพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์และตามความต้องการของลูกค้า |
· คู่ค้าที่รับซื้อผลิตภัณฑ์โดยตรงกับบริษัทฯ เพื่อไปจัดจำหน่าย · คู่สัญญา / คู่ค้า (กรณีว่าจ้าง · พนักงานที่ทำหน้าที่ผลิตสินค้า · หน่วยงานภาครัฐ / หน่วยงานกำกับที่ควบคุมมาตรฐานการผลิต · ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ |
3. การกระจายสินค้าและบริการ |
· คลัง / ศูนย์กระจายสินค้า อยู่ในที่ตั้งที่เหมาะสม สะดวกต่อการขนส่ง และมีระบบการจัดการโดยรวมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม · คลัง / ศูนย์กระจายสินค้า ที่มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการคำสั่งซื้อ · คลัง / ศูนย์กระจายสินค้า มีความพร้อมในการจัดเก็บสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาคุณภาพของสินค้าได้เป็นอย่างดี · คัดเลือกผู้ให้บริการด้านการขนส่งที่ได้มาตรฐาน และมีกระบวนการจัดจ้างที่เป็นธรรม · ขนส่งและส่งมอบสินค้าด้วยบริการที่มีคุณภาพและตรงเวลา |
· ผู้ให้เช่าคลังสินค้า · ผู้รับจ้างขนส่ง · พนักงานประจำคลังสินค้า · ผู้บริโภค · ลูกค้า / ผู้กระจายสินค้า (ผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของบริษัท) · ชุมชน สังคมรอบข้างคลังสินค้า |
4. การตลาดและการขาย
|
· การหาช่องทางการจัดจำหน่าย ที่ให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย เช่น ร้านค้าโชห่วย ร้านค้าออฟไลน์ / ออนไลน์ · การกำหนดราคาของสินค้า และจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างเหมาะสม · ให้บริการข้อมูลของสินค้าแก่ผู้บริโภคอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกช่องทางการสื่อสาร |
· ลูกค้า · ตัวแทนจำหน่าย · ตัวแทนนายหน้าที่รับไปจำหน่าย · พนักงานขาย / พนักงานผู้ให้ข้อมูล · ผู้กระจายสินค้า (ผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของบริษัทฯ)
|
5. การบริการหลังการขาย |
· มีการรับประกันสินค้าและความพึงพอใจ · มีระบบการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ |
· ลูกค้า · ผู้กระจายสินค้า · ตัวแทนนายหน้าที่รับไปจำหน่าย · พนักงานขายแต่ละกลุ่มสินค้า · พนักงานผู้รับข้อมูล / พนักงานบริการหลังการขาย |
กิจกรรมสนับสนุน คือ กิจกรรมที่สนับสนุนให้กิจกรรมหลักบรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากิจกรรมหลัก โดยบริษัทฯ ได้มีการดำเนินการอย่างรอบคอบและปฏิบัติตามเกณฑ์การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ทั้งการบริหารทรัพยากรบุคคล การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสินค้าและบริการ การบริหารจัดการองค์กร การขนส่ง และ การจัดทำระบบบัญชีและการเงิน เป็นต้น
3.1.2 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
ผู้มีส่วนได้เสีย คือ บุคคลหรือหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยแบ่งเป็น
1) ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน
2) ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร เช่น ลูกค้า คู่ค้า หรือ ชุมชน เป็นต้น
โดยบริษัทฯ ได้ทำการประเมินความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย โดยผ่านกระบวนการรับฟัง การสัมภาษณ์ รวบรวมรายงาน การสำรวจความพึงพอใจ การประชุมกลุ่มย่อย การประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบและประเด็นที่เกี่ยวโยงกับบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วนทั้งด้านบวกและด้านลบ
เมื่อทราบความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียแล้ว บริษัทฯ จึงได้สรุปแนวทางการตอบสนองความคาดหวังนั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือและการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน ลดความเสี่ยงด้านต่างๆ ในการดำเนินงาน และยังถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจอีกด้วย
ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
ช่องทางการมีส่วนร่วม ประชุมสามัญประจำปี ประชุมวิสามัญ การชี้แจงผลการดำเนินงาน
รายไตรมาส รายงานประจำปี ช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น เว็บไซต์ อีเมล์ โทรศัพท์ ไลน์ เฟสบุ๊ค ช่องทางการร้องเรียน (Whistle Blowing)
ข้อเสนอแนะ / ความคาดหวัง / ความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย
การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย พนักงาน
ช่องทางการมีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะ / ความคาดหวัง / ความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย
การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้บริโภคและลูกค้า
ช่องทางการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้เข้าดูตรวจสอบกระบวนการผลิต ช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่นเว็บไซต์ อีเมล์ โทรศัพท์ ไลน์ เฟสบุ๊ค ช่องทางการร้องเรียน (Whistle Blowing)
ข้อเสนอแนะ/ความคาดหวัง/ ความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย
การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย คู่ค้า คู่สัญญา / ผู้รับจ้างผลิต
ช่องทางการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้เข้าดูตรวจสอบ กระบวนการผลิต ช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น อีเมล์ โทรศัพท์ ไลน์ ช่องทางการร้องเรียน (Whistle Blowing)
ข้อเสนอแนะ/ความคาดหวัง/ ความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย
การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย หน่วยงานภาครัฐ / หน่วยงานกำกับ
ช่องทางการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อเนื่อง การจัดทำรายงานหรือการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ
ข้อเสนอแนะ/ความคาดหวัง/ ความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย
การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนและสังคม
ช่องทางการมีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะ / ความคาดหวัง / ความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย
การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย คู่แข่งทางการค้า
ช่องทางการมีส่วนร่วม ช่องทางการร้องเรียน (Whistle Blowing)
ข้อเสนอแนะ / ความคาดหวัง / ความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย
การตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
3.2 การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม
3.2.1 นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ได้ดำเนินงานโครงการ CSR (Corporate Social Responsibility) มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่การดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของชุมชน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือสังคมด้วยความจริงใจ รวมทั้งสามารถดำเนินกิจการร่วมกับชุมชนและได้รับการยอมรับอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งการดำเนินงานทั้งในกระบวนการทางธุรกิจ และนอกเหนือกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยเริ่มต้นจากภายในองค์กรขยายออกสู่ชุมชนใกล้เคียง ซึ่งพนักงานในบริษัทฯ ต่างได้มีส่วนช่วยเหลือ ร่วมมือร่วมใจช่วยกันส่งเสริมและจัดทำกิจกรรมต่างๆ ให้โครงการดังกล่าวขับเคลื่อนไปได้
ทั้งนี้ บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างศักยภาพโรงงานอุตสาหกรรม มุ่งสู่การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและรับ ผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน จัดขึ้นโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้จัดทำมาตรฐานว่าด้วยการแสดงความรับผิด ชอบต่อสังคม (Corporate Responsibility, Department of Industrial Works : CSR-DIW) ที่ประกอบด้วยมาตรฐานหัวข้อหลัก 7 หัวข้อ
1) การกำกับดูแลองค์กร (Corporate Governance)
2) สิทธิมนุษยชน (Human Rights)
3) การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor Practice)
4) สิ่งแวดล้อม (Environment)
5) การปฏิบัติที่เป็นธรรม (Fair Operating Practice)
6) ผู้บริโภค (Consumers Issue)
7) การมีส่วนร่วมต่อสังคมและชุมชน (Community involvement and Development)
3.2.2 ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
1) การจัดการน้ำ
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากน้ำให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด จึงได้จัดทำมาตรการประหยัดน้ำและกระบวนการดูแลระบบน้ำขึ้นจำนวน 4 มาตรการ ดังนี้
มาตรการที่ 1 มาตรการซ่อมบำรุงท่อส่งน้ำและระบบการจ่ายน้ำภายในกระบวนการผลิต เพื่อลดการรั่วไหล
มาตรการที่ 2 มาตรการแยกประเภทน้ำภายในโรงงาน และ จัดประเภทน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อใช้งานน้ำอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
มาตรการที่ 3 มาตรการนำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต (Reject RO) กลับมาใช้งานเป็นน้ำประปา (ประปาเกรด B) เพื่อเป็นการลดปริมาณน้ำดิบลงที่เข้าผลิต
มาตรการที่ 4 มาตรการการติดตามการใช้น้ำ หน่วยงานผู้ดูแลระบบน้ำ มีการทำรายงานสรุปปริมาณการใช้น้ำเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตสินค้า เพื่อแจ้งให้หน่วยงานผู้ใช้น้ำทราบถึง อัตราส่วนการใช้น้ำของแต่ละหน่วยงานทุกเดือน
สถิตการใช้น้ำดิบในกระบวนการผลิตและการใช้งานในส่วนงานต่างๆ
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
การใช้น้ำดิบ |
ลูกบาศ์กเมตรต่อปี |
537,746 |
518,022 |
หมายเหตุ จากกระบวนการผลิตโรงกลั่นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้น้ำดิบในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
2) การจัดการน้ำเสีย
2.1) โครงการเทคโนโลยีผลิตก๊าซชีวภาพจัดการน้ำเสีย เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ได้ดำเนินการธุรกิจโรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบและโรงกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรที่ครบวงจรโดยดำเนินธุรกิจมากว่า 39 ปี ปัญหาที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจคือการจัดการน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต โดยอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะด้านสุขอนามัย กลิ่นและแมลงรบกวน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนและการผลิตของบริษัทฯ รวมทั้งปัญหาภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บริษัทฯ ได้มีความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในสภาพดีตลอดไป และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงจัดตั้งโครงการ Biogas หรือกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ เป็นการกำจัดน้ำเสียโดยใช้ระบบปิด (Anaerobic) เพื่ออนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม โดยนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสียของโรงงานกลับมาใช้ใหม่เป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตของโรงงาน ซึ่งดำเนินการก่อสร้างระบบเมื่อปี พ.ศ. 2549 และขยายระบบการผลิต Biogas ระยะที่ 2 แล้วเสร็จเมื่อปี 2557 เพื่อรองรับการจัดการน้ำเสีย และของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตในปัจจุบันให้มีประสิทธิผลสูงสุด
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพถังหมักแบบ A+CSTRth (Appropriate+Completely Stirred Tank Reactor, Thailand) และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการน้ำเสียจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน ตลอดจนการลดมลภาวะที่เกิดจากน้ำเสีย และบำบัดน้ำเสียของโรงงาน โดยมีเป้าหมายงานโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพจัดการน้ำเสียเพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมดังนี้
1) สร้างระบบก๊าซชีวภาพ ถังหมักแบบ A+CSTRth, A+HCSRth และระบบอื่นๆ ทีเกี่ยวข้อง รองรับน้ำเสียจากกระบวนการผลิตผลปาล์มสดสูงสุดที่ 2,160 ตัน/วัน
2) ผลิตและใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ จำนวนประมาณ 40,000 ลบ.ม./วัน ค่ามีเทน 60% เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงชีวมวล
3) ผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายประมาณ 3.36 Mkh.
4) ผลิตสารปรับปรุงดิน ประมาณ 35 ตัน/วัน มีความชื้น 70%-80%rh เพื่อนำกลับไปใช้เป็นแหล่งธาตุอาหาร และปรับปรุงดินในสวนปาล์มของบริษัทฯ
5) ผลิตปุ๋ยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วประมาณ 600-700 ลบ.ม./วัน เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยน้ำเพื่อการเกษตร
6) ส่งน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้ว ไปยังสถานีพัฒนาอาหารสัตว์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
7) ลดปัญหามลภาวะเรื่องกลิ่น แมลงรบกวน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการน้ำเสียโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม ใช้เทคโนโลยีถังหมักก๊าซชีวภาพแบบ A+CSTRth (Appropriate + Completely Stirred Tank Reactor, Thailand) และ A+UASBth (Upflow Anaerobic Sludge Blanket,Thailand), A+HCSRth (Appropriate +High Concentration Sludge Reactor, Thailand) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีบแบบไม่ใช้อากาศ เป็นองค์ประกอบหลักเพื่อใช้ในการหมักย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำเสีย ซึ่งมีความเข้มข้นของสารแขวนลอย และ COD สูง โดยกลุ่มแบคทีเรียที่ไม่ใช้อากาศ จะย่อยสารอินทรีย์ให้สลายและเปลี่ยนรูปกลายเป็นก๊าซชีวภาพ ซึ่งก๊าซชีภาพที่ผลิตได้จะถูกรวบรวมและนำไปใช้ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในโรงงานต่อไป
น้ำเสียที่ผ่านการหมักย่อยสลายจากถังหมัก A+CSTRth, A+UASBth และ A+HCSRth สามารถลดค่าความสกปรกในรูป COD ประมาณร้อยละ 90 และส่วนของกากตะกอนที่ออกจากถังหมัก จะถูกส่งเข้าระบบแยกของแข็งในลานกรองของแข็งกากอินทรีย์ และสามารถนำไปใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ส่วนของน้ำที่ผ่านลานกรองของแข็งจะถูกส่งไปบำบัดในระบบบำบัดขั้นหลัง ซึ่งเป็นระบบบ่อเปิด เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพเหมาะสมที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยน้ำเพื่อการเพาะปลูกต่อไป
ประโยชน์ต่อโรงงาน ลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ก๊าซชีวภาพทดแทนน้ำมันเตาและเชื้อเพลิงชีวมวล, ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีจากการใช้ปุ๋ยน้ำและสารปรับปรุงดินทดแทน, พนักงานมีคุณภาพชีวิตและมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น, ลดปัญหามลภาวะ เรื่องกลิ่นและแมลงรบกวนที่อาจเป็นพาหะนำโรค ฯลฯ
ประโยชน์ต่อชุมชนใกล้เคียง ลดปัญหาเรื่องกลิ่นและแมลงรบกวนระหว่างชุมชนกับโรงงาน, คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของชุมชนดีขึ้น, ลดปัญหาการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ฯลฯ
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการลดมลพิษทางอากาศทางดิน ทางน้ำ และลดปัญหาการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ, ลดการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนโดยนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ฯลฯ
สถิติการจัดการน้ำเสีย
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ปริมาณน้ำเสียที่ออกจากกระบวนการผลิต |
ลูกบาศ์กเมตร |
241,424 |
273,194 |
ผลิตเพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้า |
Mkh. |
10,225 |
12,008 |
ผลิตปุ๋ยน้ำที่ผ่านการบำบัด |
Mkh. |
85,559 |
47,034 |
หมายเหตุ ปริมาณน้ำเสียที่ออกจากกระบวนการผลิตในปี 2564 ลดลงจากปีก่อน เนื่องด้วยปริมาณผลปาล์มสดที่เข้ากระบวนการผลิตในปี 2564 น้อยกว่าปี 2563 ส่งผลกระทบให้ปริมาณการผลิต Biogas ลดลง และเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณการผลิตเพื่อเป็นพลังงานไฟฟ้าลดลงเช่นกัน
2.2) โครงการเดินท่อน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วไปสถานีพัฒนาอาหารสัตว์และเกษตรกรที่อยู่รอบบริเวณสถานประกอบการ
การดำเนินงานโครงการนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน), สถานีพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดชุมพร และ เกษตรกรสวนรอบบริเวณสถานประกอบการ เพื่อทำการส่งน้ำที่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดขั้นสุดท้ายซึ่งมีแร่ธาตุอาหารสูงไปใช้สำหรับรดหญ้าเนเปียร์ในสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ชุมพรสำหรับเป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชพลังงานทดแทน และเพื่อส่งน้ำที่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดขั้นสุดท้ายไปยังสวนปาล์มของเกษตรกรที่อยู่รอบบริเวณสถานประกอบการซึ่งจะสามารถลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีและปัญหาปาล์มขาดแคลนน้ำได้
เส้นทางการวางท่อน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้ว ดำเนินการโดยการวางท่อน้ำที่ผ่านกระบวน การบำบัดแล้วจากบ่อสุดท้ายหลังผ่านระบบการผลิตก๊าซชีวภาพไปยังสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ มีระยะทาง 2.8 กม. มีจุดปล่อยน้ำดังกล่าวเข้าสวนปาล์มของเกษตรกรรอบข้าง เพื่อให้เกษตรกรนำไปรดต้นปาล์มทดแทนปุ๋ย และไปสิ้นสุดที่สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ โดยจัดเก็บในถังขนาดบรรจุ 25 ลบ.ม. จำนวน 2 ถัง ซึ่งทางสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ ใช้น้ำดังกล่าวสำหรับรดต้นหญ้าเนเปียร์ซึ่งเป็นพืชอาหารสัตว์ที่มีศักยภาพสูงทั้งในแง่การให้ผลผลิตและมีคุณค่าทางอาหารที่ดีตามที่สัตว์ต้องการ อีกทั้งหญ้าเนเปียร์สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้ ซึ่งถือว่าเป็นชีวมวลประเภทหนึ่ง เนื่องจากเป็นหญ้าที่มีเยื่อใยและมีความชื้นสูง สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้ทั้งการนำไปเผาตรงหลังจากผ่านกระบวนการลดความชื้นแล้ว และการนำไปหมักเป็นก๊าซชีวภาพหรือมีเทน
นอกจากนี้ ยังนำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วไปปล่อยลงในแปลงปลูกหญ้าแพงโกล่า ในสถานีพัฒนาอาหารสัตว์ ซึ่งหญ้าแพงโกล่านี้ คืออาหารหลักสำหรับโค กระบือ ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างหายากและราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากยังไม่มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน ยังคงมีการส่งน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วไปยังสถานีพัฒนาอาหารสัตว์และมีจุดกระจายน้ำเข้าสวนปาล์มของเกษตรกรบ้านคันธทรัพย์ หมู่ที่ 2 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ และเกษตรกรรอบข้างอย่างต่อเนื่อง ได้รับการตอบรับที่ดีจากชุมชนในด้านการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วให้เกิดประโยชน์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมที่เป็นผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของชุมชน
บริษัทฯ ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรและอย่างยั่งยืนตลอดไป
สถิติการจัดการน้ำที่ผ่านการบำบัด
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ปริมาณน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด |
ลูกบาศ์กเมตร |
241,424 |
273,194 |
ปริมาณน้ำที่ผ่านการบำบัดส่งออกเพื่อการเพาะปลูก |
ลูกบาศ์กเมตร |
207,261 |
188,218 |
ค่าใช้จ่ายในการจัดการ กรณีที่ไม่ดำเนินการโครงการ |
ล้านบาท |
31 |
28 |
หมายเหตุ ปริมาณน้ำเสียที่ออกจากกระบวนการผลิตในปี 2564 ลดลงจากปีก่อน เนื่องด้วยปริมาณผลปาล์มสดที่เข้ากระบวนการผลิตในปี 2564 น้อยกว่าปี 2563 ทำให้น้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดลดลง
3) การจัดการพลังงานไฟฟ้า
บริษัทฯ ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร รองรับมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด พร้อมทั้งปลูกจิตสำนึกให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วมกับการจัดการพลังงานด้านพลังงานขององค์กรอย่างยั่งยืน
สถิติการใช้พลังงานไฟฟ้า
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก |
Mwh |
874 |
494 |
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเอง |
Mwh |
26,452 |
29,255 |
ปริมาณไฟฟ้าผลิตขายให้การไฟฟ้า |
Mwh |
6,790 |
8,202 |
หมายเหตุ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากภายนอกเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลปาล์มสดที่เข้ากระบวนการผลิตในปี 2564 ลดลงจากปีก่อน ทำให้ปริมาณน้ำเสีย และ Biogas ที่จะผลิตเป็นไฟฟ้าใช้เองลดลง จึงต้องใช้ไฟฟ้าจากภายนอกเพิ่มขึ้น
4) การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงงาน โดยมีการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
1) การนำน้ำเสียจากกระบวนการผลิตในโรงงานมาผลิตไบโอแก๊ส (Biogas) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพใช้ในโรงกลั่นน้ำมันและผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงสกัดน้ำมันปาล์มส่วนที่เหลือใช้จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2) มีการนำไอเสียที่ปล่อยทิ้งเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้านำกลับมาเป็นพลังงานความร้อนสำหรับหม้อไอน้ำขนาด 10 บาร์ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตน้ำมันเมล็ดในปาล์ม
3) มีการใช้วัสดุเหลือที่ไม่ใช้แล้วเพื่อเป็นสารปรับปรุงบำรุงดินในสวนปาล์ม เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี
4) มีการจัดการด้านพลังงาน เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนหลอดไฟแสงสว่าง ก็ปรับเปลี่ยนเป็นหลอดไฟชนิดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและประหยัดไฟฟ้าอีกด้วย มีการทำความสะอาดเครื่องปรับ อากาศประจำปี เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีการหยุดเดินเครื่องเพื่อประหยัดพลังอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง หรือจะเป็นการหยุดเดินเครื่องเพื่อสะสมวัตถุดิบเพื่อจะได้เดินเครื่องจักรอย่างเต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น
ความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ข้อมูล |
หน่วย |
ปี 2564 |
ปี 2563 |
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ตันคาร์บอนไดออกไซด์ |
2,462.50 |
2,836.50 |
5) การจัดการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO)
RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) เป็นมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนโดยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อชุมชน สืบเนื่องจากทั่วโลกมีความต้องการบริโภคน้ำมันปาล์มและการใช้ไบโอดีเซลเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มอย่างต่อเนื่อง จึงมีผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น จากแรงกดดันของผู้บริโภคทำให้อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเกิดแนวคิดริเริ่มในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตและใช้ประโยชน์น้ำมันปาล์มที่ผลิตจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำอย่างยั่งยืน
หลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการปลูกปาล์มตามมาตรฐาน RSPO มี 7 หลักการ คือ
1) มีจริยธรรมและความโปร่งใส ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจที่มีจริยธรรม สร้างความไว้วางใจและความโปร่งใสกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคง
2) ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเคารพสิทธิ ใช้ข้อกำหนดทางกฎหมายเป็นหลักการพื้นฐานของการดำเนินการในการควบคุม
3) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประสิทธิผล ผลกระทบด้านบวก และมีความยืดหยุ่น ดำเนินการตามแผน ขั้นตอนและระบบเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4) เคารพชุมชนและสิทธิมนุษยชนและส่งมอบผลประโยชน์เคารพสิทธิชุมชน ให้โอกาสที่เท่าเทียม เพิ่มผลประโยชน์สูงสุดจากการมีส่วนร่วมและให้มั่นใจว่ามีการชดเชยเยียวยาเมื่อจำเป็น
5) สนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อย รวมเกษตรกรรายย่อยในห่วงโซ่อุปทานของ RSPO และปรับปรุงการดำรงชีวิตของเกษตรกรรายย่อยผ่านการเป็นหุ้นส่วนที่ยุติธรรมโปร่งใส
6) เคารพสิทธิและเงื่อนไขของคนงาน ปกป้องสิทธิของคนงานและดูแลให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและเหมาะสม
7) ปกป้อง อนุรักษ์และเสริมสร้างระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ปกป้องสิ่งแวดล้อมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ซึ่งแต่ละหลักการมีการกำหนด เกณฑ์ ตัวชี้วัด และแนวปฏิบัติ เพื่อยื่นขอการรับรองการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม จึงได้ปฏิบัติปรับเปลี่ยนวิธีการในทุกขั้น ตอนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเกณฑ์ปฏิบัติของ RSPO และได้ทำการยื่นขอรับรองระบบการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO) จนบริษัทฯ ได้รับการรับรอง version ล่าสุด ดังนี้
6) โครงการศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมัน ซีพีไอ (CPI Learning Center)
การที่จะประสบความสำเร็จในการทำสวนปาล์ม เรื่องการจัดการถือว่ามีความสำคัญ ไม่น้อยไปกว่าการเลือกสายพันธุ์ที่ดี บริษัทฯ จึงมุ่งหวังให้เกษตรกรสามารถจัดการสวนปาล์มให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2556 จึงมีโครงการก่อสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้ปาล์มน้ำมันซีพีไอ (CPI Learning Center)” ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันอย่างครบวงจร โดยรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยของบริษัทฯ และประสบการณ์จากการทำสวนปาล์มมากว่า 40 ปี ในพื้นที่สวนปาล์มกว่า 20,000 ไร่ โดยศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวตั้งอยู่ใน อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ประกอบด้วยอาคารศูนย์การเรียนรู้ ทางเดินสำหรับการชมปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ต่างๆ และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ฟรี โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โดยบริษัทฯ หวังว่าผู้ที่เข้าเรียนรู้จัดการสวนปาล์มของบริษัทฯ จะสามารถนำข้อมูลต่างๆ ไปประยุกต์ใช้กับสวนของตนเองและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพออกจำหน่ายสู่ตลาดต่อไป
7) โครงการศึกษาการใช้ประโยชน์จากนกแสกเพื่อกำจัดหนูในสวนปาล์ม
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้มีโครงการศึกษาการใช้ประโยชน์จากนกแสกเพื่อกำจัดหนูในสวนปาล์ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตทะลายปาล์มสด ด้วยการควบคุมประชากรหนูโดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนในการใช้สารเคมีและนำไปสู่โครงการต้นแบบให้เกษตรกรหันมาใส่ใจและห่วงใยต่อธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และเปิดอบรมให้ผู้สนใจเข้ารับฟังตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา
นกแสก เป็นนกประจำถิ่นของไทย ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นนกกลางคืนที่อาศัยอยู่ใกล้ชุมชน ปกติใช้โพรงไม้ ซอกอาคาร หรือช่องใต้หลังคาเป็นรังวางไข่ กินหนูเป็นอาหาร มีพฤติกรรมล่าเหยื่อในที่โล่ง ทุ่งหญ้า ไร่นา และสวนปาล์มน้ำมัน มีการผสมพันธุ์วางไข่ และเลี้ยงลูกในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ เลี้ยงลูก 2 ครอกติดต่อกัน จำนวนไข่รังละ 5-7 ฟอง เพศเมียจะฟักไข่ประมาณ 30 วัน ใช้เวลาฟักไข่ 10 ชั่วโมง/วัน ระยะแม่นกฟักไข่และช่วงที่ลูกยังเล็ก พ่อนกจะออกล่าเหยื่อนำมาป้อนให้แม่และลูกนกทุกวัน
จากการศึกษาส่วนประกอบของเศษอาหารที่นกแสกสำรอกออกมาในบริเวณรังนก พบว่านกแสกในสวนปาล์มน้ำมันกินหนูป่ามาเลย์เป็นอาหารเกือบ 100% โดยนกแสกกินหนูเฉลี่ยวันละ 1-2 ตัน หรือประมาณ 350-700 ตัว/ปี ซึ่งหนูจำนวนนี้ถ้าปล่อยให้กัดกินผลปาล์มน้ำมันจะทำความเสียหายต่อผลผลิตปีละ 1.1-2.5 ตัน/ไร่ คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียประมาณ 5,500-12,500 บาท/ไร่/ปี (ราคาทะลายปาล์มสด 4 บาท/กิโลกรัม) ขณะเดียวกันเกษตรกรยังต้องเสียเงินค่าซื้อสารเคมีและจ้างแรงงานวางยากำจัดหนูทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นอีก 700-1,400 บาท/ไร่/ปี